ประสิทธิภาพการผลิตและลักษณะสัณฐานวิทยาของไก่แม่ฮ่องสอนเมื่อเทียบกับไก่ประดู่หางดำ ไก่ไข่เพศผู้ และไก่เนื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตและลักษณะสัณฐานวิทยาของไก่แม่ฮ่องสอนช่วงอายุต่างกันเมื่อเทียบกับไก่ประดู่หางดำไก่ไข่เพศผู้ และไก่เนื้อ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยใช้ไก่อายุ 1 วัน ชนิดละ 150 ตัว รวม 600 ตัว แบ่งการทดลองเป็น 4 กลุ่มตามสายพันธุ์ของไก่ กลุ่มละ 10 ซ้ำ ซ้ำละ 15 ตัว ไก่แต่ละกลุ่มได้รับอาหารเหมือนกัน ได้รับน้ำและอาหารเต็มที่ (ad libitum) เก็บข้อมูลน้ำหนักตัว และปริมาณการกินได้ ทำการวัดและบันทึกสัณฐานวิทยาโดยวัดแยกเพศ เพศละ 3 ตัวต่อซ้ำ รวมซ้ำละ 6 ตัว วัดเมื่ออายุ 5 - 8 สัปดาห์ 12 สัปดาห์ และ 16 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าไก่เนื้อมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวัน (32.53±2.10 ก.) มากกว่าไก่ประดู่หางดำ (17.76±0.70 ก.) ไก่ไข่เพศผู้ (9.79±0.63 ก.) และไก่แม่ฮ่องสอน (8.52±0.39 ก.) (P<0.001) ไก่เนื้ออายุ 5 สัปดาห์มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยสูงที่สุด (P<0.001) เมื่ออายุ 16 สัปดาห์ไก่ประดู่หางดำมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยไม่แตกต่างกับไก่แม่ฮ่องสอน แต่สูงกว่าไก่ไข่เพศผู้ (P<0.001) ไก่เนื้อช่วงอายุ 0-5 สัปดาห์กินอาหารมากที่สุด (P<0.001) แต่อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวของไก่เนื้ออายุ 0-5 สัปดาห์ (1.37±0.14) น้อยกว่าไก่ชนิดอื่นๆ (P<0.001) ไก่แม่ฮ่องสอนอายุ 0-16 สัปดาห์มีอัตราการแลกเนื้อไม่แตกต่างกับไก่ไข่เพศผู้ แต่สูงกว่าไก่ประดู่หางดำ (P<0.001) การศึกษาสัณฐานวิทยาพบว่าไก่แม่ฮ่องสอนเพศเมียอายุ 5 และ 16 สัปดาห์มีความกว้างลำตัวน้อยที่สุด (P<0.001) และไก่แม่ฮ่องสอนเพศผู้ที่มีความยาวจงอยปาก ความสูงจากเท้าถึงไหล่ และน้ำหนักตัวมากมีความถี่ในการขันสูง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมปศุสัตว์. 2546. การเลี้ยงไก่พื้นเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดรุณี ณ รังษี, ทวี อบอุ่น และปภาวรรณ สวัสดี. 2551. สมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง 4 พันธุ์ภายใต้สภาพการจัดการแบบเดียวกัน. วารสารวิชาการ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กองบำรุงพันธุ์สัตวกรมปศุสัตว์. ทะเบียนวิชาการเลขที่ 51:0206-062.
บวรศักดิ์ หัสดิน ณ อยุธยา. 2547. คู่มือการเลี้ยงไก่พื้นเมือง. สํานักพิมพ์เพชรกะรัต สติวดิโอ, กรุงเทพฯ.
ปิยะ เปี่ยมยา, ขจร นิติวรารักษ์, ธวานนท์ บุญเกิด, จุฬากร ปานะถึก และวินัย แก้วละมุล. 2562. การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพเนื้อ คุณภาพซาก และคุณภาพทางประสาทสัมผัสของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่พื้นเมืองสำเร็จรูปและอาหารผสมเอง. แก่นเกษตร. 47(6): 1203-1212.
พัฒนา ธนากร. 2537. การสื่อสารด้วยเสียงของนกวงศ์นกเอี้ยง (วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต). แหล่งข้อมูล: CMU Intellectual Repository (CMUIR). http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/ 6653943832/32710. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566.
นครินทร์ พริบไหว, กุลิสรา มรุปัณฑ์ธร, นิราภรณ์ ชัยวัง, วิศนี สุประดิษฐ์อาภรณ์ และณัฐธิดา สุภาหาญ. 2565. การวิจัยและพัฒนาการผลิตเนื้อและผลิตภัณฑ์ไก่ แม่ฮ่องสอนให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริม ความเข้มแข็งของชุมชนและการท่องเที่ยว (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วิศาล อดทน, วรวิทย์ วณิชาภิชาติ และสุธา วัฒนสิทธิ์. 2545. การศึกษาผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง ไก่ลูกผสมพื้นเมือง 50% และ 70%. น.79-90. ใน: รายงานการประชุมวิชาการสาขาสัตวบาล/สัตวศาสตร์/สัตวแพทยศาสตร์ ครั้งที่ 3 วันที่ 28 – 29 มกราคม 2545. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วีรยุทธ เลาหะจินดา. 2528. ปักษ๊วิทยา เล่ม 2. ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรัญญา ศิริปัญญา, สจี กัณหาเรียง, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ และมนต์ชัย ดวงจินดา. 2556. การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ มข. 55, ชี เคเคยู 12และลูกผสมพันธุ์ประดู่หางดำ มข. 55 X ชี เคเคยู 12. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44: 403-406.
สวัสดิ์ ธรรมบุตร. 2545. การเลี้ยงไก่ชน & ไก่พื้นเมือง. สํานักพิมพ์นาคาอินเตอร์มีเดีย, กรุงเทพฯ.
สุภาวดี แหยมคง. 2014. ความหลากหลายของลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก. Life Sciences and Environment Journal. 15(2): 63–73.
สุทธิพงศ์ อาศิรพจน์. 2551. สัณฐานวิทยา การขัน และการใช้พื้นที่ของไก่ป่าตุ้มหูแดงในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). แหล่งข้อมูล: Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula. ac.th/handle/123456789/28457. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565.
สำนักงานปศุสัตว์แม่ฮ่องสอน. 2566. ลักษณะประจําพันธุ์ไก่แม่ฮ่องสอน. แหล่งข้อมูล: https://pvlo-mhs.dld.go.th/webpvlo/wp-content/uploads/2018/05/native-chicken.pdf. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565.
อํานวย เลี้ยวธารากุล, สุรศักดิ์ โสภณจิตร, ภูรี วีระสมิทธ์ และศุภฤกษ์ สายทอง. 2548. การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมืองของท้องถิ่น (ไก่แม่ฮ่องสอน) สำหรับเลี้ยงในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). มูลนิธิโครงการหลวง. แหล่งข้อมูล: https://www.royalprojectthailand.com/node/567. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566.
Buranawit, K., C. Chailungka, C. Wongsunsri, and W. Laenoi. 2016. Phenotype characterization of Thai native black-bone chickens indigenous to northern Thailand. Thai Journal of Veterinary Medicine. 46(4): 547-554.
Dana, N., L. H. van der Waaij, T. Dessie, and J. A. M. van Arendonk. 2010. Production objectives and trait preferences of village poultry producers of Ethiopia: implications for designing breeding schemes utilizing indigenous chicken genetic resources. Tropical Animal Health and Production. 42: 1519–1529.
Danbury, T. C., C. A. Weeks, A. E. W. Pearson, S. C. Kestin, and J. P. Chambers. 2000. Self-selection of the Analgesic drug carprofen by lame broiler chickens. The Veterinary record. 146: 307-311.
Gaunt, A. S., and L. L. Gaunt. 1977. Mechanics of the syrinx in Gallus gallus. II. Electromyographic studies of ad libitum vocalizations. Journal of Morphology. 152: 1-20.
Horn, A. G., M. L. Leonard, and D. M. Weary. 1995. Oxygen consumption during crowing by roosters: Talk is cheap. Animal Behaviour. 50: 1171-1175.
Islam, M. S., and R. K. Dutta. 2010. Morphometric analysis of indigenous, exotic, and crossbred chickens (Gallus domesticus L.) in Rajshahi, Bangladesh. Journal of Biosciences. 18: 94-98.
Kammongkun, J., and A. Leotaragul. 2015. Estimation of genetic parameters for economic traits in Thai native chicken (Pradu-Hangdum Chiangmai) for fourteen generations of selection. Khon Kaen Agriculture Journal. 43: 196-199.
Ogah, D. M. 2013. Variability in body shape characters in an indigenous guinea fowl (Numida maleagris l.). Slovak Journal of Animal Sciences. 46(3): 100-114.
Steel, R. G. D., and J. H. Torrie. 1980. Principles and procedures of statistics. A biometrical approach, 2nd Edition, McGraw-Hill Book Company, New York.