การเปรียบเทียบผลผลิตและเสถียรภาพผลผลผลิตระหว่างสถานีของข้าวบาร์เลย์สายพันธุ์ดีเด่น

Main Article Content

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย
จารุวี อันเซตา
ผกากานต์ ทองสมบุญ
ภัทรธีรา อินพลับ
อัญชลี ตาคำ
อาทิตยา ยอดใจ
สุภาวิณี โลกคำลือ
นงนุช ประดิษฐ์
สุทธกานต์ ใจกาวิล
พิชญ์นันท์ กังแฮ
เนตรนภา อินสลุด
พีรพันธ์ ทองเปลว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ให้ได้ผลผลิตสูงและมีเสถียรภาพ โดยดำเนินการเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ในฤดูปลูกปี 2565/2566 จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1) SMG : ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ 2) DLM : แปลงทดลองและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ดงหลักหมื่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 3) MHS : ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน และ 4) BKL : โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน พบว่า การปลูกข้าวบาร์เลย์ในพื้นที่ SMG และ DLM มีผลทำให้สายพันธุ์ FNBL8306 ส่งผลมีการเจริญเติบโต และองค์ประกอบผลผลิตสูงที่สุด ส่วนพื้นที่ MHS และ BKL การปลูกด้วยสายพันธุ์ FNBL#140 ส่งผลมีการเจริญเติบโต และองค์ประกอบผลผลิตสูงที่สุด อย่างไรก็ตามข้าวบาร์เลย์ FNBL#140 เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยจาก 4 พื้นที่สูงสุด เท่ากับ 285 กิโลกรัมต่อไร่ และ FNBL8306 เป็นสายพันธุ์ที่มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 233 กิโลกรัมต่อไร่ จึงมีความเหมาะสมที่แนะนำให้ปลูกในสภาพแวดล้อมทั่วไปที่ใกล้เคียงกับการศึกษานี้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เกษมสันต์ สุริยะวรรณ. 2542. พันธุกรรมความต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าวบาร์เลย์. วิทยานิพนธ์ สาขาพืชไร่ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์.

ขรรค์ชัย วงศ์บุรี, สุธีรา มูลศรี, ทัด ปินตาเสน, สุพรรณ สิทธิวงศ์, นิทัศน์ สิทธิวงศ์, ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์, สนอง พิมพ์น้อย, ประไพพรรณ โค้วอินทร์, สาธิต รัชตเสรีกุล, เอกสิทธิ์ สกุลคู, สุชาวดี นาคะทัต, ณรงค์ อนยะวงศ์, สุชาดา อยู่ประเสริฐ, สุทัศน์ จุลศรีไกวัล, อาคม กาญจนประโชต, ธีรยุทธ ตู้จินดา, สุพัฒน์ บุญแรง, สมหวัง อนุสนธิ์พรเพิ่ม และงามชื่น รัตนดิรก. 2538. การศึกษาพันธุ์และการเปรียบเทียบผลผลิตธัญพืชเมืองหนาวชุดประเทศไทย. หน้า 178-223. ใน: การประชุมวิชาการธัญพืชเมืองหนาวแห่งชาติ ครั้งที่ 16. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง และโรงแรมลำปางเวียงทอง จ.ลำปาง.

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย. 2566. การประเมินศักยภาพเชิงพื้นที่และอิทธิพลของวันปลูกต่อการผลิตข้าวสาลีสายพันธุ์ดีเด่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาพืชไร่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย, สุรพล ใจวงศ์ษา และเนตรนภา อินสลุด. 2566. ผลของวันปลูกต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของธัญพืชเมืองหนาวสายพันธุ์ดีเด่น. วารสารแก่นเกษตร. 51(3): 452-468.

ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง. 2559. ข้าวสาลี (Wheat). กรุงเทพฯ: เอกสารวิชาการกองวิจัยและพัฒนาข้าวกรมการข้าว.

Briggs, D. E. 1978. Barley. British School of Malting and Brewing, Department of Biochemistry, The University of Birmingham, England.

Knoema. 2023. Thailand - Barley imports. Available: https://knoema.com/atlas/Thailand/topics/Agriculture/Trade-Import-Value/Barley-imports. Accessed Jul.4, 2023.

Nestlé. 2023. Know malt ... more useful than you think. Available: https://www.nestle.co.th/th/nhw/3e/eat/malt-benefit. Accessed Jul.4, 2023.

Vaezi, B., A. Pour-Aboughadareh, R. Mohammadi, M. Armion, A. Mehraban, T. Hossein-Pour, and M. Dorii. 2017. GGE biplot and AMMI analysis of barley yield performance in Iran. Cereal Research Communications. 45(3): 500-511.