ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน การเจริญเติบโต และผลผลิตของมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ที่มีลักษณะการแตกกิ่งต่างกันที่ปลูกภายใต้การให้น้ำเสริม

Main Article Content

อนนท์ จันทร์เกตุ
พีรวัฒน์ พิพิธกุล
ธนารักษ์ แสงทอง
ภาษิตา ทุ่นศิริ
ปรเมศ บรรเทิง
รัตนจิรา รัตนประเสริฐ
นทีทิพย์ สวัสดิ์รักษา

บทคัดย่อ

การจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ต่างกันต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนของมันสำปะหลังพันธุ์ต่างกันภายใต้การให้น้ำชลประทานเต็มที่ โดยวางแผนการทดลองแบบ split-plot in randomized complete block design จำนวน 4 ซ้ำ กำหนดให้ main-plot เป็นอัตราปุ๋ยไนโตรเจน 3 ระดับ ได้แก่ 0, 15 และ 30 กิโลกรัม/ไร่ (N0, N1 และ N2 ตามลำดับ) และ sup-plot เป็นมันสำปะหลังที่มีลักษณะแตกกิ่งที่ต่างกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 9 (ไม่แตกกิ่ง) และสายพันธุ์ CMR38-125-77 (แตกกิ่ง) ทำการเก็บข้อมูลมวลชีวภาพที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน และข้อมูลผลผลิตหัว เปอร์เซ็นต์แป้ง ผลผลิตแป้ง ดัชนีเก็บเกี่ยวเมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 6 เดือน และคำนวณประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน (NUE) ดัชนีการตอบสนองของปุ๋ยไนโตรเจน และผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งพบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน N2 ทำให้มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 มีมวลชีวภาพ ผลผลิตหัวสด ผลผลิตหัวแห้ง ผลผลิตแป้งสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน N0 และ N1 ที่ให้ค่าที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในทางตรงกันข้ามพบว่ามันสำปะหลังสายพันธุ์ CMR38-125-77 ไม่มีการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในทุกอัตราของทุกลักษณะที่ตรวจวัด ทั้งนี้กลับพบว่าสายพันธุ์ CMR-38-125-77 มีศักยภาพการให้ผลผลิตหัว และผลผลิตแป้งที่ดีกว่าพันธุ์ระยอง 9 ในสภาพที่ไม่มีการใส่ปุ๋ย N0 และ N1 นอกจากนี้พบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราที่ต่างกันไม่ส่งผลต่อดัชนีเก็บเกี่ยว และจำนวนหัวของมันสำปะหลังทั้ง 2 สายพันธุ์ และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงขึ้น จะส่งผลให้เปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังลดลงในทั้ง 2 สายพันธุ์ การศึกษานี้พบว่า มีเพียงมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ที่ปลูกในสภาพที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจน N2 เท่านั้นที่มีการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่สูง (60%) และให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มคุ้มค่ากับการลงทุน (302%)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2547. คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และวิเคราะห์เพื่อตรวจจับรับรองมาตรฐานสินค้า. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2566. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง. สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กลุ่มส่งเสริมพืชเส้นใยและพืชหัว กรมส่งเสริมการเกษตร.

คมสันต์ พันธุพาน และปรเมศ บรรเทิง. 2559. การประเมินความเข้มของสีใบด้วย SCMR การเจริญเติบโตและผลิตของมันสำปะหลังที่ปลูกภายใต้การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนที่แตกต่างกัน. แก่นเกษตร. 44 (พิเศษ 1): 1086-1091.

ชยันต์ ภักดีไทย และวิยา ตรีโลเกศ. 2557. การตอบสนองของมันสำปะหลังต่อปุ๋ยไนโตรเจนและการให้น้ำชลประทานแบบหยดเพื่อการเก็บเกี่ยวอายุสั้น. แก่นเกษตร. 42 (พิเศษ 1): 192-197.

ชัยวัช โซวเจริญสุข. 2563. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-65: มันสำปะหลัง. วิจัยกรุงศรี.

ธยานี แน่นอน, ฐิติรัตน์ เพ็งสม และนิตยา ผกามาศ. 2560. อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์และผลผลิตของหญ้ากินนีมอมบาซา. แก่นเกษตร. 45 (พิเศษ 1): 1009-1015.

พิทยา สรวมศิริ. 2554. ธาตุอาหารในการผลิตพืชสวน. ภาควิชา พืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จังหวัดเชียงใหม่.

วัลลีย์ อมรพล, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ศรีสุดา ทิพยรักษ์, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข, ประพิศ วองเทียม และ สมพงษ์ ทองช่วย. 2560. การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมสำหรับมันสำปะหลังที่ปลูกในกลุ่มดินร่วนปนทราย: ชุดดินห้วยโป่ง. วารสารวิชาการเกษตร. 35(2): 151-163.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. 2565. การติดตามระบบพื้นที่เพาะปลูกผ่านภาพถ่ายดาวเทียม. แหล่งข้อมูล: https://www.ecoplant.gistda.or.th/. ค้นเมื่อ 4 กุมพาพันธ์ 2565.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. เนื้อที่เพาะปลูก จำนวนครัวเรือน และเนื้อที่เพาะปลูกเฉลี่ยต่อครัวเรื่อนระดับจังหวัด ปี 2564. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups /prcaidata/files/Casava%20Holdland%2063.pdf. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566.

อารันต์ พัฒโนทัย และธนรักษ์ เมฆขยาย. 2534. ข้อมูลผลการทดลองสู่คำแนะนำเกษตรกร. คู่มือการอบรมทางเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายเศรษฐศาสตร์ศูนย์วิจัยการปรับปรุงข้าวโพด และข้าวสาลีนานาชาติ. กรุงเทพมหานคร.

Adu-Gyamfi, R., C. Osei, and E. Anadumba. 2016. Yield and earliness in bulking of some introduced cassava genotypes under moist savanna. UDS International Journal of Development. 3(1): 20-28.

Alves, A. A. C. 2002. Cassava botany and physiology. p. 183-203. In: R. J. Hillocks, J. M. Thresh, and A. C. Bellotti (eds). Cassava: Biology, Production and Utilization. CABI Publishing, New York.

Black, C. A. 1965. Methods of Soil Analysis: Part I, Physical and Mineralogical Properties. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.

Chipeta, M. M., P. Shanahan, R. Melis, J. Sibiya, and I. R. Benesi. Early storage root bulking index and agronomic traits associated with early bulking in cassava. Field Crops Research. 198: 171-178.

Chua, M. F., L. Youbee, S. Oudthachit, P. Khanthavong, E. J. Veneklaas, and A. I. Malik. 2020. Potassium fertilization is required to sustain cassava yield and soil fertility. Agronomy. 10(8): 1103.

Drilon, Jr. J. D. 1980. Standard method of analysis for soil, plant, water and fertilizer. Los Banos, Laguna, Philippines.

FAO. 2018. Statistics databases: Production. Available: http://www.fao.org/faostat/en/#data/QC. Accessed Mar. 28, 2022.

Gomez, K. A., and A. A. Gomez. 1984. Statistical Procedures for Agricultural Research. New York: John Wiley & Sons.

Hoang, D. T., T. Hiroo, and K. Yoshinobu. 2019. Nitrogen use efficiency and drought tolerant ability of various sugarcane varieties under drought stress at early growth stage. Plant Production Science. 22(2): 250-261.

Janket, A., S. Jogloy, N. Vorasoot, B. Toomsan, W. Kaewpradit, P. Theerakulpisut, C. C. Holbrook, C. K. Kvien, and P. Banterng. 2020. Nutrient uptake and nutrient use efficiency of cassava genotypes with different starch bulking periods as affected by different planting dates. Journal of Plant Nutrition. 44: 580-599.

Johnson, G. V., and W. R. Raun. 2003. Nitrogen response index as a guide to fertilizer management. Journal of Plant Nutrition. 26(2): 249-262.

Kramer, P. J. 1944. Soil moisture in relation to plant growth. The Botanical Review. 10: 525-559.

Oliveira, N. T. D., S. C. P. Uchôa, J. M. A. Alves, J. D. A. A. D. Albuquerque, and G. S. Rodrigues. 2017. Effect of harvest time and nitrogen doses on cassava root yield and quality. Revista Brasileira de Ciência do Solo, 41.

Phoncharoen, P., P. Banterng, N. Vorasoot, S. Jogloy, P. Theerakulpisut, and G. Hoogenboom. 2019. Growth rates and yields of cassava at different planting dates in a tropical savanna climate. Scientia Agricola. 76(5): 376-388.

Phuntupan, K., and P. Banterng. 2017. Physiological determinants of storage root yield in three cassava genotypes under different nitrogen supply. Journal of Agriculture Science. 115: 978-992.

Santanoo, S., K. Vongcharoen, P. Banterng, N. Vorasoot, S. Jogloy, S. Roytrakul, and P. Theerakulpisut. 2019. Seasonal variation in diurnal photosynthesis and chlorophyll fluorescence of four genotypes of cassava (Manihot esculenta Crantz) under irrigation conditions in a tropical savanna climate. Agronomy. 9(4): 206.

Sawatraksa, N., P. Banterng, S. Jogloy, V. Vorasoot, and G. Hoogenboom. 2018. Chlorophyll fluorescence and biomass of four cassava genotypes grown under rain‐fed upper paddy field conditions in the tropics. Journal of Agronomy and Crop Science. 204(6): 554-565.

Sawatraksa, N., P. Banterng, S. Jogloy, V. Vorasoot, and G. Hoogenboom. 2019. Cassava growth analysis of production during the off‐season of paddy rice. Crop Science. 59(2): 760-771.

Sawatraksa, N., P. Banterng, S. Jogloy, V. Vorasoot, and G. Hoogenboom. 2023. Crop model determined mega-environments for cassava yield trials on paddy fields following rice. Heliyon. 9: e14201.

Statistix. 2013. version 10; Analytical Software: Tallahassee, FL, USA.