การตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและโรคข้าวในผลผลิตข้าวจากพื้นที่ปลูกข้าวภาคกลาง ประเทศไทย

Main Article Content

ผกามาศ วงค์เตย์
ดารารัตน์ มณีจันทร์
รัตนวรรณ จันทรศศิธร
ชัยรัตน์ จันทร์หนู
กฤษณ์กมล เปาทอง
พยอม โคเบลลี่

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการปลูกข้าวของเกษตรกรเน้นการเพิ่มผลผลิต จึงทำให้มีแนวโน้มในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูและโรคพืชเพิ่มสูงขึ้น และการใช้สารเคมีที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการตกค้างของสารพิษในผลผลิตทางการเกษตร งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจติดตามและเฝ้าระวังการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูและโรคข้าวในตัวอย่างข้าวจากจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ชัยนาท และพระนครศรีอยุธยา โดยสัมภาษณ์เกษตรกรเกี่ยวกับปัญหาศัตรูและโรคข้าว รวมทั้งชนิดและช่วงเวลาที่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและโรคข้าว และสุ่มเก็บตัวอย่างข้าว เป็นเวลาต่อเนื่องจำนวน 2 ครั้ง คือฤดูนาปี/นาปรัง พ.ศ. 2563/2564 จำนวน 160 ราย/ตัวอย่าง และฤดูนาปี/นาปรัง พ.ศ. 2564/2565  จำนวน 90 ราย/ตัวอย่าง มาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและโรคข้าวจำนวน 79 สารด้วยเครื่องลิควิดโครมาโทกราฟี-แมสสเปคโทรมิเตอร์
(LC-MS/MS) และเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปคโทรมิเตอร์ (GC-MS/MS) พบว่าในฤดูนาปี/นาปรัง พ.ศ. 2563/2564 และ พ.ศ. 2564/2565 มีตัวอย่างข้าวพบการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและโรคข้าว จำนวน 43 และ 46 ตัวอย่าง โดยพบการตกค้างของสาร propiconazole มากที่สุด ซึ่งเป็นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่าง และใบจุดสีน้ำตาล มีความสอดคล้องกับข้อมูลการใช้สารเคมีฯของเกษตรกรที่มีการใช้สารดังกล่าวในระยะข้าวสุกแก่ นอกจากนี้ยังพบการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าว ดังนี้ chlopyrifos, omethoate, triazophos, 3-hydroxycarbofuran, carbaryl, carbofuran, propoxur, oxamyl, permethrin และ ethiprole พบการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดโรคข้าว ดังนี้ cyproconazole, carbendazim, tebuconazole, thiophanate-methyl และ tricyclazole อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาปริมาณสารเคมีฯที่ตกค้าง พบว่ามีตัวอย่างจำนวน 7 ตัวอย่าง และ 10 ตัวอย่าง จากตัวอย่างที่มีการตกค้างในฤดูนาปี/นาปรัง พ.ศ. 2563/2564 จำนวน 43 ตัวอย่าง และ พ.ศ. 2564/2565 จำนวน 46 ตัวอย่าง  ที่มีปริมาณสารตกค้างเกินข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit; MRLs) ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช) และสหภาพยุโรป จากผลการศึกษาควรมีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การตกค้างในผลผลิตข้าวอย่างต่อเนื่อง และแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและโรคข้าวอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องและปลอดภัยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. 2565. การศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมีอันตรายที่ใช้ในภาคเกษตร (ไกลโฟเสต) และค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาฟื้นฟูสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร. เอกสารวิชาการ. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ. 71 หน้า.

กองวิจัยและพัฒนาข้าว. 2562. ศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการ. กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 220 หน้า.

กองวิจัยและพัฒนาข้าว. 2562. องค์ความรู้เรื่องข้าว. แหล่งข้อมู: https://newwebs2.ricethailand.go.th/webmain/rkb3/. ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566.

จินตนา ไชยวงค์, วันทนา ศรีรัตนศักดิ์, สุกัญญา อรัญมิตร และอุรัสยาน์ บูลย์ประมุข. 2556. พฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลงของเกษตรกรที่เป็นพื้นที่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคกลาง. หน้า 248-264 ใน :เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ประจำปี 2555 วันที่ 21-25 มีนาคม 2556 ณ โรงแรม หินสวย-น้ำใส รีสอร์ท อำเภอแกลง จังหวัดระยอง.

ชลธิชา วรรณวิมลรักษ์, รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ และสมพนธ์ วรรณวิมลรักษ์. 2561. การประเมินผลกระทบจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในนาข้าวและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดนครปฐมประเทศไทย. หน้า 220-225. ใน: การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติครั้งที่ 19. วันที่ 26-27 เมษายน2561. ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติจุฬาภรณ์, คณะสัตวแพทย์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประจวบคีรีขันธ์.

ดารารัตน์ มณีจันทร์, รัตนวรรณ จันทร์ศศิธร, ผกามาศ วงค์เตย์, รัตติกาล อินทมา, ภัทรศยา สายยืด, นฤมล เสือแดง, วรัญสิตา ใบเด, จุฬารักษ์ ศรีศักดา, ศุภนัฐ นีซัง และณุภาวี สะกัญญา. 2564. การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตข้าว และสำรวจการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี. วารสารวิชาการข้าว. 12(2): 107-116.

มณฑาทิพย์ อรุณวรากรณ์, กัญญารัตน์ เต็มปิยพล และจิราภา เมืองคล้าย. 2557. ศึกษาชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในผลิตผลเกษตร ดิน และน้ำบริเวณแปลงปลูกในเขตพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 : ข้าว. หน้า 233-239. ใน: รายงานผลงานเรื่องเต็มการทดลองที่สิ้นสุด 2556 โครงการ: วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร.

ยงยุทธ ไผ่แก้ว, น้ำเย็น ศิริพัฒน์ และประภัสสรา พิมพ์พันธุ์. 2553. การพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง cyproconazole, hexaconazole, propiconazole, tebuconazole และ tetraconazole ในผัก. ผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2553. กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร 2553(1) : 270-282.

รัตติกาล อินทมา, ดารารัตน์ มณีจันทร์, ชัยรัตน์ จันทร์หนู, กฤษณ์กมล เปาทอง และวันรียา บุญสัน. 2564. การติตามสถานการณ์การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกรในการผลิตข้าวเขตภาคกลาง เขตภาคตะวันตก และเขตภาคตะวันออก ของประเทศไทย หน้า 157-170 ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลางและตะวันตก และกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออก ประจำปี 2564 วันที่ 23-25 มีนาคม 2564 ณ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จ.ปทุมธานี.

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป. 2561. EU กำหนดเกณฑ์คุณสมบัติของสารกลุ่มขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ (endocrinedisrupting) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช. แหล่งข้อมูลhttps://appdb.tisi.go.th/tis_devs/regulate/eu/pdf/Endocrine%20disrupting%20EU.pdf. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2559. มาตรฐานสินค้าเกษตร. (มกษ. 9002-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 61 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2551-2564. แหล่งข้อมูลhttps://www.doa.go.th/ard/?page_id=386. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2565.

AOAC Official Method. 2007.01 Pesticide residues in foods by acetonitrile extraction and partitioning with magnesium sulfate [online]. 2007; [9 screens]. Available: http://www.weber.hu/PDFs/QuEChERS/AOAC_2007_01.pdf. Accessed Jan. 19, 2021.

FAO and WHO. 2013. CODEX Alimentarius Available: https://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/codex-texts/dbs/pestres/pesticides/en/. Accessed Mar. 15, 2022.

Lucia, P., A.R. Fernandez-Alba, C. Veronica, and H. Horacio. 2011. Analytical methods for pesticide residues in rice. TrAC Trends in Analytical Chemistry. 30 (2): 270–291.

The 2020 European Union Report on pesticide residue in food. 2022. EU Pesticides Database. Pesticide EU-MRLs. Available: https://multimedia.efsa.europa.eu/pesticides-report-2020/chapter-two. Accessed Jun. 29, 2023.

Yamane, Taro. 1973. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper and Row.