การพัฒนาโรงเรือนควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มผลผลิตผักอินทรีย์

Main Article Content

จิตรา จันโสด
วานิด รอดเนียม
วันเพ็ญ บัวคง
ศักดิ์อนันต์ แซ่ลิ่ม

บทคัดย่อ

การศึกษาโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตผักอินทรีย์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สถานที่ทดลองวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งยาวพัฒนา ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง การทดลองออกแบบโรงเรือนปลูกผักอินทรีย์หลังคาโค้งทรงสูงขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 9 เมตร สูง 3.7 เมตร ใช้พลาสติกใสติดตั้งหลังคาและใช้มุ้งตาข่ายความละเอียด 32 ตาต่อตารางนิ้ว ติดตั้งรอบโรงเรือน และใช้ระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งควบคุมการให้น้ำโดยใช้มินิสปริงเกอร์ให้น้ำเหนือทรงพุ่มผักความชื้นในโรงเรือน ใช้วิธีพ่นละอองน้ำผ่านหัวพ่นที่ติดตั้งเหนือกระบะปลูกผัก เปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักอินทรีย์ที่ปลูกในโรงเรือนหลังคาต่ำ ไม่มีระบบให้น้ำและควบคุมความชื้นในอากาศ ผลการศึกษา พบว่า เมื่อครบอายุหลังเก็บเกี่ยวผักอินทรีย์ 3 ชนิด (ผักสลัดกรีนโอ๊ค ผักคะน้าเห็ดหอม และผักกาดขาว) ที่ปลูกภายใต้โรงเรือนควบคุมสภาพแวดล้อม มีความสูงต้นเฉลี่ยเท่ากับ 20.18 38.02 และ 35.18 ซม. ตามลำดับ ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ยเท่ากับ 30.31 39.54 และ 40.10 ซม. ตามลำดับ จำนวนใบเฉลี่ยเท่ากับ 18.09 7.06 และ 14.69 ใบ ตามลำดับ  และน้ำหนักสดต่อต้นเฉลี่ยเท่ากับ 121.08 128.51 และ 198.07 กรัม ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่าการปลูกในโรงเรือนแบบดั้งเดิมที่ไม่มีระบบควบคุมสภาพแวดล้อม และพบว่าน้ำหนักสดต่อต้นเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การติดตามข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและในดิน รวมทั้งการปรับตั้งค่าไร้สายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญช่วยลดระยะเวลาการทำงานให้แก่เกษตรกร รวมทั้งการใช้ระบบพ่นละอองน้ำและการให้น้ำแก่ผักในโรงเรือนเหนือทรงพุ่มในเวลากลางวันเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักอินทรีย์ทั้งสามชนิด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จิตรา จันโสด, วานิด รอดเนียม, เปลื้อง สุวรรณมณี, วิรัตน์ ช่วยชุมชาติ และศักดิ์ เพชรสุข. 2560. ผลของระยะปลูกและคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวไรซ์เบอร์รี่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 103-108.

จิรศักดิ์ น้อยสะปุ๋ง และอาภิรักษ์ หกพันนา. 2562. โรงเรือนความร้อนต่ำเพื่อการเกษตรอินทรีย์. น. 669-677. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33, 2-5 กรกฏาคม 2562. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสรคาม, อุบลราชธานี.

เฉลิมชาติ เสาวรัจ, กระวี ตรีอำนรรค และเทวรัตน์ ตรีอำนรรค. 2560. การวิเคราะห์เชิงตัวเลขของระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนเพาะปลูกแบบพ่นหมอก. การประชุมวิชาการวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติระดับชาติ ครั้งที่ 4 24-25 พฤศจิกายน 2560. โรงแรมวีวิช อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. 151-157.

ธนากร น้ำหอมจันทร์ และอติกร เสรีพัฒนานนท์. 2557. ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดินแบบทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำแบบอัตโนมัติ โดยใช้ระบบควบคุมเชิงตรรกะแบบโปรแกรมได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 8(1) 99-111.

บริษัท ฟอร์ฟาร์ม จำกัด. 2562. กรีนโอ๊ค (Green Oak Lettuce). แหล่งข้อมูล: https://forfarm.co/green-oak-lettuce/. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566.

ปิยวัตร มากศรี, วรพงศ์ อินทร์พรหม, ศักดิ์โสภณ บุญเกื้อ, พีรพงศ์ หนูช่วย, นรานันท์ ขามณี, ณัฐปภัสร์ บุญดา และชิโนรส ละอองวรรณ. 2564. เทคโนโลยีการควบคุมระบบอัตโนมัติสำหรับการปลูกพืช. น. 175-182. ใน การประชุมวิชาการเสนอ ผลงานวิจัยระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4 22 พฤษภาคม 2564. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพฯ.

พรรณวิภา อรุณจิตต์, นาวี โกรธกล้า และปิจิราวุธ เวียงจันดา. 2558. โรงเรือนปลูกพืชควบคุมและมอนิเตอร์อัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย. ใน การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2558 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8. 17-19 มีนาคม 2558. สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

วันเพ็ญ บัวคง, วานิด รอดเนียม, จิตรา จันโสด, เปลื้อง สุวรรณมณี, ศิลป์ชัย สุวรรณมณี และสมมิตร ปานเพชร. 2562. การพัฒนากลุ่มปลูกผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. น. 78-82. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “สานพลังการก้าวข้ามขีดจำกัด เพื่อภาคใต้แห่งความสุข”สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 4th PSU HSMI Conference. 5-7 สิงหาคม 2562. สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สุราษฎร์ธานี.

เอกรัฐ ชะอุ่มเอียด และเดือนแรม แพ่งเกี่ยว. 2562. การควบคุมความชื้นในดินสำหรับโรงเรือนเมล่อน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 11(2): 269-278.

Abdel-Ghany, A. M., and T. Kozai. 2006. Cooling efficiency of fogging systems for greenhouses. Biosystems Engineering. 94(1): 97–109.

Agrawal, N., and R. Katna. 2019. Applications of Computing, Automation and Wireless Systems in Electrical Engineering; Springer: Singapore; Volume 553.

Amani, M., S.M.M. Foroushani, M. Sultan, and M. Bahrami. 2020. Comprehensive review on dehumidification strategies for agricultural greenhouse applications. Applied Thermal Engineering. 181.

Arbel, A., M. Barak, and A. Shklyar. 2003. Combination of forced ventilation and fogging systems for cooling Greenhouses. Biosystems Engineering. 84(1): 45-55.

Bailey, B. 2006. Natural and mechanical greenhouse climate control. Acta Horticulturae. 710: 43-54.

Campen, J. 2005. Greenhouse design applying CFD for Indonesian condition. Acta Horticulturae. 691: 419-424.

Ghani, S., F. Bakochristou, E.M.A.E. ElBialy, S.M.A. Gamaledin, M.M. Rashwan, A.M. Abdelhalim, and S.M. Ismail. 2019. Design challenges of agricultural greenhouses in hot and arid environments - A review. Engineering in Agriculture, Environment and Food. 12: 48-70.

Impron, I., S. Hemming, and G.P.A. Bot. 2008. Effect of cover properties ventilation rate and crop leaf area on tropical greenhouse climate. Biosystems Engineering. 99: 553-564.

Jones, J.B. 2005 Hydroponics: A practical guide for the soilless grower, 2nd ed.; CRC Press: Boca Raton, FL, USA,; pp. 76–83.

Katsoulas, N., T. Bartzanas, T. Boulard, B. Mermier, and C. Kittas. 2006. Effect of vent openings and insect screens on greenhouse ventilation. Biosystems Engineering. 93(4): 427-436.

Kumsong, N., O. Thepsilvisut, P. Imorachorn, P. Chutimanukul, N. Pimpha, T. Toojinda, O. Trithaveesak, E. Ratanaudomphisut, A. Poyai, C. Hruanun, S. Yanuwong, W. Pakhamin, C. Kayoontammarong, M. Janpeng, and H. Ehara. 2023. Comparison of different temperature control systems in Tropical-Adapted Greenhouses for green romaine lettuce production. Horticulturae. 9: 1255.

Madushanki, A.A.R., M.N. Halgamuge, W.A.H.S. Wirasagoda, and A. Syed. 2019. Adoption of the Internet of Things (IoT) in agriculture and smart farming towards urban greening: A review. International Journal of Advanced Computer Science and Applications. 10: 11-28.

Popovic, T., N. Latinovic, A. Pesic, Z. Zecevic, B. Krstajic, and S. Djukanovic. 2017. Architecting an IoT-enabled platform for precision agriculture and ecological monitoring: A case study. Computers and Electronics in Agriculture. 140: 255–265.

Shamshiri, R.R., F. Kalantari, K.C. Ting, K.R. Thorp, I.A. Hameed, C. Weltzien, D. Ahmad, and Z.Z.M. Shad. 2018. Advances in greenhouse automation and controlled environment agriculture: A transition to plant factories and urban agriculture. International Journal of Agricultural and Biological Engineering. 11(1): 22.

Sharif, I. M., C.H. Mohammud, and S. Abd Kahar. 2006. SMART environmental control system for the production of strawberry in lowland tropics. Acta Horticulturae. 710: 457-464.

Ullah, I., M. Fayaz, M. Aman, and D.H. Kim. 2021. An optimization scheme for IoT based smart greenhouse climate control with efficient energy consumption. Computing. 104: 433-457.