การศึกษาชนิดของพืชอาศัยและปริมาณเชื้อเห็ดเห็ดระโงกที่เหมาะสมต่อการเจริญของกล้าไม้วงศ์ยางภายใต้สภาวะโรงเรือนปลูกพืช
Main Article Content
บทคัดย่อ
เห็ดระโงกขาว (Amanita princeps Corner & Bas) เป็นเห็ดป่าไมคอร์ไรซาเจริญบริเวณรอบรากพืช ดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันกับพืช (symbiosis) และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงในประเทศไทย การแยกเชื้อบริสุทธิ์จากดอกเห็ดระโงกขาวบนอาหาร Modified Melin-Norkrans (MMN) พบว่าเส้นใยสามารถเจริญบนอาหารเพาะเลี้ยงใช้เวลา 60 วัน จากนั้นนำมาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์สามารถจัดจำแนกชนิดของเห็ดระโงกขาวโดยมีค่าความเหมือนทางพันธุกรรม 99.57 เปอร์เซ็นต์ (ON794332.1) จึงนำมาทดสอบชนิดของพืชอาศัยและปริมาณเชื้อเห็ดระโงกขาวที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และหาเปอร์เซ็นต์การเกิดรากเอคโตไมคอร์ไรซามากที่สุด ในไม้วงศ์ยาง 4 ชนิด ได้แก่ ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don), พะยอม (Shorea roxburghii G.Don), รัง (Shorea siamensis) และตะเคียนทอง (Hopea odorata) อายุ 6 เดือน วางแผนการทดลอง 3x4 แฟกทอเรียล ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยใส่เชื้อเห็ดระโงกอัตรา 0, 25 และ 50 มิลลิลิตร/ต้น ผลการทดลองพบว่าอัตราการใส่เชื้อที่ 25 มิลลิลิตร/ต้น เป็นอัตราที่เหมาะสมที่สุด และต้นยางนาเป็นกล้าไม้พืชอาศัยที่เหมาะสมของเชื้อเห็ดระโงกขาว โดยส่งผลต่อการเจริญเติบโตมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกล้าไม้ชนิดอื่นและต้นที่ไม่ได้รับการใส่เชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) โดยมีอัตราการเจริญเติบโต (growth rate) ด้านความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ความยาวราก จำนวนราก ปริมาณมวลชีวภาพส่วนเหนือดิน และเปอร์เซ็นต์การเกิดรากเอคโตไมคอร์ไรซา เฉลี่ยเท่ากับ 19.80±0.44 เซนติเมตร, 5.62±0.28 มิลลิเมตร, 1,397.42±17.07 เซนติเมตร, 5,919.67 ราก/ต้น, 31.87±3.31 กรัม และ 65.30±5.59 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกษม สร้อยทอง. 2537. เห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: ศิริธรรม ออฟเช็ท.
ธนภักษ์ อินยอด, ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ, ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์, ธนภัทร เติมอารมณ์, ชาตรี กอนี, สุริมา ญาติโสม, สุจิตรา บัวลอย และปิยะดา เอี่ยมประสงค์. 2564. การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาบางชนิดในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารเกษตรนเรศวร. 18(1): 1-13.
ปาริชาด แสงงาม, ฉันท์ทิพา ศรีดาวงษ์, ซูลฟา หยีราเหม, อรญา บุราไกร, เจษฎา วงศ์พรหม, นิสา เหล็กสูงเนิน และธารารัตน์ แก้วกระจ่าง. 2564. การเพิ่มความทนแล้งของกล้าไม้พะยอมและรังที่มีเห็ดเผาะหนังอยู่ร่วมที่รากแบบเอคโตไมคอร์ไรซา. วารสารวนศาสตร์ไทย. 40(2): 69–82.
ประเสริฐ วุฒิคัมภีร์, วิทยา ศรีทานันท์, นิรัตน์ ศรีวงษา, ชาติ เทียมทอง และพจรจิตร์ นวลผิว. 2545. การศึกษาสภาพแวดล้อมและฟื้นฟูระบบนิเวศเห็ดรับประทานได้จากป่าอนุรักษ์และสวนป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. ฝ่ายวิจัยระบบเกษตรกรรม สำนักวิจัยและพัฒนาเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร, จังหวัดอุบลราชธานี.
พรรณพร กุลมา และปิยะนุช สินันตา. 2554. เห็ดป่ารับประทานได้และมูลค่าราคาในจังหวัดน่าน. งานประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 14(3): 65-75.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. เห็ดในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
อนิวรรต เฉลิมพงษ์. 2542. เห็ดป่าไมคอร์ไรซ่า. เห็ดไทย 2542. สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด หน้า 25-31.
อุทัยวรรณ แสงวณิช. 2547. ศักยภาพของเห็ดป่าในการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรในระบบวนเกษตร. เอกสารประกอบการบรรยายในการประชุมวิชาการวนเกษตร ครั้งที่ 1 “มิติของระบบวนเกษตร สำหรับชุมชนอนาคต” วันที่ 1-3กรกฎาคม 2547 ณ โรงแรมท็อปแลนด์พลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.
อัจฉริยา ธรรมเที่ยง, สุกัญญา แขมคำ, วิจิตรา เทียมใสย์, พีรชัย วงษ์เลิศ, ดำเนิน อ้วนผุย และสมเลือน คำพินิจ. 2543. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง รู้เห็ดอีกสักนิด เพื่อชีวิตปลอดภัย. โรงเรียนบ้านอีเซ (คุรุราษฏวิทยา), ศรีสะเกษ.
Adams, R. I., H. E. Hallen, and A. Pringle. 2005. Using the incomplete genome of the ectomycorrhizal fungus Amanita bisporigera to identify molecular polymorphisms in the related Amanita phalloides. Molecular Ecology Notes. 6: 218-220.
Allen, M.F. 1991. The Ecology of Mycorrhizae. In Journal of Tropical Ecology, A. C. Newton, ed. pp 194. Cambridge: Cambridge University Press.
Brundrett, M.C. 2006. Understanding the roles of multifunctional mycorrhizal and endophytic fungi. Soil Biology journal. 38(9): 281-298.
Charoenpakdee, S., C. Phosri, B. Dell, and S. Lumyong. 2010. The mycorrhizal status of indigenous arbuscular mycorrhizal fungi of physic nut (Jatropha curcas) in Thailand. Mycosphere. 1(2): 167-181.
Cullings, K. W. 1992. Design and testing of a plant-specific PCR primer for ecological and evolutionary studies. Molecular Ecology. 1(4): 233–240.
Doyle, J. J., and E. E. Dickson. 1987. Preservation of plant samples for DNA restriction endonuclease analysis. Taxon. 36: 715-722.
Harley, J. L., and S. E. Smith. 1983. Mycorrhizal symbiosis. In Scientific Research, J. Dighton, ed. pp 483. London: Academic Press.
Kaewgrajang, T., B. Sakolrak, and U. Sangwanit. 2019. Growth response of Dipterocarpus tuberculatus and Shorea roxburghii seedlings to Astraeus odoratus. Environment and Natural Resources Journal. 17(3): 80-88.
Kaewgrajang, T., U. Sangwanit, K. Iwase, M. Kodama, and M. Yamato. 2013. Effects of ectomycorrhizal fungus Astraeus odoratus on Dipterocarpus alatus seedlings. Journal of Tropical Forest Science. 25(2): 200–205.
Molina, R., and J.G. Palmer. 1982. Isolation, maintenance, and pure culture manipulation of ectomycorrhizal fungi. In N.C., Schenck (Eds.), Methods and Principles of Mycorrhizal Research. (pp. 115-129). Minnesota: The American Phytopathological Society.
Nopamornbodi, O. 1995. Effect of mycorrhizae on plant growth and soil fertility. In International Training Course on Soil Management Technique “Fertility Improvement”, ADRC, ed. Khonkaen: JICAS ADRC.
Sangtiean, T., and U. Sangwanit. 1994. Growth of Dipterocarpus alatus Roxb. seedlings inoculated with ectomycorrhizal fungi. Thai Journal of Forestry. 13: 22-28. (in Thai).
Smith, S.E., and D. J. Read. 2010. Mycorrhizal Symbiosis. Academic Press, New York.
Sudip, K. D., M. Aninda, K. D. Animesh, G. Sudha, P. Rita, S. Aditi, S. Sonali, and K. D. Priyanka. 2013. Nucleotide sequencing and identification of some wild mushrooms. The Scientific World Journal. 13(1): 1-7.
White, T., T. Bruns, S. Lee, and J. Taylor. 1990. Amplification and direct sequencing of fungal ribosomal RNA genes for phylogenetics. In M. A. Innes, D. H. Gelfand, J. S. Sninsky, and T. J. White (Eds.), PCR protocols: a guide to methods and applications (315–322). London: Academic Press.