พฤติกรรมการซื้อกาแฟของผู้บริโภคผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในประเทศไทย

Main Article Content

จิรพร ทรัพย์วิบูลย์
ปริชาติ แสงคําเฉลียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อกาแฟผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้บริโภคออนไลน์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคออนไลน์อายุระหว่าง 18-45 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความสะดวก รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์จำนวน 330 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคที่เข้าร่วมตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 72.73 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 27-45 ปี (เจเนอเรชันวาย) คิดเป็นร้อยละ 70.30 และส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-15,000 บาท/เดือน พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันซื้อกาแฟผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้บริโภค ช่วงเวลาในการใช้แอปพลิเคชันซื้อกาแฟ 09.00-12.00 น. ความถี่ในการใช้แอปพลิเคชันซื้อกาแฟ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ และจำนวนเงินซื้อกาแฟในแต่ละครั้ง (ไม่รวมค่าจัดส่ง) 51-100 บาท โดยส่วนใหญ่ชำระเงินด้วยวิธีการโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้เหตุผลในการใช้แอปพลิเคชันซื้อกาแฟมากที่สุด คือ เพื่อความสะดวกสบายในการซื้อ อย่างไรก็ตามปัญหาและอุปสรรคในการใช้แอปพลิเคชันซื้อกาแฟ คือ ค่าจัดส่งค่อนข้างสูง จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย และเจเนอเรชันแซด พบว่า ช่วงอายุผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้แอปพลิเคชันซื้อกาแฟ และยังมีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินซื้อกาแฟ  ในแต่ละครั้ง (ไม่รวมค่าจัดส่ง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อกาแฟผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้บริโภคออนไลน์ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา
ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการขาย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. 2565. ส่วนประสมทางการลาดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจและนวัตกรรม มทร. พระนคร (JBI). 1(2): 81-89.

กัญสพัฒน์ นับถือตรง และสุจิตรา แสงจันดา. 2565. การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้า (7c’s) ที่ส่งต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชั่นฟู้ดแพนด้า ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการปัญญาปณิธาน. 7(1): 167-180.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. 2549. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. 2558. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. โรงพิมพ์สามลดา.

กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2566. พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟจากร้านคาเฟ่อเมซอนของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล. วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ. 2(1): 14-24.

จันติมา จันทร์เอียด. 2565. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสด ในเขตเทศบาลเมืองสงขลาจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9(1): 58-75.

จิรายุทธ์ ศรีช่วย, ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว และวราพรรณ อภิศุภะโชค. 2566. อิทธิพลของสื่อประชาสัมพันธ์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อความตั้งใจซื้อกาแฟอินทนิลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10(3): 81-94.

ฑิตาพร รุ่งสถาพร. 2563. พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพิษณุโลก. การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. 2565. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพบริการ ส่วนประสมทางการตลาดบริการกับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของลูกค้าชาวไทยที่ซื้อกาแฟพรีเมียมในพื้นที่กรุงเทพฯ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ. 129-138.

ธนกร แก้วมณี. 2564. พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา: กาแฟสด ยี่ห้ออเมซอน วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 7(1): 260-270.

ธนัทเมศร์ ตันติธนินพงศ์ และชิตพงษ์ อัยสานนท์. 2565. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในกาซื้อสินค้าทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. 8(2): 80-94.

นพพร บัวอินทร์. 2562. พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจนเนเรชันวาย ในจังหวัดระยอง. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(2): 103-113.

วิเชียร โสมวิภาต. 2563. การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสดร้านกาแฟ ALL CAFÉ ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(12): 160-177.

ศศิธร พรมมาลา. 2561. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สถาบันอาหาร. 2562. ธุรกิจร้านกาแฟในประเทศไทย [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://fic.nfi.or.th/upload/market_overview/Rep_Cafe_15.01.62.pdf. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 2566.

สุธาทิพย์ ทั่วจบ. 2562. พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 8(2): 195-205.

สุภารัตน์ กิติพันธ์ และวิชากร เฮงษฏีกุล. 2565. ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกเข้าร้านกาแฟของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม. Journal of Modern Learning Development. 7(2): 196-208.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. 2564. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

สำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2565. สินค้ากาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟ. แหล่งข้อมูล: https://www.dtn.go.th/th/content/page/index/id/2611. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566.

Hoyer, W.D., and D.J. Maclnnis. 2007. Comsumer behavior. 4th ed. Boston: Houghton Mifflin.

Schiffman, L.G., and L.L. Kanuk. 2004. Consumer behavior. 8th ed. Upper Saddle River, N.J: Prentice-Hall.

Solomon, M.R. 2002. Consumer behavior: Buying, having, and being. 5th ed. Upper Saddle River, N.J: Prentice-Hall.