ผลของปุ๋ยผสมสังกะสีต่อผลผลิต ปริมาณจุลินทรีย์ และการหายใจของดินปลูกในการผลิตคะน้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยผสมสังกะสี 2 รูปแบบ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่ผสมสังกะสี 3 ระดับความเข้มข้นคือ 0, 0.5 และ 1% ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และปริมาณสังกะสีของคะน้าพันธุ์บางบัวทอง 35 และผลของปุ๋ยเสริมสังกะสีต่อปริมาณเชื้อจุลินทรีย์และการหายใจของดิน ทำการทดลองในสภาพแปลงเกษตรใน ต.บางคูวัด อ.เมือง จ.ปทุมธานี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2566 วางแผนการทดลองแบบ 2x3 factorial in CRD ดยให้ปุ๋ยแตกต่างกันในครั้งที่ 3 เมื่อคะน้ามีอายุ 30 วัน หลังหว่านเมล็ด บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิตผักเมื่อครบอายุเก็บเกี่ยว 44 วัน นำผักมาหาปริมาณสังกะสีด้วยเครื่อง AAS ผลการทดลองพบว่า ปุ๋ยผสมสังกะสีส่งผลเชิงลบต่อความสูงและปริมาณผลผลิตของผักคะน้าประมาณ 28% แต่ผักคะน้ามีการสะสมสังกะสีในปริมาณที่สูงขึ้นประมาณ 22% โดยผลผลิตผักสดสูงสุดได้จากการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ สัดส่วน 1:1 อัตรา 40 กรัม/ตารางเมตร ได้รับผลผลิต 9.2 กิโลกรัม/ตารางเมตร ส่วนคะน้าที่มีปริมาณสังกะสีสูงได้จากการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ผสมสังกะสี 1% และปุ๋ยอินทรีย์เคมีผสมสังกะสี 0.5-1% ที่มีปริมาณสังกะสี 89.8 และ 91.8-98.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ นอกจากนั้น ยังพบว่าปุ๋ยผสมสังกะสีไม่มีผลกระทบต่อปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดในดิน แต่ส่งผลต่อปริมาณจุลินทรีย์ละลายสังกะสีที่ลดลงในช่วงแรก (หลังใส่ปุ๋ย 3 วัน) ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปเป็นหลังใส่ปุ๋ย 7 วัน พบว่าดินมีปริมาณจุลินทรีย์ละลายสังกะสีไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับอัตราการหายใจของจุลินทรีย์ดินที่พบว่าไม่แตกต่างกัน สำหรับผลของปุ๋ยผสมสังกะสีต่อคุณสมบัติทางเคมีของดินพบว่าปุ๋ยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญญ์กุลณัช คำปวง, สิทธิเศวตร์ ลอดแก้ว และชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2564. ผลของการจัดการปุ๋ยสังกะสีต่อการเจริญเติบโตในต้นกล้าข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และก่ำดอยสะเก็ดที่เพาะในวัสดุปลูกขี้เถ้าแกลบ. แก่นเกษตร. 49(4): 810-817.
กรมวิขาการเกษตร. 2548. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. 2563. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ.
เจตจรินทร์ ทำสะอาด. 2559. การศึกษารูปแบบเหล็กและสังกะสีระหว่างการหมักปุ๋ยมูลไก่ด้วยเทคนิคการสกัดแบบ Community Bureau of Reference (BCR). วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
วรรณิศา ปัทมะภูษิต และพรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง. 2557. ประสิทธิภาพปุ๋ยเคมีต่ออัตราการเจริญเติบโตและผลผลิตคะน้า. แก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ 3): 941-946.
วันทนีย์ เกรียงสินยศ. ม.ป.ป. กินอย่างไรให้ได้คุณค่าทางโภชนาการ. แหล่งข้อมูล: https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/tinymce/KPI2565/05/202/กินอย่างไรให้ได้คุณค่าทางโภชนาการ.pdf. ค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2566.
สมพร เรืองศรี และศวพร ศุภผล. 2556. แนวทางการลดการสะสมโลหะหนักในพื้นที่ผลิตผักขอบชุมชนเมือง จ.สระบุรี. น. 528. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51 5-7 กุมภาพันธ์ 2556. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สายชล พรมีอยู่, อัจฉรา จิตตลดากร และหฤษฎี ภัทรดิลก. 2555. ผลการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลวัวหมัก และปุ๋ยเคมีต่อการผลิตผักบุ้งจีน. น. 1-12. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2.
Ahmed, R., Md.K. Uddin, Md.A. Quddus, M.Y.A. Samad, M.A.M. Hossain, and A.N.A. Haque. 2022. Impact of foliar application of zinc and zinc oxide nanoparticles on growth, yield, nutrient uptake and quality of tomato. Horticulturae. 9: 162.
Alloway, B.J. 2008. Zinc in soil and crop nutrition 2nd edition. IZA, Brussesls, Belgium and IFA Paris, France.
Broadley, M.R., S.Ơ. Lochlainn, J.P. Hammond, H.C. Bowen, I. Cakmak, S. Eker, H. Erdem, G.J. King, and P.J. White. 2010. Shoot zinc (Zn) concentration varies widely within Brassica oleracea L. and is affected by soil Zn and phosphorus (P) levels. Journal of Horticulture Science and Biotechnology. 85(5): 375-380.
da Silva, J.A., M. Leonel, A.M. Fernandes, F.G.S. Garreto, J.G.S. Nunes, and R.F. Tajra. 2023. Growth, yield and nutrients of sweet cassava fertilized with zinc. Ciência Rural, Santa Maria. 53(9): 1-13.
Dawar, K., W. Ali, H. Bibi, I.A. Mian, M.A. Ahmad, M.B. Hussain, M. Ali, S. Ali, S. Fahad, S. ur Rehman, R. Datta, A. Syed, and S. Danish. 2022. Effect of different levels of zinc and compost on yield and yield components of wheat. Agronomy. 12: 1562.
Rehman, H.U., T. Aziz, M. Farooq, A. Wakeel, and Z. Rengel. 2012. Zinc nutrition in rice production systems: a review. Plant Soil. 361: 203-226.
Samreen, T., H. Humaria, H.U. Shah, S. Ullah, and M. Javid. 2017. Zinc effect on growth rate, chlorophyll, protein and mineral contents of hydroponically grown mungbeans plant (Vigna radiata). Arabian Journal of Chemistry. 10(Supplement 2): S1802-S1807.
Satheesh, N., and S.W. Fanta. 2020. Kale: Review on nutritional composition, bio-active compounds, anti-nutritional factors, health beneficial properties and value-added products. Cogent Food and Agriculture. 6:1, DOI: 10.1080/23311932.2020.1811048.
Shah, V., J. Jones, J. Dickman, and S. Greenman. 2014. Response of soil bacterial community to metal nanoparticles in biosolids, Journal of Hazardous Materials. 274: 399-403.
Vassilev, A., A. Nikolova, L. Koleva, and F. Lidon. 2011. Effects of excess Zn on growth and photosynthetic performance of young bean plants. Journal of Phytology. 3(6): 58-62.
Wong, K.W., C.K. Yap, R. Nulit, H. Omar, A.Z. Aris, W.H. Cheng, M.T. Latif, and C.S. Leow. 2019. Zn in vegetables: A review and some insights. Integrative Food, Nutrition and Metabolism. 6: 1-7.
Yazdanpanah, N., E. Pazira, A. Neshat, M. Mahmoodabadi, and L.R. Sinobas. 2013. Reclamation of calcareous saline sodic soil with different amendments (II): impact on nitrogen, phosphorous and potassium redistribution and on microbial respiration. Agricultural Water Management. 120: 39–45.