การประเมินความรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เพื่อพัฒนาสู่การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย

Main Article Content

ปรียาภรณ์ ขันทบัว
ณฐิตากานต์ พยัคฆา
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล
ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินความรู้เกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยและความรู้เกี่ยวกับการผลิตกาแฟพันธุ์อะราบิกาของเกษตรกร (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรต่อความเป็นไปได้ในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และ(3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ในพื้นที่บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ในพื้นที่บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน จำนวน 96 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65.5 มีอายุเฉลี่ย 40.10 ปี มีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟเฉลี่ย 5.76 ปี ประสบการณ์ในการศึกษาดูงานและอบรมด้านการเกษตรในปี พ.ศ. 2565 เฉลี่ย 1.99 ครั้ง จำนวนแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 3.61 คน/ครัวเรือน ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ ผ่านการประชุมหรืออบรมในปี พ.ศ. 2565 เฉลี่ย 1.61 ครั้ง ทั้งนี้ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกษตร เฉลี่ย 3.68 ครั้ง/ปี เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 6.41) มีความรู้วิธีการผลิตกาแฟตามหลักของกรมวิชาการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 12.20) และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยสินค้ากาแฟในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 1.32) ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นไปได้ในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พบว่า ประสบการณ์ในการปลูกกาแฟ (P < 0.05) การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ (P < 0.05) และระดับความรู้การผลิตกาแฟพันธุ์อะราบิกา (P < 0.01) มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ของสินค้ากาแฟมณีพฤกษ์น่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2566. ‘กรมเจรจาฯ’ ชี้เป้าส่งออกกาแฟไทยสดใส ดันใช้ FTA เจาะตลาดคู่ค้า แนะผลิตสินค้า

พรีเมี่ยม – ใส่ใจสิ่งแวดล้อม. แหล่งข้อมูล: https://shorturl.asia/EvDh9 ค้นเมื่อhttps://shorturl.asia/T1OH2. ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566.

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2559. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. แหล่งข้อมูล: https://www.ipthailand.go.th/th/gi-001.html. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2566.

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2562. สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI Thailand). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์, นนทบุรี.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. 2540. การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เรื่องการรวมกลุ่มและการมีส่วนร่วม. แหล่งข้อมูล: https://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_7483165648.pdf. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2566.

จิรณรงค์ วงษ์สุนทร. 2562. The Hidden Gem นักพัฒนากาแฟหนุ่มอเมริกันผู้เรียนคั่วกาแฟจากโบสถ์ในสหรัฐฯ และมาปลูกกาแฟเพื่อพระเจ้าบนดอยสูงของจังหวัดน่าน. แหล่งข้อมูล: https://readthecloud.co/coffee-kaleb-jordan/. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566.

ประชาชาติธุรกิจ. 2562. น่านบูมกาแฟ 2 หมื่นไร่ สร้างแบรนด์-เจาะนิชมาร์เก็ต. แหล่งข้อมูลhttps://today.line.me/th/v2/article/Qjpmr0. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566.

พรรณทิวา กว้างเงิน และบุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล. 2560. ความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติของเกษตรกรในการผลิตข้าวหอมมะลิ ที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่เหมาะสม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารแก่นเกษตร. 45: 580-587.

วรรณภา เดชครุฑ และดรุณี นาพรหม. 2560. การเปรียบเทียบคุณภาพและองค์ประกอบทางชีวเคมีของเมล็ดกาแฟอะราบิกาอินทรีย์ที่ปลูกในระดับความสูงพื้นที่ที่แตกต่างกัน.: ม.ป.ท.

วิจิตรา บุรุษภักดี. 2561. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกเสาวรสหวานตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมในพื้นที่โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. 2562. คู่มือการจัดการ การผลิตกาแฟอะราบิกา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : การันตี GUARANTEE.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2566. ยุทธศาสตร์ชาติฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: กรุงเทพฯ. 68 หน้า. แหล่งข้อมูล: http://nscr.nesdc.go.th/ns/. ค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2566.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. 2565. วธ.ขับเคลื่อนงาน Soft Power กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยสินค้าวัฒนธรรม อาหาร ผ้าไทย และภาพยนตร์ สร้างภาพลักษณ์ประเทศที่ร่ำรวยวัฒนธรรม และทรงอิทธิพลของโลก. แหล่งข้อมูล: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59131. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2566.

สำนักเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. จ.น่าน บูม ‘กาแฟ’ สร้างอัตลักษณ์สินค้า เน้นเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพสู่มาตรฐานสากล. แหล่งข้อมูล: https://shorturl.asia/T1OH2. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2565.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2540. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สามลดา.

สุอาภา สกูลนิวัติ. 2562. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดเพื่อการปลูกข้าวของสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนในจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

Bloom, B. 1971. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston.