การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Xanthomonas citri subsp. citri สาเหตุโรคแคงเกอร์ของส้มโอทับทิมสยาม

Main Article Content

ชัยสิทธิ์ ปรีชา
นภัสวรรณ เลี่ยมนิมิตร
พรศิลป์ สีเผือก

บทคัดย่อ

โรคแคงเกอร์ของส้มโอเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri  subsp. citri เป็นปัญหารุนแรงและสำคัญในการปลูกพืชตระกูลส้ม เชื้อเข้าทำลายใบ กิ่ง และผลส้มโอ เกิดเป็นแผลจุดสีเหลือง ตกสะเก็ด การนำเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์มาใช้ในการป้องกันกำจัดโรคจะช่วยลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ คัดเลือกเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อปฏิปักษ์ เพื่อควบคุมเชื้อ X. citri  subsp. citri ในสภาพห้องปฏิบัติการ ทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคแคงเกอร์ ด้วยวิธี Paper disc diffusion และ agar well diffusion พบว่า เชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ ไอโซเลท S1-4 และ S3-5 มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุเท่ากับ 77.17 และ 72.53% เมื่อทดสอบด้วยวิธี paper disc diffusion ส่วนการทดสอบด้วยวิธี agar well diffusion ประสิทธิภาพการยับยั้งเท่ากับ 75.73 และ 72.97% ผลการตรวจติดตามอัตราการรอดชีวิตและการครอบครองผิวใบส้มโอทับทิมสยามหลังพ่นเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ร่วมกับการปลูกเชื้อสาเหตุโรคแคงเกอร์ พบว่า มีความแตกต่างกัน โดยสุ่มเก็บตัวอย่างใบส้มโอทับทิมสยามทั้ง 2 ชุดการทดลอง หลังทำการปลูกเชื้อสาเหตุโรคทุกๆ 15 วัน คือ 0, 15, 30, 45 และ 60 วัน พบว่า เชื้อสาเหตุโรคมีปริมาณน้อยกว่าเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์มีศักยภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ X. citri subsp. citri และเจริญแข่งขันด้านแหล่งที่อยู่อาศัยได้ดีกว่าเชื้อก่อโรค

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จรัสลักษณ์ เพชรวัง, สุรพล ฐิติธนากุล, อติพล พัฒิยะ, นิพาดา สุภาพ, อโณทัย บำรุง และปรินุช ชุมแก้ว. 2563. ประสิทธิภาพของแบคทีเรียเอนโดไฟท์ในการควบคุมโรคแคงเกอร์ของมะนาว. แก่นเกษตร. 48 (ฉบับพิเศษ 1): 1197-1202.

ชัยสิทธิ์ ปรีชา, เวที วิสุทธิแพทย์ และพรศิลป์ สีเผือก. 2553. รายงานการวิจัย “การคัดเลือกแบคทีเรียเพื่อใช้ในการควบคุมโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) ของยางพารา (Hevea brasiliensis) โดยชีววิธี”. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. นครศรีธรรมราช.

ชูศักดิ์ จอมพุก. 2551. สถิติการวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ขอมูลในงานวิจัยด้านพืชไร่. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม. 319 น.

ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, รุ่งนภา ทองเคร็ง และบุญปิยะธิดา คล่องแคล่ว. 2560. การใช้เทคนิค Real time PCR ในการตรวจหาแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp. citri สาเหตุโรคแคงเคอร์ เพื่อการตรวจรับรองแปลงผลิตส้มโอปลอดโรคแคงเคอร์. วารสารวิชาการเกษตร. 35: 74-90.

นพพล สัทยาสัย. 2551. ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคแคงเกอร์ของส้มโอ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

พรพรรณ อู่สุวรรณ. 2550. การใช้ Bacillus spp. และ Streptomyces spp. ในการควบคุมโรคเชื้อราในองุ่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา.

วราภรณ์ สุทธิสา และบุษยา วาปี. 2562. การคัดแยกแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวจากดินบริเวณรอบรากต้นบานไม่รู้โรยป่า (Gomphrena celosioides Mart.). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 21(3): 86-94.

วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ. 2551. ลักษณะและการทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ควบคุมเชื้อ Erwinia carotovora subsp. carotovora สาเหตุโรคเน่าเละ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

รัชฎาวรรณ เดชมณี และสุดฤดี ประเทืองวงศ์. 2548. แถบ Thin-layer Chromatography ของสารทุติยภูมิที่ผลิตโดย Bacillus firmus และการยับยั้งเชื้อ Xanthomonas axonopodis pv. glycines. 2548, น. 313 -320. ใน: รายงานการประชุมวิชาการครั้งที่ 43 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1-4 กุมภาพันธ์ 2548. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สุนันทนาถ นุราภักดิ์. 2555. สูตรสำเร็จของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ผสมหลายสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อโรคใบจุดนูนและส่งเสริมการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองฝักสด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7. 2552. การจัดการองค์ความรู้เทคโนโลยีการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรมวิชาการเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/ac/nakhonsithammarat/wp-content/uploads/2022/04/. ค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2565.

อมรรัตน์ กุสลางกูรวัฒน์, ปัฐวิภา สงกุมาร, ศรีเมฆ ชาวโพงพาง และอำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์. 2561. ความสามารถในการก่อโรคของเชื้อ Xanthomonas citri subsp. citri สาเหตุโรคแคงเกอร์พืชตระกูลส้มและการควบคุมโรคด้วยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์. แหล่งข้อมูล: http://www.thai explore.net/search_detail/result/5804. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565.

อุทัย หมื่นขำ และขวัญชนก บุปผากิจ. 2565. คลังความรู้. กรมวิชาการเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://pakphanang.nakhonsri. doae.go.th/pomelolo.htm. ค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2565.

Daungfu, O., S. Youpensuk, and S. Lumyong. 2019. Endophytic bacteria isolated from citrus plants for biological control of citrus canker in lime plants. Tropical Life Science Resources. 30: 73-88.

Gaiero, J.R., C.A. McCall, K.A. Thompson, N.J. Day, A.S. Best, and K.E. Dunfield. 2013. Inside the root microbiome: bacterial root endophytes and plant growth promotion. American Journal of Botany. 2013: 1738-1750.

Gerhardt, P. 1981. Manual of methods of general bacteriology. American Society of Microbiology, Washington DC, 127 p.

Islam, N.M., M.S. Ali, S.J. Choi, J.W. Hyun, and K.H. Baek. 2019. Biocontrol of citrus canker disease caused by Xanthomonas citri subsp. citri using an endophytic Bacillus thuringiensis. Plant Pathology. 35: 486-497.

Kalita, P., L.C. Bora, and K.N. Bhagabati. 1996. Phylloplane microflora of citrus and their role in management of citrus canker. Indian Phytopathology. 49: 234-237.

Leksomboon, C., N. Thaveechai, and W. Kositratana. 2001. Potential of plant extracts for controlling citrus canker of lime. Kasetsart Journal. 35: 392-396.

Lugtenberg, B., and F. Kamilova. 2009. Plant-growth-promoting rhizobacteria. Annual Review of Microbiology. 63: 541-556.

Mahadtanapuk, S., R.W. Cutler, M. Sanguansermsri, V. Sardsud, B. College, and S. Anuntalabhochai. 2007. Control of anthracnose caused by Colletotrichum usaeon, Curcumaalis matifolia Gagnep. using antagonistic Bacillus spp. American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 2: 54-61.

Naqvi, S.A., J. Wang, M.T. Malik, U.D. Umar, A.U. Rehman, A. Hasnain, M.A. Schail, M.T. Shakeel, M. Nauman, H. Rehman, M.Z. Hassan, M. Fatima, and R. Datta. 2022. Citrus canker-distribution, taxonomy, epidemiology, disease cycle, pathogen biology, detection, and management: a critical review and future research agenda. Agronomy. 12: 1075. https://doi.org/10.3390/agronomy12051075. Accessed 2 March. 2023.

Rabbee, M.F., N. Islam, and K.H. Baek. 2019. Endophyte Bacillus velezensis isolated from Citrus spp. controls streptomycin-resistant Xanthomonas citri subsp. citri that causes citrus bacterial canker. Agronomy. 9: 470.

Schaad, N.W. 1988. Laboratory Guide for Idetification of Plant Pathologenic Bacteria. Bacteriology Committee of American Phytopathological Society St. Paul MN. 245 p.

Senthilkumar, M., R. Anandham, M. Madhaiyan, V. Venkateswaran, and T. Sa. 2011. Endophytic bacteria: perspectives and applications in agricultural crop production. PP. 61-96. In: D.K. Maheshwari. Bacteria in Agrobiology: Crop Ecosystems. Springer, Berlin.

Soares, M.A., H. Li, M. Bergen, J.M. Silva, K.P. Kowalski, and J.F. White. 2016. Functional role of an endophytic Bacillus amyloliquefaciens in enhancing growth and disease protection of invasive English ivy (Hedera helix L.). Plant and Soil. 405: 107-123.

Sturz, A.V., B.R. Christie, and J. Nowak. 2000. Bacterial endophytes: potential role in developing sustainable systems of crop production. Critical Reviews in Plant Sciences. 19: 1-30.

Szczech, M., and M. Shoda. 2006. The effect of mode of application of Bacillus subtilis RB 14-C on it efficacy as a biocontrol agent against Rhizoctonia solani. Journal of Phytopathology. 154: 370-377.

Torres, M.J., C.P. Brandan, G. Petroselli, R. Erra-Balsells, and M.C. Audisio. 2016. Antagonistic effects of Bacillus subtilis subsp. subtilis and B. amyloliquefaciens against Macrophomina phaseolina: SEM study of fungal changes and UV-MALDI-TOF MS analysis of their bioactive compounds. Microbiological Research. 182: 31-39.

Wang, X., L. Liang, H. Shao, X. Ye, X. Yang, X. Chen, Y. Shi, L. Zhang, L. Xu, and J. Wang. 2022. Isolation of the novel strain Bacillus amyloliquefaciens F9 and identification of lipopeptide extract components responsible for activity against Xanthomonas citri subsp. citri. Plants. 11: 457.