ผลของจำนวนหัวฉีดท่อปล่อยน้ำระบบหมุนเวียนและรูปทรงถาดฟักไข่ต่ออัตราการรอดตายของลูกปลานิลในระยะฟักเป็นตัว

Main Article Content

ศิริภรณ์ โคตะมี
อุไรวรรณ เปียสูงเนิน
ชิตพล คงศิลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของจำนวนหัวฉีดท่อปล่อยน้ำ และรูปทรงถาดฟักไข่ต่ออัตราการรอดตายของลูกปลานิลระยะที่ 3-5 ในระบบน้ำหมุนเวียน โดยวางแผนการทดลองออกเป็น 2x3 factorial in CRD (complete randomized design) จำนวน3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ ระบบท่อปล่อยน้ำ 2 แบบ ได้แก่ ท่อปล่อยน้ำแบบ 1 หัวฉีด และ 2 หัวฉีด ปัจจัยที่ 2 คือ รูปทรงถาดฟักไข่ปลานิล ได้แก่ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงกลม และทรงรี เริ่มเพาะฟักไข่ปลานิลระยะที่ 2 จำนวน 5,000 ฟองต่อถาดฟัก เก็บข้อมูลอัตราการรอดของไข่ในระยะที่ 3, 4 และ 5 จากการศึกษาพบว่าการใช้ท่อปล่อยน้ำแบบ 2 หัวฉีด มีผลทำให้อัตราการรอดตายของลูกปลาสูงกว่าแบบ 1 หัวฉีด ในระยะที่ 3 และ 4 (86.06 % และ 69.86 % ตามลำดับ) และยังพบว่ารูปทรงถาดฟักไข่ทรงรี มีอัตราการรอดตายสูงที่สุด ทั้งในระยะที่ 3, 4 และ 5 โดยมีอัตราการรอด 85.83 %, 69.26 % และ 60.00 % ตามลำดับ รองลงมาคือถาดฟักทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและทรงกลม จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าระบบท่อปล่อยน้ำแบบ 2 หัวฉีด โดยใช้ถาดฟักไข่ทรงรีเป็นระบบเพาะฟักไข่ที่มีประสิทธิภาพสูงช่วยให้ลูกปลานิลมีอัตรารอดตายที่สูง ซึ่งระบบเพาะฟักไข่ดังกล่าวเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการเพาะฟักไข่ปลาที่ต้องการอัตรารอดตายสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิจจา ใจเย็น และพรรณศรี จริโมภาส. 2536. การศึกษาเบื้องต้นในการเลี้ยงปลานิลสีแดง แบบหนาแน่นในบ่อซีเมนต์. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 31 สาขาสัตว์ ประมง สัตวแพทยศาสตร์ 3-6 กุมภาพันธ์ 2536มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

คณนา อาจสูงเนิน. 2559. การสำรวจรูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ในหมู่บ้านปงหลวง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วารสารเกษตร. 32: 409-419.

ฐาปนพันธ์ สุรจิต, เรืองวิชญ์ ยุ้นพันธ์, ประพันธ์ศักดิ์ ศีรษะภูมิ, สุบรรณ เสถียรจิตร และฉัตรชัย ไทยทุ่งฉิน. 2552. การศึกษาเปรียบเทียบระบบการเพาะพันธุ์ปลานิล (Oreochromis niloticus) ในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และในกระชังแขวนลอยในบ่อดินเพื่อผลิตลูกปลานิลเชิงพาณิชย์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47, 17-20 มีนาคม 2552. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ณัฐพงษ์ ปานขาว. 2560. การเพาะเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ. วารสารเกษตรภิรมย์. 18: 45-47.

ธัชพล การะเกตุ, มินตรา ศีลอุดม และนนทวิทย์ อารีย์ชน. 2564. การวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้จากปราชญ์ปลานิลเพื่อการเพาะเลี้ยงปลานิลแบบยั่งยืนในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3: 454-468.

นฤชยา ไกรเนตร. 2553. การเพาะเลี้ยงปลานิล. เอกสารแนะนำ ฝ่ายเผยแพร่ ส่วนเผยแพร่การประมง สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

บังอร ไชยณรงค์. 2549. ปลานิล: ปลาพระราชทานเพื่อปวงชนชาวไทย. เอกสารแนะนำ ส่วนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และกิจกรรมพิเศษ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง, กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ปณรัตน์ ผาดี. 2555. การวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงปลานิลอินทรีย์ในบ่อระบบปิดในจังหวัดมหาสารคาม. วารสาร มทร.อีสาน. 5: 33-45.

พรรณศรี จริโมภาส, ภาณุ เทวรัตน์มณีกุล, บุญเลิศ เกิดโกมุท และพงษ์ศิริ ประสพสุข. 2538. การพัฒนาการเพาะพันธุ์ปลานิลสีแดง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 169/2538. สถาบันวิจัยประมงน้ำจืด, กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เรณู ว่องส่งสาร และนพนันท์ อยู่รอง. 2549. คู่มือการผลิตปลานิลแปลงเพศ. ศูนย์วิจัยประมงน้ำจืดอุดรธานี, กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

วรัณยู ขุนเจริญ, อนุวัติ อุปนันไชย และจิระภา โพธิศรี. 2551. ประสิทธิภาพการฟักไข่ปลากดแก้วโดยใช้วิธีฟักไข่ที่แตกต่างกัน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 7/2551. สานักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

วันเพ็ญ สิตะพงศ์. 2540. ประสิทธิภาพการฟักไข่ปลานิล 3 กรรมวิธี (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานครฯ.

วริทธิ์ อึ๊งภาภรณ์. 2551. การออกแบบระบบท่อภายในอาคาร. พิมพ์ครั้งที่ 6. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานครฯ.

สุนทร สุทธิบาก. 2558. กลศาสตร์ของไหล. แหล่งข้อมูล: http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2565.

อาทิตญาพร ชูศรีพัฒน์, พรพิมล เจียระนัยปรีเปรม และชุติมา หาญจวณิช. 2559. พัฒนาการเจริญของปลานิล (Oreochromis niloticus) อายุ1-20 วัน. ใน: การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ. วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2559 ณ อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Gyalog, G., J. Paola, C. Tovar, and B. Emese. 2022. Freshwater aquaculture development in EU Latin-America: insight on production trends and resource endowments. Sustainability. 14: 6443.

Jalu, A.P., P. Bambang, W. Suryadi, A. Setiono, M.Y. Rofianingrum, T. Maftukhah, M.I. Afandi, I. Mulyanto, and H. Pratomo. 2022. Development of monitoring techniques and validation of the acidity level of biofloc pond water for optimizing tilapia aquaculture. IOP Conference Series. Earth and Environmental Science. 1017: 012006.

Koji, F., and N. Okada. 2007. Development of the embryo, larva and early juvenile of Nile tilapia Oreochromis niloticus (Pisces: Cichlidae). Developmental staging system. Development growth & differentiation the Japanese society of developmental biologist. 49: 301-324.

Little, D.C., and G. Hulata. 2000. Strategies for tilapia seed production. In Tilapias: Biology and Exploitation. UK: Kluwer Academic Publishers London. 267-326.

Maria R., R. Romana-Eguia, R.M. Patito, G.R. Caroscos, and N.D. Salayo. 2021. Assessment of Tilapia–Freshwater Prawn Co-Culture Schemes in tanks and Lake-Based Cages for increased farm production. Sustainability. 13: 13574.

Nassrin M., F. Rajabipoura, M. Mohammadia, H. Sarsangi, A. Bitarafa, H. Hossein-Zadehb, and M. Sharif-Rohani. 2016. Reproduction of Nile tilapia, Oreochromis niloticus in brackish water. Journal of Applied Aquaculture. 27: 1-8.

Rahman, M.L., A.S. Md, and A. Nesar. 2021. Tilapia Farming in Bangladesh: Adaptation to Climate Change. Sustainability. 13: 7657.