ผลของชีวภัณฑ์ในการควบคุมหนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura Fabricius (Lepidoptera: Noctuidae) ในดาวเรือง

Main Article Content

กุลชาติ บูรณะ
ประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์

บทคัดย่อ

หนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura Fabricius) (Lepidoptera: Noctuidae) เป็นแมลงศัตรูสำคัญที่สร้างความเสียหายแก่จำนวนและคุณภาพของดอกดาวเรืองซึ่งเป็นหนึ่งในไม้ดอกสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเนื่องจากออกฤทธิ์รวดเร็วและมีจำหน่ายทั่วไป จากพฤติกรรมของหนอนที่มักหลบซ่อนตัวในกลีบดอกทำให้ละอองสารเคมีไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ สารสกัดจากพืช และสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ในสภาพแปลงทดลอง 8 กรรมวิธี ได้แก่ 1) แปลงควบคุม 2) เชื้อแบคทีเรียบีที 3) เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม 4) เชื้อไวรัสเอ็นพีวี 5) ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลง 6) สารสกัดสะเดา 7) มวนพิฆาต และ 8) สารไซเพอร์เมทริน 10% W/V EC ผลการศึกษาพบว่าจำนวนดอกรวมมากสุด และจำนวนดอกเสียน้อยสุด ในพื้นที่ 10 ตร.ม. คือ แปลงพ่นไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลง (834.50 และ 124.25 ดอก ตามลำดับ) รองลงมาคือ แปลงพ่นเชื้อไวรัสเอ็นพีวี (821.50 และ 99.50 ดอก ตามลำดับ) เปรียบเทียบกับแปลงพ่นสารไซเพอร์เมทริน 10% W/V EC (639.50 และ 170.52 ดอก ตามลำดับ) การวิเคราะห์รายได้และผลกำไรชี้ให้เห็นว่าแปลงพ่นเชื้อไวรัสเอ็นพีวี (929.60 และ 903.60 บาท ตามลำดับ) และไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลง (912.40 และ 862.40 บาท ตามลำดับ) ให้ค่ามากที่สุดใกล้เคียงกัน เมื่อเปรียบเทียบข้อจำกัดในการใช้ของชีวภัณฑ์ทั้งสองชนิดนี้ ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลงจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรในการควบคุมหนอนกระทู้ผักและแมลงศัตรูสำคัญชนิดอื่นในแปลงดาวเรือง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2563. การป้องกันกำจัดแมลง-สัตว์ศัตรูพืชอย่างปลอดภัยจากงานวิจัย. สำนักวิจัยงานอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2564. รายงานสถิติข้อมูลการผลิตดาวเรืองตัดดอก. กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ. กรมส่งเสริม การเกษตร, กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2565. ดาวเรือง. แหล่งข้อมูล: http:// agrimm.doae.go.th/homenews/0565/41/marigold.pdf. ค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2565.

กุลชาติ บูรณะ, ทัศนีย์ แจ่มจรรยา และประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์. 2559. การติดตามสถานการณ์แมลงศัตรูสำคัญของดาวเรืองระยะออกดอกในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3(3): 1-7.

กุลชาติ บูรณะ. 2562. พฤติกรรมการควบคุมศัตรูดาวเรืองของเกษตรกร และการใช้ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงควบคุมหนอนกินดอกดาวเรือง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

กุลชาติ บูรณะ และประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์. 2563. พฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลงเพื่อควบคุมแมลงศัตรูดาวเรืองของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม. แก่นเกษตร. 48(4): 715-726.

ทวีพงศ์ สุวรรณโร. 2541. การปลูกดาวเรือง. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ และยุวรัตน์ บุญเกษม. 2553. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมวนเพชฌฆาต Sycanus sp. ใน: รายงานการประชุมประจำปีของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ 1-3 กันยายน 2553. โรงแรมเมธาวลัยชะอำรีสอร์ท, เพชรบุรี.

ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ และยุวรัตน์ บุญเกษม. 2554. การพัฒนากระบวนการผลิตมวนเพชฌฆาต Sycanus sp. (Hemiptera: Reduviidae). ใน: รายงานการประชุมประจำปีของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ 7-9 กันยายน 2554. โรงแรมตะนาวศรีรีสอร์ท, ประจวบคีรีขันธ์.

ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ, ยุวรัตน์ บุญเกษม และกาญจนา แซ่โข. 2556. การจัดการศัตรูดาวเรืองแบบบูรณาการ. แก่นเกษตร. 41(1): 171–176.

ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ และสุนิสา ผ่านพินิจ. 2558. ความเสียหายที่เกิดจากแมลงศัตรูดาวเรืองและการควบคุมโดยชีววิธี. แก่นเกษตร. 43(1): 343-348.

นันทนัช พินศรี, ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ และจริยา จันทร์ไพแสง. 2555. การใช้แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis Berliner สายพันธุ์ไทย JC590 เพื่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura Fabricus) ในสภาพเรือนปลูกทดลองและสภาพแปลงปลูก. Agriculture Science Journal. 43: 137-140.

นุชรีย์ ศิริ และเสาวภา ป้องโล่ห์. 2560. ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงและมวนพิฆาตในการควบคุมแมลงศัตรูดาวเรือง. แก่นเกษตร. 1: 456-460.

ประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์, นุชรีย์ ศิริ และจันทร์เพ็ญ ชาดาเม็ก. 2557. ประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวในพริก. แก่นเกษตร. 42(2): 255-264.

ภัครดนัย ชัยสวัสดิ์, จิราพร กุลสาริน, ไสว บูรณะพานิชพันธุ์ และสิริญา คัมภิโร. 2557. ประสิทธิภาพเชื้อรา Nomuraea และ Metarhizium สาเหตุโรคแมลงในการควบคุมหนอนกระทู้ผักของดอกดาวเรือง. วารสารเกษตร. 30: 11-19.

ภานุพงศ์ แสนบุดดา. 2560. ประสิทธิภาพการใช้ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลงในการควบคุมแมลงวันพริก (Bactrocera latifrons Hendel). วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วิเชียร บำรุงศรี, เตือนจิตต์ สัตยาวิรุทธ์, วรัญญา ตันติยุทธ และวรจิต ผาภูมิ. 2548. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูถั่วเขียวโดยวิธีผสมผสาน. กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร.

สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี, อิศเรส เทียนทัด, อัจฉรา ตันติโชดก และรัตนา นชะพงษ์. 2552. ศึกษาการผลิตไวรัสเอ็นพีวี ชนิดผงด้วยวิธีการอบแห้งแบบแช่เยื่อแข็ง. น. 697-699 ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2551 เล่มที่ 2. สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สาทิพย์ มาลี และวิไลวรรณ เวชยันต์. 2553. การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอยสูตรผงในการควบคุมแมลงศัตรูพืช. กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอักขาพืช, กรมวิชาการเกษตร.

Ayyub, M.B., A. Nawaz, M.J. Arif, and L. Amrao. 2019. Individual and combined impact of nuclear polyhedrosis virus and spinosad to control the tropical armyworm, Spodoptera litura (Fabricius) (Lepidoptera: Noctuidae), in cotton in Pakistan. Egyptian Journal of Biological Pest Control. 29(67): 1–6.

Burana, K., R.U. Ehlers, and P. Nimkingrat. 2022. Entomopathogenic nematodes for control of the cotton cutworm Spodoptera litura in marigolds. Journal of Applied Entomology. 146: 415–423.

Denno, R.F., D.S. Gruner, and I. Kaplan. 2008. Potential for entomopathogenic nematodes in biological control: A meta-analytical synthesis and insights from trophic cascade theory. Journal of Nematology. 40: 61-72.

Ehlers, R.U. 2001. Mass production of entomopathogenic nematodes for plant protection. Applied Microbiology and Biotechnology. 56: 623-633.

Ehlers, R-U. 2001. Mass production of entomopathogenic nematodes of plant protection. Applied journal of Microbiology and Biotechnology. 56: 623-633.

Freed, S., M.A. Saleem, M.B. Khan, and M. Naeem. 2012. Prevalence and effectiveness of Metarhizium anisopliae against Spodoptera exigua (Lepidoptera: Noctuidae) in southern Punjab, Pakistan. Journal of Zoology. 44 (3): 753-758.

Gadi, N. 2017. Effect of Azadirachta indica extracts on oriental leafworm, Spodoptera litura (Lepidoptera: Noctuidae). Chronicle of The New Researcher. 2(1).

Han, J.H., B.R. Jin, J.J. Kim, and S.Y. Lee. 2014. Virulence of entomopathogenic fungi Metarhizium anisopliae and Paecilomyces fumosoroseus for the microbial control of Spodoptera exigua. Mycobiology. 42(4): 385-390.

Henderson, C.F., and E.W. Tilton. 1955. Tests with acarides against the brow wheat mite. Journal of Economic Entomology. 48: 157-161.

Hidalgo, E., T.J. Benjamin, F. Casanoves, and C.S. Sadof. 2013. Factors influencing the abundance of pests in production fields and rates of interception of Dracaena marginata imported from Costa Rica. Journal of Economic Entomology. 106: 2017-2034.

Huang, S., X. Li, G. Li, and D. Jin. 2018. Effect of Bacillus thuringiensis CAB109 on the growth development and generation mortality of Spodoptera exigua (Hubner) (Lepidoptera: Noctuidea). Egyptian Journal of Biological Pest Control. 28(1): 19.

Keerthi, M.C., A. Sravika, H.S. Mahesha, A. Gupta, H.A. Bhargavi, and S. Ahmed. 2020. Performance of the native predatory bug, Eocanthecona furcellata (wolff) (Hemiptera: Pentatomidae), on the fall armyworm, Spodoptera frugiperda (J.E. Smith) (Lepidoptera: Noctuidae), and its limitation under field condition. Egyptian Journal of Biological Pest Control. 30: 69.

Moreira, G.F., E.S.P. Batista, H.B.N. Campos, R.E. Lemos, and M.C. Ferreira. 2013. Spray nozzles, pressures, additives and stirring time on viability and pathogenicity of entomopathogenic nematodes (Nematoda: Rhabditida) for greenhouses. PLOS ONE. 8(6): e65759.

Narvekar, P.F., S.K. Mehendle, S.D. Karmakar, and G.M. Golvainkar. 2018. Effect of BT on third instar larvae against Spodoptera litura (Fab.) on different host plants under laboratory condition. International Journal of Chemical Studies. 6(6): 899-901.

Saljoqi, A.R., R. Haq, E. Haq, J. Khan, and G. Ali. 2015. Rearing of Spodoptera litura (Fabricuis) on different artificial diets and its parasitization with Trichogramma chilonis (Ishii). Pakistan Journal of Zoology. 47(1): 169-175.

Schroeder, P.C., C.S. Ferguson, A.M. Shelton, W.T. Wilsey, M.P. Hoffmann, and C. Petzoldt. 1996. Greenhouse and field evaluations of entomopathogenic nematodes (Nematoda: Heterorhabditidae and Steinernematidae) for control of cabbage maggot (Diptera: Anthomyiidae) on cabbage. Journal of Economic Entomology. 89: 1109–1115.

Stephenson, R.C., C.E. Coker, B.C. Posadas, G.R. Bachman, R.L. Harkess, J.J. Adamczyk, and P.R. Knight. 2020. Economic effect of insect pest management strategies on small-scale tomato production in Mississippi. Hort Technology. 30: 64–75.

Sudo, M., T. Yamanaka, and S. Miyai. 2019. Quantifying pesticide efficacy from multiple field trials. Population Ecology. 61: 450–456.

Vänninen, I., H. Hokkanen, and J. Tyni-Juslin. 1999. Screening of field performance of entomopathogenic fungi and nematodes against cabbage root flies Delia radicum L. and D. floralis (Fall.) (Diptera, Anthomyiidae). Acta Agriculture Scandinavica B-S. 49: 167–183.

Yan, X., R. Han, M. Moens, S. Chen, and P.D. Clercq. 2013. Field evaluation of entomopathogenic nematodes for biological control of striped flea beetle, Phyllotreta striolata (Coleoptera: Chrysomelidae). BioControl. 58: 247-256.

Yasin, M., M.S. Qazi, W. Wakil, and M.A. Qayyum. 2020. Evaluation of Nuclear Polyhedrosis Virus (NPV) and emamectin benzoate against Spodoptera litura (F.) (Lepidoptera: Noctuidae). Egyptian Journal of Biological Pest Control. 30(88).