ความต้องการการส่งเสริมการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง

Main Article Content

เฉลิมพงษ์ เชื้อสะอาด
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล
ณฐิตากานต์ พยัคฆา
ทศพล มูลมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการส่งเสริมการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแพะ-แกะล้านนาระยะที่ 1 จำนวน 142 ราย โดยใช้สูตร Taro Yamane ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ระดับ 0.05 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.883 และใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.56 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีประสบการณ์ในการเลี้ยงแพะเนื้อเฉลี่ย 3.6 ปี มีจำนวนแพะเนื้อในฟาร์มเฉลี่ย 33.9 ตัว และมีการทำวัคซีนป้องกันโรคแก่แพะเนื้อเป็นประจำ ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายแพะเนื้อเฉลี่ย 32,697.18 บาท/ปี ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่มีการติดต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ มีจำนวนช่องทางการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับ   การผลิตแพะเนื้อเฉลี่ย 1.99 ช่องทาง และไม่ได้รับการฝึกอบรมการเลี้ยงแพะเนื้อ อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหา ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง และไม่มีเจ้าหน้าปศุสัตว์เข้ามาให้คำปรึกษา โดยเกษตรกรต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการส่งเสริมการตลาด และมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ช่วยดูแลและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกษตรกรมีความต้องการประเด็นความรู้ในการผลิต  แพะเนื้ออยู่ในระดับมาก ( = 2.77) นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับการศึกษาและจำนวนแพะเนื้อที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์ม มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และจำนวนช่องทางการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตแพะเนื้อ มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ธนจิตร์ ฮุ่นตระกูล, เฉลิมศักดิ์ รัตนะ และสุพร คงเกตุ. 2550. ความต้องการทางการตลาดของเกษตรกรฟาร์มต้นแบบการเลี้ยงแพะ และเครือข่ายจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2550. ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช.

นรินทร์ คำตา. 2563. การศึกษารูปแบบการเลี้ยงและการตลาดแพะเนื้อโครงการแพะ-แกะล้านนา. สำเนาเอกสารวิชาการ.

บุญชม ศรีสะอาด. 2553. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. สุวีริยาสาส์น. กรุงเทพฯ.

วินัย ประลมพ์กาญจน์. 2548. ปัญหาและการพัฒนาการเลี้ยงแพะในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 1(1): 16-20.

เสกสม อาตมางกูร. 2556. กระบวนทรรศน์ใหม่ในการผลิตสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมเกียรติ สายธนู. 2528. ลักษณะการเลี้ยงแพะในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

สมนึก ลิ้มเจริญ, ภรณี ต่างวิวัฒน์, จินดา ขลิบทอง และสุรศักดิ์ คชภักดี. 2563. โมเดลการส่งเสริมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้.

สมนึก ลิ้มเจริญ, สุนีย์ ตรีมณี, ณฤทธิ์ ไทยบุรี, จำนงค์ จุลเอียด และสรุศักดิ์ คชภักดี. 2564. แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร. 13(3).

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่. 2563. โครงการแพะ-แกะล้านนา. กองส่งเสริมและพัฒนาปศุสัตว์. กรมปศุสัตว์. กระทรวงเกษตร และสหกรณ์. สำเนาเอกสารวิชาการ.

สำนักงานเศรษกิจการเกษตรที่ 12. 2565. การผลิตและการตลาดแพะรุ่นในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2. เอกสารวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรกรเลขที่ 109. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์.

Cronbach, L. J. 1990. Essentials of Psychological testing (5th ed.). New York: HarperCollins. Dubrin.

Limcharoen, S., M. Laleng, M. Mat, and B. Laten. 2016. A study on meat goat raising of farmers in Mueng District, Narathiwat Province. National Academic Conference 4, Princess of Naradhiwas University, 61-71. (In Thai).

Yamane, T. 1973. Statistic: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publication.