โมเดลการใช้สื่อดนตรีเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในประเทศไทย

Main Article Content

วสมน ยุติธรรมดำรง
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
จินดา ขลิบทอง
รุจ ศิริสัญลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสืบย้อนการใช้ดนตรีในภาคเกษตรในประเทศไทย 2) การใช้สื่อดนตรีในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร 3) การพัฒนาสื่อดนตรีและโมเดล 4) การประเมินสื่อดนตรีและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโมเดล ใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมวิธี มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นศึกษาสืบย้อนการใช้ดนตรีในภาคเกษตรในประเทศไทย ขั้นตอนที่ 2 ขั้นศึกษาการใช้สื่อดนตรีเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ขั้นตอนที่ 3 ขั้นพัฒนาสื่อดนตรีและโมเดลการใช้สื่อดนตรีเพื่อการส่งเสริม และพัฒนาการเกษตรในประเทศไทย ขั้นตอนที่ 4 ขั้นประเมินสื่อดนตรีและผลสัมฤทธิ์ของโมเดลการใช้สื่อดนตรีเพื่อการส่งเสริม และพัฒนาการเกษตรในประเทศไทย ผลการศึกษา 1) การสืบย้อนการใช้ดนตรีในภาคเกษตรมีองค์ประกอบทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ (1) วิถีชีวิต สังคม ความเป็นอยู่ (2) วัฒนธรรมและประเพณี (3) ความเชื่อและศาสนา (4) ลักษณะภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมสภาพอากาศ (5) ประเภทของดนตรี (6) องค์ประกอบของดนตรี (7) เครื่องดนตรี (8) เป้าหมายการใช้ดนตรี ซึ่งปรากฎการณ์ที่ส่งผลต่อองค์ประกอบนี้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ เทคโนโลยีและการสื่อสาร 2) นักส่งเสริมการเกษตรมีการใช้สื่อดนตรีในระดับปานกลางและมีความต้องการสื่อดนตรีในระดับมาก ลักษณะดนตรีที่เหมาะสมในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ได้แก่
แนวเพลงลูกทุ่งที่มีจังหวะปานกลาง ให้ความสนุกสนาน มีความยาว 1-3 นาที เน้นคำสำคัญ เนื้อหาฟังง่าย จำง่าย เพื่อประกอบกิจกรรมฟังเพลงและเผยแพร่ทาง Facebook, YouTube, TikTok, Instagram, twitter 3) การพัฒนาสื่อดนตรีขึ้นใหม่โดยชื่อว่า “เกษตรเข้มแข็ง” เพื่อเป็นต้นแบบในกระบวนการพัฒนาสื่อดนตรีและพัฒนาโมเดลการใช้สื่อดนตรีเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในประเทศไทยโดยมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ (1) องค์ประกอบการใช้ดนตรีในภาคเกษตร (2) กระบวนการพัฒนาสื่อดนตรีในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร (3) การใช้สื่อดนตรีโดยนักส่งเสริมการเกษตร (4) เกษตรกร 4) ผลการประเมินสื่อดนตรีมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในด้านประเภทของดนตรี จังหวะของดนตรี อารมณ์ของดนตรี ความยาวของดนตรี องค์ประกอบของดนตรี ลักษณะเนื้อหาของสื่อดนตรี และโมเดลการใช้สื่อดนตรีเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในประเทศไทยอยู่ในระดับมากที่สุดในด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ ด้านความสอดคล้องกับบริบท และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง. อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตร. 20 มกราคม 2564. สัมภาษณ์.

ชิตพงษ์ ตรีมาศ. 2561. การแต่งเพลงละครโทรทัศน์. วารสารครุศาสตร์. 46(4): 100-107.

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. 2527. การส่งเสริมการเกษตร: หลักการและวิธีการ. ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์. 2560. แนวคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนา. ใน ประมวลสาระชุดวิชา การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา (หน่วยที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ประภาพร แจ่มใส. 2553. ชื่อนี้มีที่มา เล่ม 1 ชุดประเพณีไทย. สำนักพิมพ์เพื่อนเรียน, กรุงเทพฯ.

พรชุลีย์ นิลวิเศษ. 2554. สื่อเพื่อการเผยแพร่สารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรสำหรับรายบุคคลและกลุ่ม (หน่วยที่ 9) ใน: เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศและสื่อที่ใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

พรชุลีย์ นิลวิเศษ. 2554. สื่อที่ใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร. ใน: เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศและสื่อที่ใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร (หน่วยที่8). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

รณชัย รัตนเศรษฐ. 2556. วัฒนธรรมดนตรีและการแสดง. โครงการผลิตผลงานวิชาการประเภทหนังสือ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ศรัณย์ นักรบ. 2557. ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สงกรานต์ สมจันทร์. 2563. มานุษยวิทยาดนตรีล้านนา: Ethnomusicology of Lanna Music. บริษัท ส. อินโฟกราฟฟิค จำกัด, เชียงใหม่.

สิชฌน์เศก ย่านเดิม. 2558. แนวคิดทฤษฎีการสอนดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทนทรวิโรฒ. 19: 21-31.

สำเริง คำโมง. 2552. รู้รอบจักรวาลดนตรี. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

Abromeit, D.H., and C. Colwell. 2010. Effective Clinical Practice in Music Therapy: Medical Music Therapy for Adults in Hospital Settings. American Music Therapy Association, U.S.A.

Anindita, R.C., and G. Anshu. 2015. Effect of music on plants – An overview. International Journal of Integrative Sciences, Innovation and Technology (IJIIT). 4(6): 30–34.

Canadian International Development Agency. 2001. Results based management in CIDA: An introductory guide to concept and principles. Available: http://www.acdi-cida.gc.ca/cida_ind.nsf,2001. Accessed Apr. 17, 2023.

Darrow, A.A. 2008. Introduction to approaches in music therapy. American Music Therapy Association, Silver Spring, MD.

Davis, W.B., K.E. Gfeller, and M.H. Thaut. 2008. Am introduction to music therapy: Theory and practice (3rd Ed.). American Music Therapy Association, Maryland, USA.

Heinich, R. 1996. Instructional Media and Technologies for Learning. Prentice Hall, Inc, New Jersey.

Hood, M. 1971. The Ethnomusicologist. Mcgraw-Hill, New York.

Jiafang, L., L. Xiang, L. Honggui, L. Jianhong, H. Qian, W. Chao, Z. Xiangyin, L. Yutao, J. Wenbo, and Z. Runxiang. 2021. Effects of music stimulus on behavior response, cortisol level, and horizontal immunity of growing pigs. Journal of Animal Science. 99.

Juslin, P.N., and J.A. Sloboda. 2001. Music and emotion: Theory and research. Oxford University Press, New York.

Pavlicevic, M., and G. Ansdell. 2004. Community Music Therapy. Jessica Kingsley Publishers, London.