ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ระพีพันธ์ เผ่าชู
ภักตร์สิริ หยังกุล
ธีร ศรีสวัสดิ์
ปฏิมา เพิ่มพูนพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และพฤติกรรมการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภค 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภค 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการซึ้อผักปลอดสารพิษกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อผักปลอดสารพิษในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาแสดงผลเป็นค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานของตัวแปรด้วยไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 24-33 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ส่วนใหญ่เลือกซื้อผักประเภทใบบ่อยที่สุด ใช้ช่องทางการซื้อผ่านทางออฟไลน์หรือมีหน้าร้าน จากเทสโก้โลตัส (Tesco Lotus) ความถี่ที่เลือกซื้อผักปลอดสารพิษ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เวลาที่เลือกซื้อผักปลอดสารพิษเป็นช่วงเย็น 15.01-18.00 น. เหตุผลสำคัญที่ผู้บริโภคเลือกซื้อผักปลอดสารพิษ คือ คุณภาพ และความปลอดภัย บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผักปลอดสารพิษคือ ตนเอง ปริมาณการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคส่วนใหญ่ เลือกซื้อครั้งละน้อยกว่า 1 กิโลกรัม ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมาเป็นการส่งเสริมการขายในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการซึ้อผักปลอดสารพิษมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01, 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2555. คู่มืออาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน. โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. ผักปลอดภัยจากสารพิษ. แหล่งข้อมูล: https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2015/02/veg-pod-san-pis.pdf. ค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565.

กรรณิการ์ คงวาริน และจินตนีย์ รู้ซื่อ. 2563. พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ. 7(1): 50-77.

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2560. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 28. กรุงเทพฯ.

ขวัญกมล ดอนขวา, สุมาตรา โพธิ์มะฮาด และนภิสรา พิษสุวรรณ. 2562. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อผักปลอดสารพิษในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย. 13(3): 81-93.

ฉัตรสุดา สุวรรณจตุพร, พิชัย ทองดีเลิศ และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของผู้บริโภคผ่านทางตลาดสินค้าออนไลน์. วารสารแก่นเกษตร. 47(2): 335-346.

นิตยา วงศ์ยศ. 2564. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในตลาดเกษตรจังหวัดพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 5(1): 133-145.

ประทานทิพย์ กระมล. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์ และปลอดสารพิษในตลาดเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร. 42(2): 227-234.

พรทิพย์ เรืองแก้ว และกรรณิกา แซ่ลิ่ว. 2565. พฤติกรรมการซื้อสตรอว์เบอร์รี่ไทยสดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารแก่นเกษตร. ฉบับพิเศษ (2): 428-434.

เยาวเรศ เชาวนพูนผล, จุฑามาส คุ้มชัย, สุกิจ กันจินะ และภวิษฐ์พร วงศ์ศักดิ์. 2562. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผักไมโครกรีนของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร. 47(5): 1089-1098.

วชิระ น้อยนารถ, พัชราวดี ศรีบุญเรือง และสาวิตรี รังสิภัทร์. 2560. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของผู้บริโภค ร้านโกลเด้น เพลซ สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35(1): 136-145.

วิจิตรา เหลียวตระกูล, วชิรญา เหลียวตระกูล, วรรภา วงศ์แสงธรรม และรวีวรรณ เดื่อมขันมณี. 2562. พฤติกรรมการผลิตผักและทัศนคติในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 47(5): 1045-1056.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2558. 4 สารพิษตกค้าง อันตรายที่ต้องระวัง. แหล่งข้อมูล: https://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/6037. ค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565.

สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี. 2565. แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี (พ.ศ. 2566 - 2570). แหล่งข้อมูล: https://www.suratthani.go.th/home/news-announcement/development-plan/2566-2570.html. ค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. 2565. พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ. แหล่งข้อมูล: https://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=40. ค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2563. จำนวนประชากรจังหวัดสุราษฎร์ธานี. แหล่งข้อมูล: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/71.htm. ค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565.

สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. สำนักพิมพ์บุ๊คส์ ทู ยู. กรุงเทพมหานคร.

Kotler, P. 2009. Marketing Management. Pearson Prentice Hall.

Kotler, P., J.T. Bowen, and J.C. Makens. 2014. Marketing for hospitality and tourism. Sixth edition. Boston, Pearson.

Meng, X., L. Wang, N. Wang, L. Chen, and Q. Huang. 2022. Investigation and analysis of pesticide residues in four common vegetables and risk assessment of dietary exposure in ceramic capital, China. Molecules. 27(19): 6562. https://doi.org/10.3390/molecules27196562.

Rahman, S.M.E, M.A. Mele, Y.T. Lee, and M.Z. Islam. 2021. Consumer preference, quality, and safety of organic and conventional fresh fruits, vegetables, and cereals. Foods. 10(1): 105.

Sapbamrer, R., and J. Chittrakul. 2022. Determinants of consumers’ behavior in reducing pesticide residues in vegetables and fruits, northern Thailand. International Journal of Environmental Research and Public Health. 19. 13033.

Thathong, P., S. Sayruamyat, and C. Potchanasin. 2022. Factors influencing the probability of viral online purchase for agricultural products. Journal of Business, Economics and Communications. 17(3): 135-153.