การใช้ D/S ratio เพื่อกำหนดคุณภาพทุเรียนหมอนทองเกรดพรีเมียมเพื่อตลาดในประเทศและส่งออก

Main Article Content

ปิยะพงษ์ สอนแก้ว
ธนัชชา ชัยดา
วรภัทร วชิรยากรณ์

บทคัดย่อ

ทุเรียนหมอนทองเป็นพันธุ์หลักที่สำคัญของไทยสำหรับตลาดในต่างประเทศโดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจุบันพื้นที่ปลูกทุเรียนหมอนทองเพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม (กลุ่มประเทศ CLMV) ทำให้เกิดการแข่งขันท้าทายด้านคุณภาพเป็นหลัก ทุเรียนหมอนทองคุณภาพขึ้นกับรสชาติที่ดี กลิ่นหอม มีกลิ่นฉุนน้อย อัตราส่วนของน้ำหนักเนื้อแห้ง (Dry matter, %D) ต่อปริมาณซัลเฟอร์ในเนื้อทุเรียนดิบ (sulfur content, %S) (D/S ratio) เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานทุเรียนเกรดพรีเมียมสำหรับตลาดในและต่างประเทศ ทำการศึกษาในพื้นที่การผลิต เช่น จันทบุรีและนนทบุรี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลอัตราส่วนของน้ำหนักเนื้อแห้งต่อปริมาณซัลเฟอร์ในเนื้อทุเรียนดิบ (D/S ratio) ของทุเรียนในแหล่งที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อพิจารณาค่า D/S ratio และศึกษาความแตกต่างของการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมในรูปโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) และโพแพสเซียมซัลเฟต (K2SO4) ในระยะ 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวที่ส่งผลต่อคุณภาพและกลิ่นของเนื้อทุเรียนเมื่อสุก พบว่าการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ ให้สารประกอบเอสเทอร์ ethyl 2-metyl butyrate สูงกว่าในโพแทสเซียมซัลเฟต ขณะเดียวกัน ethanethiol ต่ำกว่า นอกจากนี้ K2SO4 ให้ความสว่างและมุมสีของทุเรียนสุกสูงกว่าการใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ เนื้อสัมผัสในรูปของความแข็ง และค่าการเกาะติดผิววัสดุ จากการใช้ปุ๋ยทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกัน D/S ratio มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับปริมาณซัลเฟอร์ (S) และ D/S ratio เพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณ S ลดลง ค่า D/S ratio ที่แนะนำสำหรับทุเรียนหมอนทองพรีเมียม คือ มากกว่า 316 และ D/S ratio ที่ 32% DM ต้องมี S เนื้อดิบไม่เกินร้อยละ 0.1010 โดย S สามารถเพิ่มขึ้นได้ตามน้ำหนักเนื้อแห้งที่เพิ่มขึ้น แต่ค่า D/S ratio ต้องมีค่าเกิน 316

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ. 2550. การประเมินลักษณะเนื้อสัมผัสในอาหาร. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 3(1): 6-13.

พีระพงษ์ แสงวนางค์กูล และยุพิน อ่อนศิริ. 2562. การชะลอการสุกและการแตกของผลทุเรียนพันธุ์หมอนทองระหว่างการส่งออกทางเรือด้วยสาร 1-MCP. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 50(พิเศษ3): 236-239.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ, 548.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2564. “ถามมา-ตอบไป” เสวนา “เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยในไม้ผล (ทุเรียน ลำไย มะม่วง มะพร้าว). วารสารเคหการเกษตร. 45(11): 113-118.

วิชาญ ศิริผล. 2508. การทดลองใช้ปุ๋ยคลอไรด์และซัลเฟตกับทุเรียน. รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ครั้งที่ 4 สาขาพืชและชีววิทยากับสาขาสัตว์. 27-29 มกราคม 2508 กรุงเทพฯ. หน้า 319-325.

สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2537. สรีรวิทยาไม้ผล. โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท. ขอนแก่น, 437.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2556). มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 3-2556 ทุเรียน. ICS 67.080.10.

อภิรดี กอร์ปไพบูลย์, ธีรวุฒิ ชุตินันทกุล, มาลัยพร เชื้อบัณฑิต และนาทระพี สุขจิตไพบูลย์ผล. 2561. การคัดเลือกละอองเกสรที่มีประสิทธิภาพต่อการติดผลทุเรียนในสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง. แหล่งข้อมูล https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/10/ผลของละอองเกสรที่ผ่านการคัดเลือกต่อคุณภาพของทุเรียน.pdf. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566.

Diczbalis, Y., and D. Westerhuis. 2005. Durian and mangosteen orchards-north Queenland nutrition survey. A report for the rural industries research and development corporation, Australian Government. RIRDC Publication No 05/163. 72p.

Fischer, N.S., and M. Steinhaus. 2020. Identification of an important odorant precursor in Durian: first evidence of ethionine in plants. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 68: 10397-10402.

Isa, I.Z.M., N.A.A. Mustafa, M.Z. Shahrill, A.A. Hamid, N.H.Z. Abedin, and M.S.P. Dek. 2019. Proximate composition, physicochemical and antioxidant properties of three durian (Durio zibethinus) cultivars. Journal of Tropical Plant Physiology. 11: 22-30.

Jaisue, N., N. Tawinteung, A. Worphet, and L. Khurnpoon. 2021. Distribution and management of total and available sulfur under durian orchard soils in the Eastern Thailand. International Journal of Agricultural Technology. 17(5): 1767-1778.

Kays, S.J.1991. Postharvest Physiology of Perishable Plant Products. Van Nostrand Reinhold, New York.

Li, J.-X., P. Schieberle, and M. Steinhaus. 2017. Insights into the key compounds of durian (Durio zibethinus L. ‘Monthong’) pulp odor by odorant quarant quantitation and aroma simulation experiments. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 65: 639-647.

Liu, W., Y. Zhang, L. Wang, B. Ahmad, X. Shi, Y. Ren, C. Liang, X. Zhang, Y. Zhang, and G. Du. 2023. Integrated transcriptome and metabolome analysis unveinled the mechanisms of xenia effect and the role of different pollens on aroma formation in ‘Yili’ pear (Pyrus bretschneideri Rehd). Scientia Horticulturae. 307: 111503.

Peng, K.S.M. 2019. Volatile esters and sulfur compounds in durians & a suggested approach to enhancing economic value of durians. Malaysian Journal of Sustainable Agriculture. 3(2): 5-15.

Poovarodom, S. and N. Phanchindawan. 2006. Effect of chloride and sulfate in various N and K fertilizers on soil chemical properties and nutrient concentrations in durian leaf and fruit. Acta Horticulturae. 721: 191-198.

Reineccius, G. 2006. Flavor chemistry and technology. 2nd Edition. CRC Press, NW.

Siriphanich, J., 2011. 5 - Durian (Durio zibethinus Merr.), In: Yahia, E.M. (Ed.), Postharvest Biology and Technology of Tropical and Subtropical Fruits. Woodhead Publishing, pp. 80-116e.

Teh, B.T., K. Lim, C.H. Yong, C.C.Y. Ng, S.R. Rao, V. Rajasegaran, W.K. Lim, C.K. Ong, K. Chan, V.K.Y. Cheng, P.S. Soh, S. Swarup, S.G. Rozen, N. Nagarajan, and P. Tan. 2017. The draft genome of tropical fruit durian (Durio zibethinus). Nature Genetics. 49: 1633-1641.

Wilmer, L., E. Pawelzik, and M. Naumann. 2022. Comparison of the effects of potassium sulphate and potassium chloride fertilization on qualiry parameters, including volatile compounds, of potato tubers after harvest and storage. Frontiers in Plant Science. 13: 920212.

Xiao, Z., M. Niu, Y. Niu, and J. Zhu. 2022. Evaluation of the perceptual interaction among sulfur compounds in durian by feller’s additive model and odor activity value. Food Analytical Methods. 15: 1787-1802.