ประสิทธิภาพของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ในสภาพเรือนทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนแบบอิสระจำนวน 5 ไอโซเลต ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ทดลองในกระถางโดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ ทั้งหมด 8 กรรมวิธี ระหว่างการทดลองทำการเก็บข้อมูลความสูงต้น จำนวนต้นต่อกระถาง จำนวนรวงต่อกระถาง น้ำหนัก 100 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดดีต่อกระถาง ร้อยละเมล็ดดีและน้ำหนักแห้งต้น ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการใส่ปุ๋ยยูเรียที่อายุ 7 สัปดาห์หลังการย้ายปลูก การใช้ NK3-1 และ NK5-5 เพียงอย่างเดียวทำให้ความสูงข้าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม การใช้ NK12-1 ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย มีผลทำให้น้ำหนัก 100 เมล็ดน้ำหนักทั้งหมดต่อกระถาง เพิ่มขึ้นและแตกต่างกันกับกรรมวิธีควบคุม และการใช้แบคทีเรียแต่ละไอโซเลตร่วมกับปุ๋ยยูเรีย ไม่มีผลทำให้จำนวนต้น/กอ ร้อยละเมล็ดดี รวมทั้งน้ำหนักแห้งต้น/กระถาง ของข้าวแตกต่างกัน การใช้ NK3-1 และ NK5-5 ร่วมกับปุ๋ยยูเรียมีแนวโน้มทำให้ร้อยละเมล็ดดีเพิ่มขึ้น และการใช้ NK3-1 และ NK12-1 ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย มีแนวโน้มทำให้น้ำหนักแห้งต้นเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม สรุปได้ว่าการใช้ NK3-1 และ NK5-5 สามารถส่งเสริมการเพิ่มการเจริญเติบโตของข้าวได้ และการใช้ NK12-1 ร่วมกับปุ๋ยยูเรียส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จำเป็น อ่อนทอง. 2555. คู่มือการวิเคราะห์ดินและพืช. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
ธนกฤต เลิศจันทรางกูล, อัจฉรา เพ็งหนู, วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์ และวิภา หอมหวล. 2560. ประสิทธิภาพของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบ
อิสระต่ออัตราการงอกเมล็ดของข้าว. น. 359-367. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัย” ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างวันที่ 20 – 21 กรกฎาคม 2560. อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
นิษฐา คูหะธรรมคุณ และสายันต์ แสงสุวรรณ. 2560. ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยยูเรียเพื่อประยุกต์ใช้ในทางเกษตรกรรม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 19(3): 32-44.
ปรางค์นัดดา ประกอบนา, ปภพ สินชยกุล, วิชัย สรพงษ์ไพศาล, คณิตา เกิดสุข และอารยา บุญศักดิ์. 2563. พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกข้าวของเกษตรกรในเขตภาคกลาง และความสัมพันธ์ต่อคุณสมบัติประจำพันธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ. 3(1): 29-38.
ภัทธนาวรรณ์ ฉันท์รัตนโยธิน, พันธ์ลพ สินธุยา, เบญจมาศ สันต์สวัสดิ์ และทิตา สุนทรวิภาต. 2563. ผลของปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับจุลินทรีย์ Bacillus megaterium ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 15(2): 81-96.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุจิตตรา ปะนันโต, ภาคภูมิ ตันเตชสาธิต, ศิริลักษณ์ จิตรอักษร, รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ และกรรณิการ์ สัจจาพันธ์. 2556. เอนโดไฟติกแบคทีเรียและผลในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าว. แก่นเกษตร. 41(4): 457-468.
อนุรักษ์ เครือคำ. 2563. ผลของกรรมวิธีการใช้ปุ๋ยเคมีต่อคุณภาพดินในนาข้าวและผลผลิตข้าว พื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร. วารสารผลิตกรรมการเกษตร. 2(2): 1-14.
อาทิตย์ คนสนิท. 2548. อิทธิพลของ Azospirillum sp. (TS29) และอัตราปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. กรุงเทพฯ.
อารีรัตน์ น้องสินธุ. 2542. อิทธิพลของระดับปุ๋ยไนโตรเจนที่มีต่อการสะสมและการถ่ายเทไนโตรเจนในต้นข้าว. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
Araújo, A. E. d. S., V. L. D. Baldani, P. d. S. Galisa, J. A. Pereira, and J. I. Baldani. 2013. Response of traditional upland rice varieties to inoculation with selected diazotrophic bacteria isolated from rice cropped at the Northeast region of Brazil. Applied Soil Ecology. 64: 49-55.
Ji, S. H., M. A. Gururani, and S. C. Chun. 2014. Isolation and characterization of plant growth promoting endophytic diazotrophic bacteria from Korean rice cultivars. Microbiological research. 169(1): 83-98.
Malik, K. A., M. S. Mirza, U. Hassan, S. Mehnaz, G. Rasul, J. Haurat, R. Bally, and P. Normand. 2002. The role of plant-associated beneficial bacteria in rice-wheat cropping system. Biofertilisers in action. 2: 73-83.
Park, M., C. Kim J. Yang, H. Lee, W. Shin, S. Kim, and T. Sa. 2005. Isolation and characterization of diazotrophic growth promoting bacteria from rhizosphere of agricultural crops of Korea. Microbiological Research. 160: 127-133.
Peech, M. 1965. Hydrogen ion activity. In C.A. Black (Ed.). Methods of soil analysis part2. Society of Agronomy Madison Wisconsin American.
Sharma, S.B., R.Z. Sayyed, M.H. Trivedi, and T.A. Gobi. 2013. Phosphate solubilizing microbes: sustainable spproach for managing phosphorus deficiency in agricultural soils. SpringerPlus. 2: 587.
Yanai, Y.G., and F.K.A. El-Fattah. 1999. Toward integrated biofertilization management with free living and associative dinitrogen fixers for enhancing rice performance in the Nile Delta. Symbiosis. 27: 319-331.
Zhang, W.-j., G.-h. Li, Y.-m. Yang, Q. Li, J. Zhang, J.-y. Liu, S. Wang, S. Tang, and Y.-f. Ding. 2014. Effects of nitrogen application rate and ratio on lodging resistance of super rice with different genotypes. Journal of Integrative Agriculture. 13: 63-72.