ระบบการผลิต การตลาด และเอกลักษณ์ของผ้าไหมสาวบ้านแต้ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

พัชรินทร์ โกยทรัพย์มา
กัญลยา มิขะมา
ยศ บริสุทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการผลิต การตลาด และเอกลักษณ์ของผ้าไหมสาวบ้านแต้ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2563 การศึกษานี้ใช้ประเด็นหัวข้อย่อยเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลขณะที่รวบรวมข้อมูล จำแนกประเภท เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ สร้างข้อสรุปและวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ ตามลำดับ การศึกษาระยะที่ 1 ได้ศึกษาบริบทของพื้นที่โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้รู้ 18 ราย พบว่า บ้านแต้ เป็นหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอเกษตรสมบูรณ์ มีการผลิตผ้าไหมมากว่า 200 ปี โดยผ้าไหมสาวบ้านแต้ถือได้ว่าเป็นผ้าไหมประจำอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ระยะที่ 2 ได้ศึกษาระบบการผลิตและการตลาดจากผู้รู้ 31 ราย พบว่า (ก) รังไหม มีการผลิตรังไหมสีขาว เป็นการผลิตในรูปแบบเกษตรพันธสัญญาและจำหน่ายให้กับเอกชนทั้งหมด และรังไหมสีเหลืองที่เป็นผลผลิตจากการเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมและไหมพันธุ์พื้นบ้าน ซึ่งคนในพื้นที่นิยมนำรังไหมผลิตได้นำไปทำเป็นเส้นไหม (ข) เส้นไหมที่ผลิตในพื้นที่มีเฉพาะเส้นไหมจากรังไหมสีเหลืองและในพื้นที่นิยมนำมาผลิตเป็นผ้าไหมร้อยละ 31 เท่านั้น ส่วนอีกร้อยละ 69 จำหน่ายออกนอกพื้นที่ (ค) ผ้าไหม ผลิตตามคำสั่งซื้อ ร้อยละ 60 และ ผลิตเพื่อรอจำหน่าย ร้อยละ 40  และระยะที่ 3 จัดเวทีวิเคราะห์เอกลักษณ์ของผ้าไหมสาวบ้านแต้ โดยมีผู้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ช่วงที่ 1 จำนวน 12 ราย เพื่อจำแนกกลุ่มผู้ผลิตไหม และระยะที่ 2 จำนวน 31 ราย พบว่า มี 3 เอกลักษณ์ร่วมซึ่งถือเป็นจุดเด่นของผ้าไหมสาวบ้านแต้ ได้แก่ (ก) การใช้เส้นไหมในพื้นที่มีขี้ไหมแทรกพองาม (ข) การใช้สีดำแท้แหล่ถึง (การใช้สีโทนเข้ม) และ (ค) การทอเป็นผืนแบบสองเขาขานกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กัญญารินทร์ ไชยจันทร. 2565. .ภูมิปัญญาของปราชญ์ท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 17(2): 88-100.

จิรภา มะอะอุ. 2550. การวิเคราะห์ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่ทำจากไหมของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ดวงกมล บูรณสมภพ. 2557. ความต้องการสำหรับผ้าไหมไทยในตลาดต่างประเทศมากขึ้น. แหล่งข้อมูล: http://www.th.aectourismthai.com/content1/2432. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562.

ธัญญลักษณ์ รุ้งแสงจันทร์. 2566. อ านาจอ่อนกับการพัฒนาสังคมไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 31(1): 89-117.

ปิยวรรณ ปิ่นแก้ว, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง และพงสนอง วงค์สิงห์ทอง. 2560. การศึกษาเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 1(37): 223-244.

พนารัตน์ เดชกุลทอง. 2560. แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ผ้าไหมบ้านนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, ชัยภูมิ.

ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ. 2553. ต่างชาติชอบผ้าไหมทอมือไทย ยอดจำหน่ายพุ่งทะลุ 4,000 ล้านบาท. แหล่งข้อมูล: https://www.thairath.co.th/content/85421. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562.

ภูริณัฐ แก้วสิยา. 2566. ประเภท Soft Power (5F) ที่ใช้สื่อสารส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. 2(2): 54-82.

ยศ บริสุทธิ์. 2558. การศึกษาชุมชน: แนวคิดฐานการวิจัยและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วลี มโนมัธย์. 2554. เอกลักษณ์ของไหมไทย. แหล่งข้อมูล: https://www. thaikasetsart.com/. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562.

วัลย์จรรยา วิระกุล, อุมาวรรณ วาทกิจ, และ จีรนันท์ เขิมขันธ์. 2561. แนวทางการเพิ่มมูลค่าผ้าไหมมัดหมี่ที่มีประสิทธิผล เพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้าของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12: 532-547.

ศิริพร บุญชู, และนันทวรรณ รักพงษ์. 2555. ภูมิปัญญาการผลิตเส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน. แหล่งข้อมูล: https://www.qsds.go.th/wp-content/uploads/2017/pdf/2013-07-25-Handbook_of_indigenous_Thai_Silk_Yarn.pdf. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562.

ศิริพร บุญชู. 2550. ไหมไทยและความคุ้มครองด้านสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. สำนักพิมพ์ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ, กรุงเทพฯ.

ศูนย์ส่งเสริมผ้าไหมบ้านเขว้า. 2557. ประวัติศูนย์ส่งเสริมผ้าไหมบ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ. แหล่งข้อมูล: https://www.db.sac.or.th/museum/museum-detail/1352. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564.

ศูนย์หม่อนไหม เฉลิมพระเกียรติฯ ชัยภูมิ. 2562. ความรู้เกี่ยวกับไหม. แหล่งข้อมูล: https://qsds.go.th/newosrd/พันธ์ไหม/. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564.

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย. 2565. สรุปรายงานการส่งออกผลิตภัณฑ์ศิลปะหัตกรรมไทย ช่วงเดือนเมษายน 2565. แหล่งข้อมูล: https://www.sacit.or.th/th/detail/2022-05-31-08-44-10. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566.

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. 2566. กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมดัน “ผ้าไหมไทยร่วมสมัย” ไปตลาดโลก เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่-วัยทำงาน พร้อมดึงอัตลักษณ์และดีไซน์ เพิ่มมูลค่าสินค้าไทย. แหล่งข้อมูล: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230602170145602. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกษตรสมบูรณ์. 2559. ข้อมูล จปฐ. แหล่งข้อมูล: https://district.cdd.go.th/kaset/service/community-learning-center/. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564.

Kirarat, B. 1979. Philosophy of Art. Thai Wattanapanit Printing House. Bangkok.

Luksanawat, P. 2008. Aesthetics. Ramkhamhaeng University. Bangkok.

Wilawan, W. 1990. Mud me Thai…Rural fiber. Bangkok Printing House. Bangkok.

Wimolpan, P. 1980. Pha E- san. Pikkhanat Printing House. Bangkok.