โรคเชื้อราของยูคาลิปตัสในลานเพาะชำต้นกล้าและการบ่งชี้เชื้อสาเหตุโรค

Main Article Content

ศิริพร ศรีทา
สุวิตา แสไพศาล
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
สุภัชญา นามพิลา

บทคัดย่อ

การศึกษาโรคที่เกิดจากเชื้อราของยูคาลิปตัสจำนวน 9 โคลน ในลานเพาะชำต้นกล้าของบริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง เดือนเมษายน-ธันวาคม พ.ศ. 2561 พบอาการโรคใบจุด ใบไหม้ และไหม้จากยอด ได้แยกเชื้อราสาเหตุโรคจากอาการดังกล่าวแล้วนำไปทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรคและนำไปบ่งชี้ในระดับสกุลจากลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยเชื้อราสาเหตุโรค Coniella hibisci มีความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคใบจุดมากที่สุด Cylindrocladium quinqueseptatum และ Coniella fusiformis มีความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคใบไหม้มากที่สุด ส่วนอาการไหม้จากยอดนั้นเชื้อ Cylindrocladium quinqueseptatum ทำให้เกิดโรคได้รุนแรงมากที่สุด และทำให้ต้นกล้ายูคาลิปตัสตายได้ใน 11 วันหลังการปลูกเชื้อ ซึ่งเชื้อราดังกล่าวมีความสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อการผลิตต้นกล้ายูคาลิปตัส จากการคัดเลือกไอโซเลตของเชื้อราแล้วนำไปบ่งชี้ชนิด (species) ของเชื้อราสาเหตุโรคด้วยวิธีการทางชีวโมเลกุลโดยเปรียบเทียบลำดับเบสของ DNA ในส่วน ITS1-5.8S-ITS2 ของ rDNA ร่วมกับ TEF-1α gene นั้น พบว่าเชื้อราสาเหตุโรคมีความเหมือน (identity) กับเชื้อรา Cylindrocladium quinqueseptatum, Pseudopestalotiopsis curvatispora, Neopestalotiopsis clavispora, Coniella fusiformis, Coniella hibisci, Curvularia eragrostidis, Exserohilum rostratum และ Macrophomina phaseolina การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงชนิดของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคของยูคาลิปตัสในลานเพาะชำต้นกล้าและการรายงานครั้งแรกในประเทศไทยของเชื้อรา E. rostratum และ M. phaseolina ที่สามารถทำให้เกิดโรคใบจุดและใบไหม้ได้ในต้นกล้ายูคาลิปตัส

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร Online. กรมส่งเสริมการเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://webcache.googleusercontent.com. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563.

กฤษฎา โพธิ์เรืองเดช. 2557. โรคของยูคาลิปตัสภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยและการป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืชวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

กฤษณา พงษ์พานิช, จันจิรา อารยะวงศ์, วินันทิดา หิมะมาณ, กิตติมา ด้วงแค และบารมี สกลรัตน์. 2553. โรคของยูคาลิปตัสในประเทศไทย. กลุ่มงานกีฏวิทยาป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

ขรินทร ศรีจันทร์ก่ำ. 2564. การควบคุมโรคที่สำคัญของยูคาลิปตัสโดยวิธีผสมผสานในระบบการผลิตต้นกล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืชวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

ขรินทร ศรีจันทร์ก่ำ, วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์, ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ และดวงรัตน์ ธงภักดิ์. 2564. การสำรวจและประเมินความรุนแรงโรคที่สำคัญของยูคาลิปตัส (Eucalyptus spp.) ในระบบการผลิตต้นกล้า. แก่นเกษตร. 49(6): 1487-1501.

เทคโน โพธิลักษณ์, จารุวัฒน์ เถาธรรมพิทักษ์, สุพจน์ กาเซ็ม และสุดฤดี ประเทืองวงศ์. 2556. การจำแนกชนิดและความรุนแรงของแบคทีเรียสาเหตุโรคใบจุดเหลี่ยมของกล้าไม้ยูคาลิปตัส. น. 137-146. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51 5-7 กุมภาพันธ์ 2556. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วิจัย รักวิทยาศาสตร์. 2546. ราวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จามจุรีโปรดักท์. กรุงเทพฯ.

วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์, พัฒนา ชมพูวิเศษ, รื่นเริง สินน้ำพอง, มนัสวี สุริยวนากุล, ปุญญิศา ชารีรักษ์, กฤษฎา โพธิ์เรืองเดช และอารยา ชารีรักษ์. 2556. การทดสอบสารเคมีในการควบคุมเชื้อรา Cylindrocladium sp. สาเหตุโรคใบจุดของยูคาลิปตัส. แก่นเกษตร. 41(1): 543-548.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. 2559. สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2559 (กรกฎาคม–กันยายน 2559) (อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์). แหล่งข้อมูล: https://www.ryt9.com. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563.

สุวิตา แสไพศาล. 2549. เอนไซม์ย่อยสลาย ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำดับนิวคลีโอไทด์ในส่วน ITS1-5.8S-ITS2 ของ rDNA และการโคลนยีนไคติเนสของเชื้อรา Trichoderma spp. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืชวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น.

อัฐภรณ์ พันยา. 2559. โรคของยูคาลิปตัสในระบบการผลิตต้นกล้าและการป้องกันกำจัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืชวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น.

Alvarez, L.V., J.Z. Groenewald, and P.W. Crous. 2016. Revising the Schizopermaceae: Coniella and its synonyms Pilidiella and Schizoperme. Studies in Mycology. 85: 1-34.

Crous, P.W., J.Z. Groenewald, J.M. Risde, P. Simoneau, and K.D. Hyde. 2006. Calonectria species and their Cylindrocladium anamorphs: species with clavate vesicles. Studies in Mycology. 55: 213-216.

Daengsuwan, W., P. Wonglom, S. Arikit, and A. Sunpapao. 2021. Morphological and molecular identification of Neopestalotiopsis clavispora causing flower blight on Anthurium andraeanum in Thailand. Horticultural Plant Journal. 7(6): 573-578.

Gerardo-Lugo S.S, J.M. Tovar-Pedraza, S.S.N. Maharachchikumbura, M.A. Apodaca-Sánchez, K.C. Correia, C.P. Sauceda-Acosta, M. Camacho-Tapia, K.D. Hyde, N. Marraiki, A.M. Elgorban, H. Beltrán-Peña. 2020. Characterization of Neopestalotiopsis Species Associated with Mango Grey Leaf Spot Disease in Sinaloa, Mexico. Pathogens. 9(10):788.

Kang, J.C., P.W. Crous, K.M. Old, and M.J. Dudzinski. 2001. Non-conspecificity of Cylindrocladium quinqueseptatum and Calonectria quinqueseptatum based on β-tubulin gene phylogeny and morphology. Canadian Journal of Botany. 79(10): 1241-1247.

Keane, P.J., G.A. Kile, and F.D. Podger. 2000. Diseases and pathogens of eucalypts. Systematic review of the published literature: https://books.google.co.th. Accessed 2 May. 2021.

Kee, Y.J., L. Zakaria, and M.H. Mohd. 2020. Curvalaria asianensis and Curvularia eragrostidis associated with leaf spot of Sansevieria trifaciata in Malaysia. Journal of Phytopathology. 168(5): 290-296.

Marin, F.Y., J.Z. Groenewald, L. Cai, Q. Chen, S. Marincowitz, I. Barnes, K. Bensch, U. Braun, E. Camporesi, U. Damm, Z.W. de Beer, A. Dissanayake, J. Edwards, A. Giraldo, M. Hernández-Restrepo, K.D. Hyde, R.S. Jayawardena, L. Lombard, J. Luangsa-ard, A.R. McTaggart, A.Y. Rossman, M. Sandoval-Denis, M. Shen, R.G. Shivas, Y.P. Tan, E. J. van der Linde, M.J. Wingfield, A.R. Wood, J.Q. Zhang, Y. Zhang, and P.W. Crous. 2017. Genera of phytopathogenic fungi: GOPHY1. Studies in Mycology. 86: 99–216.

Marquez, N., M.L. Giachero, S. Declerck, and D.A. Ducasse. 2021. Macrophomina phaseolina: General characteristics of pathogenicity and methods of control. Frontiers in Plant Science. 12: 1-16.

Mehrabi-Koushki, M., P. Pooladi, P. Eisvand, and G. Babaahmadi. 2018. Curvularia ahvazensis and

C. rouhanii spp. nov. from Iran. Mycosphere. 9(6): 1173-1186.

Niekerk, J.M., J.Z. Groenewald, J.M. Verkley, P.H. Fourle, M.J. Wingfield, and P.W. Crous. 2004. Systemic reappraisal of Coniella and Pilidiella with specific reference to species occurring on Eucalyptus and Vitis in Soutth Africa. Mycological Research. 108(3): 283-303.

Norphanphoun, C., R.S. Jayawardena, Y. Chen, W. Meepol, and K.D. Hyde. 2019. Morphological and phylogenetic characterization of novel pestalotioid species associated with mangroves in Thailand. Mycosphere. 10(1): 531-578.

Pain, N. A., B.S. Weir, L.W. Burgess, S. Phanthavong, V. Balmas, and M. Schneider. 2019. First report of Coniella hibisci causing leaf and stem canker in the Lao P.D.R. Australasian Plant Disease Notes. 14: 17-19.

Pavlic-Zupanc, D., H.M. Maleme, B. Piskur, B.D. Wingfield, M.J. Wingfield, and B. Slippers. 2017. Diversity, phylogeny and pathogenicity of Botryosphaeriaceae on non-native Eucalyptus grown in an urban environment: A case study. Urban Forestry & Greening. 26: 139-148.

Rodas, C.A., L. Lombard, M. Gryzenhout, B. Slippers, and M.J. Wingfield. 2005. Cylindrocladium blight of Eucalyptus grandis in Colombia. Australasian Plant Pathology. 34: 143-149.

Salvatore, M.M., C. Félix, F. Lima, V. Ferreira, D. Naviglio, F. Salvatore, A.S. Duarte, A. Alves, A. Andolfi, and A.C. Esteves. 2020. Secondary metabolites produced by Macrophomina phaseolina Isolated from Eucalyptus globules. Load: Systematic review of the published literature: https://doi.org/10.3390/agriculture10030072. Accessed 3 May. 2021.

Sharma, K., E.M. Goss, E.R. Dickstein., M.E. Smith, J.A. Johnson, F.S. Southwick, and A.H.C. van Bruggen. 2014. Exserohilum rostratum: Characterization of a cross-kingdom pathogen of plants and humans. PLOS ONE. 9(10):1-10.

Suwannarach, N., J. Kumla, B. Bussaban, and S. Lumyong. 2012. New report of leaf blight disease on eucalyptus (Eucalyptus camaldulensis) caused by Pestalotiopsis virgatula in Thailand. Canadian Journal of Plant Pathology. 34(2): 306–309.

Upadhyay, R.K., and R.S. Dwivied. 1980. Cultural and taxonomical studies on Pestalotiopsis funerea causing leaf spot of Eucalyptus globulus. Proceedings of the Indian National Science Academy. 46(3): 397-404.