การยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกรในจังหวัดตรัง

Main Article Content

จอมทอง ชัยภักดี
กอบชัย วรพิมพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกรในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยจัดการเรียนรู้การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา ปี 2562 ในจังหวัดตรัง จำนวน 280 คน เครื่องมือในการศึกษาคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติไคสแควร์ (Chi-square) และ สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.29 อายุเฉลี่ย 52.10 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 37.50 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.10 คน เป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.08 คน ส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางสังคมแต่เป็นสมาชิกของกลุ่มองค์กร เกษตรกรทุกคนติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 5.60 ครั้ง/ปี มีพื้นที่การเกษตร (ปลูกพืช) เฉลี่ย 9.65 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกพืชผัก ร้อยละ 58.57 มีประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 18.36 ปี มีรายได้เฉลี่ย 119,944 บาท/ปี เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 10.89 และทัศนคติต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.67 เกษตรกรมีระดับการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในระดับนำไปปฏิบัติเป็นประจำ คะแนนเฉลี่ย 1.87 และจากการวิเคราะห์สถิติพบว่า ประเภทการทำการเกษตรและประสบการณ์การทำการเกษตรมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกรจังหวัดตรัง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กลุ่มอารักขาพืช. 2562. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรในการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา. คู่มือการปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ประจำปี 2562. สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง. ตรัง.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. 2559. สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพ.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แหล่งข้อมูล: http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/405. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563.

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2546. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6. ธรรมสาร, กรุงเทพฯ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2555. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. ธรรมสาร, กรุงเทพฯ.

ฐิติภัทร มีบุบผา และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. 2560. ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อราในนาข้าว อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35(1): 35-43.

ธานินทร์ ชัชวัชวิมล และประภัสสร เกียรติสุรนนท์. 2561. ความคิดเห็นต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคผักคะน้าของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 46(ฉบับพิเศษ 1): 873-879.

ธิดารัตน์ เสือทรงศิล และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2561. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชของเกษตรกร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49(2): 159-167.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2540. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. เจริญผล, กรุงเทพฯ.

ประสพชัย พสุนนท์. 2558. ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18: 375-396.

ปาณิสรา สัมฤทธินอก. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มาในการควบคุมศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกรอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

วรารัตน์ สุดชา และประภัสสร เกียรติสุรนนท์. 2562. การยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์. แก่นเกษตร. 47(1): 151-158.

วันปิติ ธรรมศรี. 2564. ผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 39(4): 329-336.

สายทอง แก้วฉาย. 2555. การใช้ไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคพืช. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 4(3): 108-123.

สำนักงานเกษตรอำเภอสิเกา. 2562. การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร. กรมส่งเสริมการเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://www.ecoplant.doae.go.th. ค้นเมื่อ 28 เมษายน 2563.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร ปัจจัยการผลิต. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH#. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565.

Truc, N., Z. Sumalde, M. Espaldon, E. Pacardo, C. Rapera, and F. Palis. 2012. Farmers' awareness and factors affecting adoption of rapid composting in Mekong Delta, Vietnam and Central Luzon, Philippines. Journal of Environmental Science and Management. 15(2): 59-73.