การใช้เม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปร่วมกับซีโอไลท์เพื่อดูดซับของเสียไนโตรเจนในการขนส่งปลาสวยงาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองศึกษาการดูดซับของเสียไนโตรเจนของเม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปร่วมกับซีโอไลท์ที่ระดับความเข้มข้น 0%, 5%, 10%, 25% และ 50% โดยแต่ละการทดลองใช้เม็ดอัลจิเนต 2 กรัม/น้ำ 1 ลิตร ทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับแอมโมเนียมไนไตรท์ และไนเตรทในน้ำในห้องปฏิบัติการ ที่ระยะเวลา 1, 1.30 และ 2 ชั่วโมง ตามลำดับ พบว่าเม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปร่วมกับซีโอไลท์ 50% และ 25% มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซับแอมโมเนียรวม และไนไตรท์ แต่เม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปร่วมกับซีโอไลท์ 5% สามารถดูดซับไนเตรทดีที่สุด เมื่อทดสอบเม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปร่วมกับซีโอไลท์ที่ระดับความเข้มข้น 25% (ZE 25%) ในการขนส่งปลาสวยงาม พบว่ามีประสิทธิภาพในการลดไนเตรทมากที่สุด (63.07±7.63%) รองลงมาคือปริมาณแอมโมเนียในน้ำ (33.39±2.75) และไนไตรท์ (17.79±6.63%) ตามลำดับ และอัตรารอดของปลาสวยงามหลังการทดลองขนส่งด้วยเม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลสูงถึง 98.74±1.37 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่า เม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปร่วมกับซีโอไลท์สามารถใช้ในการดูดซับของเสียไนโตรเจนในระหว่างการขนส่งปลาสวยงามได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยาพร สงจันทร์. 2553. ผลของการใช้วัสดุดูดซับบางชนิดต่อการรอดตายและความเครียดในระหว่างการลำเลียงขนส่งปลาสวยงาม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีประมง สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
ชานนท์ แดงสีพล, นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ และคณิตา ตังคณานุรักษ์. 2560. การประยุกต์ใช้เซรามิกส์พรุนที่ประกอบด้วยซีโอไลต์ Y และสารประกอบคล้ายไฮโดรทัลไซต์เพื่อบำบัดมลสารในน้ำเสียชุมชน [บทความ] Application of porous zeolite Y and hydrotalcite-like compound ceramic for pollutants treatment in municipal wastewater [Article] - 2560 - วิศวกรรมสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 12, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560).
ศิริพร จึงสุทธิวงษ์ และชาญ อินทร์แต้ม. 2550. การศึกษาเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับสมบัติทางโครงสร้างและสมบัติทางพลังงานของซีโอไลต์ธรรมชาติที่ใช้เป็นตัวดูดซับในกระบวนการการบำบัดน้ำเสีย.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงบประมาณแผ่นดินประจำปีงบประมาณ 2550. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล, วันเพ็ญ มีนกาญจน์, นนทรี ปานพรหมมินทร์ และบุษกร บำรุงธรรม. 2544. การขนส่งปลาสวยงามไปตลาดต่างประเทศ. วารสารการประมง. 1: 41-46.
อัญรินทร์ พิธาภักดีสถิตย์. 2559. การดูดซับธาตุอาหารจากน้ำคลองด้วยซีโอไลต์ร่วมกับถ่านกัมมันต์: กรณีศึกษาคลองชวดหมัน จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Baniasadi, M., and M. J. Minary. 2015. Alginate-Collagen Fibril Composite Hydrogel. Materials. 8(2): 799-814.
Das, D., and S. Pal. 2015. Modified biopolymer-dextrin based crosslinked hydrogels: application in controlled drug delivery. RSC Advances. (5): 25014-25050.
Gao, Y., S.H. Baoa, L. Zhanga, and L. Zhangb. 2020. Nitrate removal by using chitosan/zeolite molecular sieves composite at low temperature: characterization, mechanism, and regeneration studies.
Gonçalves, V. L., C. M. Mauro, V. T. Laranjeira, R. C. Fávere, and Pedrosa. 2005. Effect of crosslinking agents on chitosan microspheres in controlled release of diclofenac sodium. Polímeros. 15: 6-12.
Huang, Y., M. Zeng, Z. Feng, D. Yin, Q. Xu, and L. Fan. 2016. Graphene oxide-based composite hydrogels with self-assembled macroporous structures. RSC Advances. 6: 3561-3570.
Jiao, T., H. Zhao, J. Zhou, Q. Zhang, X. Luo, J. Hu, Q. Peng, and X. Yan. 2015. Self-assembly reduced graphene oxide nanosheet hydrogel fabrication by anchorage of chitosan/silver and its potential efficient application toward dye degradation for wastewater treatments. ACS Sustainable Chemistry and Engineering. 3: 3130−3139.
Lian, C. L., P. Dhert, and P. Sorgeloos. 2003. Recent developments and improvements in ornamental fish packaging systems for air transport. Aquaculture Research. 34: 923-935.
Liu, L. S., J. Kost, F. Yan, and R. C. Spiro. 2012. Hydrogels from biopolymer hybrid for biomedical, food, and functional food applications. Polymers. 4: 997-1011.
Murkani, M., M. Nasrollahi, M. Ravanbaskhsh, P. Bahrami, N. Jaafarzadeh, and H. Fard. 2015. Evaluation of natural zeolite clinoptilolite efficiency for the removal of ammonium and nitrate from aquatic solution. Environmental Health Engineering and Management Journal. 2(1): 17-22.
Ni ã, I., M. Iorgulescu, M. F. Spiroiu, M. Ghiurea, C. Petcu, and O. Cinteza. 2007. The adsorption of heavy metal ions on porous calcium alginate microparticles. Analele Universitat din Bucuresti-Chimie, Anul XVI (serienouă). 1: 59–67.
Strickland, J. D. H., and T. R. Parsons. 1972. A Practical Hand Book of Seawater Analysis. Fisheries Research Board of Canada Bulletin 157, 2nd Edition.
Teramoto, N., A. Hayashi, K. Yamanaka, A. Sakiyama, A. Nakano, and M. Shibata. 2012. Preparation and mechanical properties of photo-crosslinked fish gelatin/imogolite nanofiber composite hydrogel. Materials. 5(12): 2573-2585.
Tina, C. C., J. E. Hill, C. V. Martinez, C. A. Watson, D. B. Pouder, and R.P.E. Yanong. 2005. On-farm transport of ornamental fish. Available: http://www.researchgate.net/publication/251325579. Accessed Aug. 14, 2018.
Van, S. V., P. Dubruel, and E. Schacht. 2011. Biopolymer-based hydrogels as scaffolds for tissue engineering applications: a review. Biomacromolecules. 12: 1387–1408.
Zheng, Y., and A. Wang. 2012. Ag nanoparticle-entrapped hydrogel as promising material for catalytic reduction of organic dyes. Journal of Materials Chemistry. 22: 16552-16559.