ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อลักษณะส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูปในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ลำไยดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พัชรินทร์ สุภาพันธ์
พัชรี อินธนู
ปิ่นรัตน์ ใจคำปัน
อุดมลักขณ์ ธรรมปัญญา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อลักษณะผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูปภายใต้ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด (Marketing mix: 4Ps) เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากผู้บริโภคตัวอย่างที่เข้ามาเที่ยวชมงานจัดแสดง Lanna Expo 2020 ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 852 ราย ดำเนินการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจต่อคุณลักษณะตามหลักการ 4Ps  ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด เพื่อนำมากำหนดรายละเอียดลักษณะผลิตภัณฑ์ ดังนี้ (1) การทดลองชิมผลิตภัณฑ์ลำไยแปรรูป 5 ลักษณะ ได้แก่ น้ำพริกลำไย ผงลำไยผสมเนื้อปลา ผงลำไยสูตรดั้งเดิม ลำไยทอด และลำไยอบแห้ง และพิจารณาลักษณะภายนอกและสัมผัสบรรจุภัณฑ์แต่ละแบบ (2) การกำหนดระดับราคาที่ผู้บริโภคเต็มใจจะจ่ายแต่ละบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ (3) การจัดจำหน่ายช่องทางออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ เพจเฟสบุค และแอพพลิเคชั่นไลน์ และ (4) การส่งเสริมการตลาดด้วยการลดราคา การให้ชิมหรือแจกฟรี และการเป็นของแถม ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคมีคะแนนความพอใจเฉลี่ยของน้ำพริกลำไย ผงลำไยผสมเนื้อปลา และผงลำไยสูตรดั้งเดิมระดับมากด้วยคะแนนสูงสุด เท่ากับ 2.71 2.64 และ 2.62 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ถูกบรรจุในขวดแก้วเหมือนกัน และมีความเต็มใจจะจ่ายเฉลี่ยระดับสูงเท่ากับ 85.12 85.12 และ 66.08 บาท/หน่วย ตามลำดับ ในทำนองเดียวกันผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดมีการขายผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเวบไซต์และส่งเสริมการตลาดด้วยการให้ชิมหรือแจกฟรี นอกจากนี้ผู้บริโภคมีคะแนนความพอใจเฉลี่ยของลำไยทอดและลำไยอบแห้งระดับมากด้วยคะแนนสูงสุดเท่ากับ 2.71 และ 2.58 ในบรรจุภัณฑ์แบบถุงซิปล็อคพลาสติกใสและถุงคราฟ และมีความเต็มใจจะจ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 41.15 และ 50.49 บาท/หน่วย ตามลำดับ โดยดำเนินการขายลำไยทอดผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์และส่งเสริมการตลาดด้วยการให้ชิมหรือแจกฟรี และลำไยอบแห้งมีการขายผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์และส่งเสริมการตลาดด้วยการลดราคา ขณะที่น้ำพริกลำไย ผงลำไยผสมเนื้อปลา และผงลำไยสูตรดั้งเดิม ผู้บริโภคมีความพอใจระดับน้อย โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์แบบขวดพลาสติก ช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเวบไซต์ และส่งเสริมการตลาดด้วยการลดราคา ดังนั้นการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย สะดวกใช้งาน และระบุปริมาณและมาตรฐานการรับรองคุณภาพอย่างชัดเจนของแต่ละผลิตภัณฑ์ย่อมสะท้อนความน่าเชื่อถือ และสนับสนุนให้มีการจำหน่ายช่องทางออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ และดำเนินการปรับปรุงการส่งเสริมการตลาดการลดราคาเพื่อนำมาสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันทางการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2563. Agri-Map Online. แหล่งข้อมูล: https://agri-map-online.moac.go.th ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566.

กลุ่มแปลงใหญ่ลำไยดอนเปา. 2563. เอกสารประกอบการประกวดแปลงใหญ่. กลุ่มแปลงใหญ่ลำไยดอนเปา, เชียงใหม่.

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2556. การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เกตน์พิสิษฐ์ อนวัชชสุข, ภิญญา ศิลาย้อย และพรธิภา องค์คุณารักษ์. 2552. ทัศนคติของผู้บริโภคต่อคุณลักษณะด้านการใช้งานของภาชนะบรรจุน้ำผลไม้. น. 101-108. ใน: ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 สาขาอุตสาหกรรมเกษตร 17-20 มีนาคม 2552. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เกศรา จันทร์จรัสสุข. 2555. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการในห้างเทสโก้โลตัสของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ตติย อัครวานิชตระกูล. 2559. กลยุทธ์ทางการตลาดกับพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ของศูนย์โอทอปประจวบคีรีขันธ์เพื่อรองรับสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด. กรุงเทพฯ.

ธนัญชัย สถาพร. 2542. การผลิตน้ำพริกกะปิสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง และบรรจุขวดแก้ว. ปัญหาพิเศษ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร). สถาบันราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี.

นคเรศ ชัยแก้ว, อุดมศักดิ์สาริบุตร, สถาพร ดีบุญมีณ ชุมแพ และผดุงชัย ภู่พัฒน์. 2556. การศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ลําไยอบแห้ง จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 3(2): 86-95.

นรินทร์ เจริญพันธ์ และชัยพร แพภิรมย์รัตน์. 2561. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสจากลําไย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 26(4): 631-640.

นัทธ์หทัย ศิริวิริยะสมบูรณ์, ธำรง เมฆโหรา และทิพวรรณ ลิมังกูร. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 30(2): 59-67.

นารีรัตน์ ฟักเฟื่องบุญ. 2554. ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในศูนย์จำหน่าย เอส.บี. ดีไซด์สแควร์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

เนาวรัตน์ ธงชัย. 2548. การศึกษาสภาพการใช้ และปัญหาของบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วที่ใช้กับธุรกิจเครื่องสำอาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ธุรกิจอุตสาหกรรม). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.

รวิสสาข์ สุชาโต. 2554. การประยุกต์ใช้ Conjoint Analysis ทางเศรษฐศาสตร์เกษตร. หน้า 1-55. ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ฤทธิชัย อัศวราชันย์. 2560. การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตลำไยทอดกรอบอบแห้งด้วยเทคนิคการทอดสุญญากาศ. รายงานการวิจัย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ.

ศรีเวียง ทิพกานนท์, รัชนี เจริญ, วรรณทิชา เศวตบวร และวิบูลย์ เหรียญสง่าวงศ์. 2561. การสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจมูกข้าวสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดปราจีนบุรีโดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม. Kasetsart Journal of Social Sciences. 39(1): 674-683.

ศิชดา ภาจิตรภิรมย์, อภิรัตน์ กังสดาพร และชนัฐนันท์ ม่วงวิเชียร. 2565. ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด และช่องทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเสริมอาหารของคนต่างเจนเนอเรชั่น. วารสารสมาคมนักวิจัย. 27(4): 68-85.

ศุภร เสรีรัตน์. 2552. พฤติกรรมผู้บริโภค. บริษัท เอ. อาร์ บิซิเนสเพรส, กรุงเทพฯ.

สยาม เศรษฐบุตร และพิศมัย จารุจิตติพันธ์. 2562. ความรับผิดชอบต่อสังคมของชุมชนกลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์. 34(109): 134-149.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง, สรายุทธ กันหลง และดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์. 2559. การวิจัยแบบผสมวิธี: กระบวนทัศน์การวิจัยในศตวรรษที่ 21. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อภิชาติการพิมพ์, มหาสารคาม.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ลำไย: เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล ผลผลิต และผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล รวมทั้งประเทศ รายอำเภอ ปี 2564. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. สถิติการค้าสินค้าเกษตรไทยกับต่างประเทศ ปี 2564. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565.

หงส์ไทย. 2565. ถุงซิปล็อค เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับสินค้า. แหล่งข้อมูล: https://hongthaipackaging.com/blog/zip-lock-bags-how-to-use-them-to-suit-the-product/ ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566.

อัจฉรา ปาละวันนา. 2547. ความพอใจต่อคุณลักษณะของส้มเขียวหวานของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

อานนท์ ตั้งพิทักษ์ไกร และธัญวรัตน์ แจ่มใส. 2563. แนวทางการเพิ่มมูลค่าและช่องทางการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(3): 99-111.

Akgün, A.E., H. Keskin, and H. Ayar. 2014. Standardization and Adaptation of International Marketing Mix Activities: A Case Study. Social and Behavioral Sciences. 150(2014): 609–618.

Huang, R., and E. Sarigöllü. 2012. How brand awareness relates to market outcome, brand equity, and the marketing mix. Journal of Business Research. 65(1): 92–99.

Kamsuwan, O. 2015. How Promotion at 7-Eleven Influences to Customer Purchasing. M. S. Thesis. Bangkok University, Bangkok.

Kotler, P., and G. Armstrong. 2001. Principles of Marketing (9th Ed.). Prentice Hall Incorporate, New Jersey.

Liao, M., J. Zhang, R. Wang, and L. Qi. 2021. Simulation research on online marketing strategies of branded agricultural products based on the difference in opinion leader attitudes. Information Processing in Agriculture. 8(2021): 528-536.

Meyerding, S.G.H., M. Gentz, B. Altmann, and L. Meier-Dinke. 2018. Beef quality labels: A combination of sensory acceptance test, stated willingness to pay, and choice-based conjoint analysis. Appetite. 127: 324-333.

Michella, P., J. Lyncha, and O. Alabdalib. 1998. New perspectives on marketing mix programme. International Business Review. 7(6): 617-634.

Ong, A. K. S., Y. T. Prasetyo, T. Chuenyindee, M. N. Young, B. T. Doma, D. G. Caballes, R. S. Centeno, A. S. Morfe, and C. S. Bautista. 2022. Preference analysis on the online learning attributes among senior high school students during the COVID-19 pandemic: A conjoint analysis approach. Evaluation and Program Planning. 92(2022): 102100.

Sheau-Ting, L., A.H. Mohammed, and C. Weng-Wai. 2013. What is the optimum social marketing mix to market energy conservation behavior: An empirical study. Journal of Environmental Management. 131(2013): 196–205.

Wallner, T. S., L. Magnier, and R. Mugge. 2022. Do consumers mind contamination by previous users? A choice-based conjoint analysis to explore strategies that improve consumers’ choice for refurbished products. Resources, Conservation & Recycling. 177(2022): 105998.

Zhang, L., and E. Erturk. 2022. Potential lessons from Chinese businesses and platforms for online networking and marketing: An exploratory study. Social Sciences & Humanities Open. 6(2022): 100274.