ถอดบทเรียนการระบาดโรคเหี่ยวกล้วยในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติการเกิดโรคเหี่ยวกล้วย 2) ลักษณะการปลูกกล้วย ชนิดพันธุ์ และระยะเวลาการแพร่ระบาด 3) ถอดบทเรียนการระบาดโรคเหี่ยวของกล้วยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ประเทศไทย การวิจัยเป็นการวิจัยประยุกต์ เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง 54 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มและสำรวจพื้นที่เก็บตัวอย่างกล้วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และยืนยันเชื้อโรคเหี่ยวจากห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า 1) โรคเหี่ยวกล้วยเข้ามาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้เมื่อ พ.ศ. 2557 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่แรกที่มีการระบาด โดยการแพร่กระจายเกิดจากแมลงและอุปกรณ์ตัดกล้วย พ.ศ. 2558 อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เกษตรกรสังเกตกล้วยเป็นโรคเหี่ยว การแพร่กระจายเกิดจากนำท่อนพันธุ์ในแปลงเป็นโรคไปปลูกในตำบลและต่างอำเภอ พ.ศ. 2559 เกษตรกรอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี พบกล้วยผิดปกติ โดยการแพร่กระจายเกิดจากอุทกภัยในเดือนธันวาคม พ.ศ 2560 2) ลักษณะการปลูกกล้วยนิยมปลูกแซมหรือร่วมในสวนยางพารา และสวนผลไม้ ชนิดพันธุ์กล้วยที่ปลูก เช่น หิน น้ำว้า น้ำว้าปากช่อง 50 ไข่ นางพญา หอมทอง เล็บมือนาง หอมมาเลย์ ตานี และพื้นเมือง (ขนุน หักมุก ป่า) สายพันธุ์ที่ตรวจพบเชื้อโรคเหี่ยวจากห้องปฏิบัติการมี 9 สายพันธุ์ คือ หิน น้ำว้า น้ำว้าปากช่อง 50 หอมทอง นางพญา ไข่ ขนุน หักมุก และป่า ระยะเวลาแพร่ระบาดโรคเหี่ยวจากแปลงหนึ่งไปอีกแปลงหนึ่งของกล้วยชนิดพันธุ์เดียวกัน ระยะทาง 200-1,000 เมตร ใช้เวลา 1-3 เดือน กล้วยต่างสายพันธุ์ในแปลงเดียวกันใช้เวลาเพิ่มปริมาณเชื้อเฉลี่ย 3 เดือน ก่อนแพร่กระจายไปยังกออื่นในระยะทาง 2-7 เมตร 3) ถอดบทเรียนการระบาดโรคเหี่ยวของกล้วย พบว่า ความรู้และการเข้าถึงความรู้ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เกษตรกร และพ่อค้ารวบรวมผลผลิต เป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนป้องกันการแพร่กระจายโรคเหี่ยวกล้วยอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยาณี สุวิทวัส. 2558. กล้วยฉบับสมบูรณ์. บริษัท สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส จำกัด, กรุงเทพฯ.
ปฏิมาพร ปลอดภัย และวศินี อินศฤงคาร. 2561. กล้วยหินบันนังสตา โรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย วิธีการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยว. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ผู้จัดการออนไลน์. 2563. กลยุทธ์ปลูกกล้วยให้ได้ประโยชน์ กินก็ดี ขาย-ส่งออกก็ได้กำไร. แหล่งข้อมูล: https://mgronline.com/smes/ detail/9630000126929. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566.
พรพิศ คชวัฒนา. 2563. ใช้ “เรื่องกล้วยๆ” พลิกภาคเกษตรกไทยให้โตได้ ต้องส่งเสริมตลาดส่งออกกล้วยไทยให้ถูกทาง. แหล่งข้อมูล: https://www.salika.co/2020/11/21/banana-change-economy/. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566.
โพสต์ทูเดย์. 2560. ฝนถล่มปัตตานีเตือนน้ำท่วมหลายพื้นที่. แหล่งข้อมูล: https://www.posttoday.com social/local/527346. ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2561. รายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืช กล้วยหิน ปี 2560 จำแนกรายจังหวัด. แหล่งข้อมูล: http://www.agriinfo.doae.go.th/year61 /plant/rortor/fruit/province/banana6_1.pdf. ค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2566.
. 2562. ข้อมูลการปลูกพืชรายจังหวัด ปี 2561/2562. แหล่งข้อมูล: http://www.agriinfo.doae.go.thyear62/plant/rortor/ province.pdf. ค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2566.
. 2563. ข้อมูลภาวะการผลิตพืชระดับตำบล (รต.) ปีการเพาะปลูก 2562/2563. แหล่งข้อมูล: http://www.agriinfo.doae.go.th/ year63/plant/rortor/fruit.pdf. ค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2566.
สำนักข่าวอิศรา. 2560. บันทึก "น้ำท่วมเมืองปัตตานี" ชาวบ้านบอก 10 ปีแล้วไม่เคยหนักขนาดนี้. แหล่งข้อมูล: https://www.isranews. org/content-page/67-south-slide/61646-flood_ 61646.html. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2562.
สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส. 2561. แบบรายงานข้อมูลการปลูกกล้วยและสถานการณ์โรคและศัตรูพืชในกล้วย. กลุ่มอารักขาพืช กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นราธิวาส.
สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี. 2561. สถานการณ์โรคเหี่ยวกล้วยจังหวัดปัตตานี. กลุ่มอารักขาพืช กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวง-เกษตรและสหกรณ์, ปัตตานี.
สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา. 2561. สถานการณ์การระบาดโรคเหี่ยวในกล้วยหิน. กลุ่มอารักขาพืช กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวง-เกษตรและสหกรณ์, ยะลา.
อารีพันธ์ อุปนิสากร. ม.ป.ป. ศัตรูพืชและการระบาด. กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
อัมรัน แมหะ. 2561. สำนักงานเกษตร จังหวัดยะลา แนะเกษตรกรวิธีป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวกล้วยหิน ระบุพบพื้นที่ระบาดแล้วจำนวน 2,424 ไร่. สำนักงานข่าวกรมประชาสัมพันธ์. เสนอข่าวเมื่อวันที่ 19 มิ .ย. 61. แหล่งข้อมูล: http://thainews.prd.go.th/ website_th/news/news_detail/WNEVN6106190010003. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2561.
Blomme, G., M. Dita, K. S. Jacobsen, L. Pérez Vicente, A. Molina, W. Ocimati, S. Poussier, and P. Prior. 2017. Bacterial diseases of bananas and enset: Current state of knowledge and integrated approaches toward sustainable management. Frontiers in Plant Science. 8 (Article 1290): 1-25.
GEO-Informatics Research Center. 2020. Topographic map. Royal Thai Survey Department and Faculty of environmental management, Prince of Songkhla University, Songkhla.
FAO. 2022. Banana Market Review – Preliminary results 2022. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Italy Rome.
Moore, D., G. D. Robson, and A. P. J. Trinci. 2019. 21st Century Gridebook to Fungi (second edition). Available: http://www.davidmoore.org.uk/21st_Century_Guidebook_to_Fungi_ PLATINUM/Ch14_09.htm. Accessed Mar., 27 2023.