ความต้องการของผู้เรียนและองค์ประกอบของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ภวัต เจียมจิณณวัตร
จิราพร ว่องไววิริยะ

บทคัดย่อ

การพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภาคการเกษตรในยุคดิจิทัลให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรในยุคดิจิทัล 2) วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนในการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรในยุคดิจิทัล 3) กำหนดองค์ประกอบของการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรในยุคดิจิทัล วิธีวิจัยเป็นแบบผสมวิธีทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีการศึกษาใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ลักษณะของการเป็นผู้ประกอบกรธุรกิจในยุคดิจิทัล เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร จำนวน 7 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ความต้องการของผู้เรียนในการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผู้เรียนทั้งผู้ที่กำลังศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 257 คน กำหนดขนาดตัวอย่างตามสูตร Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และความคลาดเคลื่อน 0.05 สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที (t-test) และ 3) องค์ประกอบของการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร โดยการสรุปกรอบแนวคิดและรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีเดลฟาย (Delphi) จำนวน 4 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์กรอบการดำเนินงาน (framework analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และความรู้และทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ 2) กลุ่มผู้เรียนส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 18-40 ปี เป็นผู้เรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 69.3 จบการศึกษาแล้ว ร้อยละ 30.7 ผู้เรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานประจำในหน่วยงานและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท โดยอาชีพหลักของครอบครัวเกี่ยวข้องกับการเกษตร ร้อยละ 51.4 เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการเป็นผู้ประกอบการ ร้อยละ 78.2 โดยความต้องการของผู้เรียนในการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความพร้อมด้านดิจิทัลและความต้องการในการพัฒนาบางประการมีความแตกต่างในระหว่างกลุ่มผู้เรียน โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีระดับการศึกษา ระดับรายได้ ความเกี่ยวข้องกับการเกษตร และประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน และ 3) องค์ประกอบของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรในยุคดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประกอบด้วย (1) ความรู้ความสามารถเชิงดิจิทัล ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาคนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (2) คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ ทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร บุคลิกภาพในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจการเกษตร และการมุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (3) ความรู้และทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ การวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจการเกษตร การสร้างคุณค่าในธุรกิจการเกษตร การจัดการประสิทธิภาพในธุรกิจการเกษตร และการจัดการคุณภาพในธุรกิจการเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ. 2562. แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอัจฉริยะ พ.ศ. 2563-2565. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ภวัต เจียมจิณณวัตร และจิราพร ว่องไววิริยะ. 2564. กรอบแนวคิดการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการเกษตรดิจิทัล. การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 59 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่มที่ 1. (น. 887-894). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราชกิจจานุเบกษา. 2561. ประกาศเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก วันที่ 13 ตุลาคม 2561.

สมทบ แก้วเชื้อ, บัณฑิต ผังนิรันดร์ และธนพล ก่อฐาน. 2562. ปัจจัยแห่งความสําเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 15: 33-34.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. 2561. เกษตรอัจฉริยะความหวังใหม่ของภาคการเกษตรไทย. แหล่งข้อมูล: http://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=7. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2564. การสำรวจการมีการใข้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2564 (ไตรมาส 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำราญ สาราบรรณ์. 2560. การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เพื่อเข้าสู่เกษตร 4.0. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อนุพงศ์ อวิรุทธา, ศุภลักษณ์ ไชยสิทธิ์, รังสีจันทร์ สุวรรณสทิศกร, มณฑล ทองพนัง, จำปี เพชรชุม, วรกัญญา สิริพิเดช, ชลธิดา รักยุทธ์ และวิรัตน์ ใจสา. 2560. ความพร้อมและความต้องการในการพัฒนาทักษะของเกษตรกรในการปรับตัวสู่นโยบายประเทศไทย 4.0. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมป์. 12(2): 313-320.

Ajzen, I. 1991. The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes. 50(2): 179-211.

Aslam, S. 2016. The constituents of an entrepreneurial personality and of entrepreneurial behavioral heuristics, and the link between them. Available: https://www.researchgate.net/publication/313337792_The_constituents_of_an_entrepreneurial_personality_and_of_entrepreneurial_behavioral_heuristics_and_the_link_between_them. Accessed Aug. 14, 2022.

Bacigalupo, M., P. Kampylis, Y. Punie, and G. Van den Brande. 2016. EntreComp: The Entrepreneurship Competence Framework. Luxembourg: Publication Office of the European Union; EUR 27939 EN; doi:10.2791/593884.

Baum, J. R. 1994. The relationship of traits, competencies, motivation, strategy and Structure to venture Growth. Doctoral Dissertation. University of Maryland. College Park.

Crant, J.M. 1996. The proactive personality scale as a predictor of entrepreneurial intentions. Journal of Small Business Management. 34(2): 42-49.

Dess, G. G., G. T. Lumpkin, and M. L. Taylor. 2005. Strategic Management: Creating Competitive Advantage (2nd ed). New York: McGraw-Hill.

Frank, H., L. Manfred, and K. Christian. 2007. The significance of personality in business startup intentions, startup realization and business success. Entrepreneurship & Regional Development. 19(3): 227-251.

Frese, M., and M. de Kruif. 2000. Success and Failure of Micro business Owners in Africa: A Psychological Approach. United States of America: Greenwood Publishing Group.

Gilmore, J. B. 1972. An investigation of selection of selected entrepreneurial activity.

Hamidreza, A., E. Taraneh, and Z. Farshideh. 2012. Entrepreneurial Personality Characteristics of University Students: A Case Study. Social and Behavioral Sciences. 46: 5736–5740.

Kahan, D. 2012. Entrepreneurship in Farming. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Kimberly de Silva. 2018. 9 Skills Every Successful Entrepreneur Needs. Available: https://www.entrepreneur.com/article/308994. Accessed Feb. 25, 2020.

Phan, P.H., C.L. Chong, C. Wang, and P.K. Wong. 1999. Antecedents to entrepreneurship: Belief, attitudes and background. Paper presented at Babson University of South Carolina Entrepreneurship Research Conference. Columbia, South Carolina.

Stewart, H., and L. Roth. 2001. Risk propensity differences between entrepreneurs and managers: a meta-analytic review. The Journal of Applied Psychology. 86(1): 145-53.

Trendov, N. M., S. Varas, and M. Zeng. 2019. Digital technologies in agriculture and rural areas – Status report. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Verhees, F., T. Lans, and J. Verstegen. 2012. The influence of market and entrepreneurial orientation on strategic marketing choices: the cases of Dutch farmers and horticultural growers. Journal on Chain and Network Science. 12(2): 167-180.

Walter, K. 2002. A test for the fainthearted. Harvard Business Review. 80(5): 122-127.

Wang, C., P. Wong, and Q. Lu. 2001. Tertiary education and entrepreneurial intentions. Technological entrepreneurship. Greenwich. Information Age Publishing.

World Economic Forum. 2016. Fostering Social and Emotional Learning through Technology. Available: http://www3.weforum.org/docs/WEF_New_Vision_for_Education. Accessed Aug. 2, 2019.

Wolfert, S., L. Ge, C. Verdouw, and M. Bogaardt. 2017. Big Data in Smart Farming – A review. Agricultural Systems.