พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการทำให้เกิดขยะอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ปทุมพร กองสมบัติ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำให้เกิดขยะอาหารและปัจจัยที่มีผลต่อการทำให้เกิดขยะอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 537 ราย สุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบไคสแควร์ ในการอธิบายและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพฤติกรรมการทำให้เกิดขยะอาหารจากการรับประทานอาหารเหลือ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่รับประทานอาหารเกือบหมดจาน โดยมีเศษอาหารเหลือไว้ในภาชนะบ้างเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 37.24 ของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาทั้งหมด รองลงมา คือ นักศึกษาที่รับประทานอาหารหมดจาน คิดเป็นร้อยละ 35.94 เมื่อพิจารณาลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา พบว่า นักศึกษาที่รับประทานอาหารเกือบหมดจานหรือมีอาหารเหลือ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป ศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กำลังศึกษาในปีที่ 1 หรือ ปี 4 และพักอาศัยภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านพฤติกรรมการบริโภคและการซื้ออาหารของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา พบว่า นักศึกษาที่รับประทานอาหารเกือบหมดจานหรือมีอาหารเหลือ ส่วนใหญ่มีตู้เย็นในที่พักอาศัย มีค่าใช้จ่ายสำหรับซื้ออาหารตั้งแต่ 200 บาทต่อวันขึ้นไป รับประทานอาหารร่วมกับเพื่อนหรือผู้ปกครอง รับประทานอาหารประเภทจานเดียวหรืออาหารสำรับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำให้เกิดขยะอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีเพียง 3 ปัจจัย เท่านั้น คือ เพศ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และบุคคลที่รับประทานอาหารด้วย มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นเพื่อให้เกิดการลดปริมาณขยะอาหารทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นควรมีการให้ความรู้หรือรณรงค์ให้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากขยะอาหาร และปรับพฤติกรรมการซื้ออาหารในปริมาณที่พอเหมาะโดยเฉพาะนักศึกษาหญิง นักศึกษาที่มีรายได้สูง และการรับประทานอาหารแบบกลุ่มใหญ่ที่มักจะซื้ออาหารในปริมาณมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2563. รายงานประจำปี 2563 กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย. แหล่งข้อมูล https://www.pcd.go.th/publication/14113. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564.

กองยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563. รายงานประจำปี 2563. แหล่งข้อมูล https://plan.kku.ac.th/pln2013/files/AnnualReport63.pdf. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.

จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์. 2538. ทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรม: การวัดทรัพยากร และการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สามดีการพิมพ์.

จักรพงษ์ ผิวสร้อย และโสภณ สาธุภาพ. 2551. แนวทางการรีไซเคิลขยะของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างมีประสิทธิผล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชิดชัย บุญพิทักษ์. 2557. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี. แหล่งข้อมูล http:// www.lopburi.mnre.go.th/download/article/article_20140922112304.pdf. ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2566.

เรืองฤทธิ์ กิตติวิทยาพงศ์. 2562. สมรรถนะการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบบูรณาการของประชาชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารออนไลน์วิจัยและพัฒนา วไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(1): 299.

วิภาณี อุชุปัจ. 2561. ความรู้พฤติกรรมในการจัดการขยะอาหารของประชาชน และคุณภาพการบริการในการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2538. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร. 2555. วิธีการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภค. แหล่งข้อมูล: https://www.foodnet worksolution.com/news_and_articles/article/. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564.

สลักจิต พุกจรูญ และพลกฤษณ์ คุ้มกล่ำ. 2553. ความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครต่อปัญหาการทิ้งขยะ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 4(1): 115-121.

อรวรรณ มุงวงษา และกุลวดี เข่งวา. 2563. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) จังหวัดเพชรบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 5(1): 1-16.

Aschemann-Witzel, J., J.H. Jensen, M.H. Jensen, and V. Kulikovskaja. 2017. Consumer behaviour towards price-reduced suboptimal foods in the supermarket and the relation to food waste in households. Appetite. 116(1): 246-258.

Bravi, L., F. Murmura, E. Savelli, and E. Viganò. 2019. Motivations and actions to prevent food waste among young Italian Consumers [Electronic version]. Sustainability. 11(4): 1110.

Breckler, S.W. 1986. Attitude Structure and Function. New York: L Eribaum Association.

Cantaragiu, R. 2019. The impact of gender on food waste at the consumer level. Studia Universitatis Vasile Goldiş, Arad-Seria Ştiinte Economice. 29(4): 41-57.

Derqui, B., and V. Fernandez. 2017. The opportunity of tracking food waste in school canteens: guidelines for self-assessment. Waste Management. 60(1): 431-444.

FAO. 2015. SAVE FOOD: Global Initiative on Food Loss and Waste Reduction. แหล่งข้อมูล http://www.fao.org/savefood/resources/keyfindings/en/. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2562.

Haider, A., A. Amber, S. Ammara, K.S. Mahrukh, and B. Awasha. 2015. Knowledge, perception and attitude of common people towards solid waste management-a case study of Lahore, Pakwastan. International Research Journal of Environment Sciences. 4(3): 100-107.

Koivupuro, H., H. Hartikainen, K. Silvennoinen, J. Katajajuuri, N. Heikintalo, A. Reinikainen, and L. Jalkanen. 2012. Influence of socio‐demographical, behavioural and attitudinal factors on the amount of avoidable food waste generated in Finnish households. International Journal of Consumer Studies. 36 (2): 183–191.

Krejcie, R.V., and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities [Electronic version]. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Mondéjar-Jiménez, J.A., G. Ferrari, L. Secondi, and L. Principato. 2016. From the table to waste: An exploratory study on behaviour towards food waste of Spanish and Italian youths. Journal of Cleaner Production. 138(1): 8-18.

Nikolaus, C. J., S.M. Nickols-Richardson, and B. Ellison. 2018. Wasted food: a qualitative study of US young adults' perceptions, beliefs and behaviors. Appetite. 130: 70-78.

Principato, L., L. Secondi, and C.A. Pratesi. 2015. Reducing food waste: an investigation on the behaviour of Italian youths. British Food Journal. 117(2): 731-748.

Stancu, V., and L. Lähteenmäki. 2022. Consumer-related antecedents of food provisioning behaviors that promote food waste. Food Policy. 12(776): 1-15.

Thyberg, K.L., and D.J. Tonjes. 2016. Drivers of food waste and their implications for sustainable policy development. Resources, Conservation and Recycling. 106(1): 110-123.

Udomporn, T. 2015. Resident’s knowledge, attitude and practice towards solid waste management in Joho sub-district adminwastrative organization, Mueang District, Nakhonratchasima, Thailand. International Journal of Technical Research and Applications. 24(Special Wassue): 13-16.

WRAP. 2014. “Household food and drink waste: a people focus”, Waste & Resources Action Programme Retrieved November 9, 2019, from www.wrap.org.uk/sites/files/wrap/People-focused%20report%20v6_5%20full.pdf.