การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15 อ. องครักษ์ จ. นครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15 อ. องครักษ์ จ. นครนายก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) บริเวณพื้นที่หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15 เพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรมและการเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเน้นการศึกษาพื้นที่ผลิตไม้ดอกไม้ประดับเนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายทางอากาศในช่วงเวลาต่าง ๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน จำนวน 5 ปี จากฐานข้อมูล Google Earth Professional ได้แก่ ปี พ.ศ. 2549, 2552, 2556, 2560 และ 2562 จัดทำเป็นฐานข้อมูลลักษณะกายภาพของพื้นที่ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินและโครงร่างของภูมิทัศน์ (Landscape Configuration) ของพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่เมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยพื้นที่บ้านพักอาศัยเพิ่มขึ้น 34.4% เมื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ พบว่าพื้นที่ผลิตไม้ดอกไม้ประดับมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างมากถึง +191% โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2552-2556 ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมประเภทอื่นมีแนวโน้มลดลงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ สวนผัก/ไม้ล้มลุก (-27.4%) สวนไม้ผลยืนต้น (-17.1%) และนาข้าว (-8.3%) โดยพื้นที่ผลิตไม้ดอกไม้ประดับขยายตัวเพิ่มขึ้นทางทิศเหนือสองฝั่งถนน 3012 เก็บข้อมูลสาเหตุของการขยายตัวพื้นที่ผลิตไม้ดอกไม้ประดับไปในบริเวณดังกล่าวจากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่พบว่าเป็นเพราะเป็นพื้นที่ของเอกชน เข้าถึงได้ง่ายและค่าเช่าที่ดินไม่แพง น้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 เป็นปัจจัยเร่งให้ลูกหลานของผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่ตกงานจากการปิดโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง กลับมาปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจากเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดี ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และค่าการเปลี่ยนแปลงเชิงสถิติของพื้นที่จากผลการศึกษา สามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของ อ. องครักษ์ ให้เหมาะสมสำหรับกิจกรรมทั้งด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว ตลอดจนใช้ประกอบการวางผังเมืองและผังภูมิภาคต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2564. “หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15”. แหล่งข้อมูล: https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/1349. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.
กลุ่มส่งเสริมไม้ดอกและไม้ประดับ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. มปป. “ไม้ประดับ” แหล่งข้อมูลhttp://www.agriman.doae.go.th/home/news/2565/44ornamentalplant.pdf. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2566.
เกษตรโฟกัสนิวส์. 2562. “โฟกัสเกษตร: ไม้ดอกไม้ประดับ-กุ้งก้ามกราม-ปลานิล สินค้าทางเลือกสร้างกำไรให้เกษตรกรนครนายก” แหล่งข้อมูล: http://kasetfocusnews.com/index.php/โฟกัสเกษตร/2/1022-2019-08-13-14-03-53.html. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563.
ที่ดินร้อยแปด. 2565. แหล่งข้อมูล: https://www.teedin108.com. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2565.
ธนาศรี สัมพันธารักษ์. 2546. ผลกระทบจากการพัฒนาและการขยายตัวของเมืองที่มีต่อพื้นที่เกษตรกรรมชานเมือง: กรณีศึกษาชุมชนเกษตรบางรักน้อย จังหวัดนนทบุรี. น. 1-10. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41: สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธมลวรรณ รัตติรุจิเศวต. 2564. ธนารักษ์พื้นที่นครนายก. สัมภาษณ์ 29 เมษายน 2564.
บุษกร เชี่ยวจินดากาญน์. 2561. เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์. 13(1): 103-118.
ประภาศรี โอสถานนท์. 2563 “โอกาสส่งออกดอกไม้ไทยสดใสหลังวิกฤติโควิด” กรุงเทพธุรกิจ. แหล่งข้อมูล: https://www.bangkokbiznews.com/business/895734. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566.
พัชรียา บุญกอแก้ว, อลิศรา มีนะกนิษฐ, กนกวรรณ ถนอมจิตร, ปราโมทย์ ไตรบุญ, ดวงพร บุญชัย, นทีพงศ์ เมืองแก้ว และศศิมา พยุยงค์. 2560. การสร้างระบบฐานข้อมูลเกษตรดิจิทัลเพื่อการตัดสินใจของกลุ่มเกษตรกรในการผลิตไม้ดอกไม้ประดับในเขตทุ่งรังสิต. ภายใต้แผนกิจกรรมการพัฒนาการเกษตรไทยสู่ระบบอัจฉริยะด้วยการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
นกยูง มะนูน. 2564. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 ต. บางปลากด อ. องครักษ์ จ. นครนายก. สัมภาษณ์ 7 พฤษภาคม 2564.
รังสรรค์ นันทกาวงศ์. 2531. การต้านทานการรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมชานเมืองกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเขตหนองแขมวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาผังเมือง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
เรณู มะนูน. 2564. อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 11 ต. บางปลากด อ. องครักษ์ จ. นครนายก. สัมภาษณ์ 22 กุมภาพันธ์ 2564.
ลูกสะใภ้นางขวัญจิต ตู้แก้ว. 2564. เกษตรกรในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15. สัมภาษณ์ 10 กุมภาพันธ์ 2564.
สุนทรี อาสะไวย์. 2530. ประวัติคลองรังสิต: การพัฒนาที่ดินและผลกระทบต่อสังคม พ.ศ. 2431-2457. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อรพินท์ ทองอร่าม. 2564. นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ. สำนักงานเกษตร อำเภอองครักษ์. สัมภาษณ์ 16 มีนาคม 2564.
อลิศรา มีนะกนิษฐ, ม.ล.วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์, ประภัสรา นาคะ และณัฏฐ พิชกรรม. 2561. สาเหตุของการลดลงของพื้นที่ผลิตผักในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(1): 2843-2858.
อารีวรรณ คูสันเทียะ. 2561. ส้มอินทรีย์ ณ ทุ่งรังสิต. แหล่งข้อมูล: https://www.landactionthai.org/2012-05-18-03-24-45/article/item/2200-2018-11-05-03-43-03.html. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566.
DDproperty. 2565. แหล่งข้อมูล: https://www.ddproperty.com. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2565.
ESRI. 2015. ArcGIS 10.4. ESRI Inc., Redlands, CA., USA.
Ganeshu, R. 2016. The Growth Determinants of Klong 15 Ornamental Plant Market in Ongkarak, Nakhon Nayok. Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=2799321. Accessed Mar. 14, 2023.
Ghijaghan, S., K. Anuwach, R.C. Garcia, R and J. Casta. 2017. Market Segmentation Factors and Marketing Strategies in Flower and Garden Plants Business: A Case of Ongkharak District, Thailand. Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=2895843. Accessed Mar. 14, 2023.
Google Earth Professional. 2020. Ongkharak, Nakhon Nayok, 100° 56' 39.341"E, 14° 6' 30.165"N. Accessed Apr. 11, 2020.
Kono Y., and P. K. Saha. 1995. Land and water resources management for crop diversification in the Chao Phraya delta, Thailand: A case study of citrus cultivation in the North Rangsit irrigation project. Southeast Asian Studies. 33 (2):169-186.
Leitao A.B., J. Miller, J. Ahern, and K. Mcgarigal. 2006. Measuring Landscape: A Planner’s Handbook. Island Press, Washington DC., USA.
Limthongsakul, S., V. Nitivattananon, and S.D. Arifwidodo. 2017. Localized flooding and autonomous adaptation in peri-urban Bangkok. Environment and Urbanization. 29(1): 51-68.
McGee, T.G. 1972. Rural-urban migration in a plural society: a case study of Malays in the West Malaysia. P.108-124. In: D.J. Dwyer. The City as a Center of Change in Asia. Hong Kong University Press, Hong Kong.
Zhao Q., L. Yu, X. Li, D. Peng, Y. Zhang, and P. Gong. 2021. Progress and trends in the application of Google Earth and Google Earth Engine. Remote Sensing. 13(18): 3778.