การจัดการศัตรูพริกโดยชีววิธี: กรณีศึกษาในพริกสายพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์
ทิพย์สุคนธ์ อนุภาพ
ฐิตินันท์ ยมนา
นุชรีย์ ศิริ
อุบล ตังควานิช

บทคัดย่อ

การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพริกเป็นวิถีปฏิบัติของเกษตรกรที่นิยมจากรุ่นสู่รุ่น แต่การใช้สารผิดวิธีและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานสามารถส่งผลให้เกิดการตกค้างของสารพิษในผลผลิต และยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันกำจัดศัตรูพริกได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมศัตรูพริกในทุกระยะการเจริญเติบโตในพริกสายพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท ณ บ้านท่าฉาง ตำบลหนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (randomized complete block design, RCBD) 4 กรรมวิธี ๆ ละ 4 แปลงย่อย ดังนี้ 1) ไม่มีการดำเนินการ 2) วิถีปฏิบัติของเกษตรกร 3) แนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 4) ชีวภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่าแปลงพ่นชีวภัณฑ์ให้ผลในการควบคุมอาการใบหงิกจากเพลี้ยไฟ ไรขาว (ระดับ 1) และจำนวนผลเสียจากแมลงวันทองพริก (4.32%) ได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่นที่แสดงอาการใบหงิกที่ระดับ 2 และจำนวนผลเสียระหว่าง 7.42-11.38% เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พบจำนวนต้นที่เป็นโรคสูงในแปลงวิถีปฏิบัติของเกษตรกรที่ 63.76% รองลงมาคือแปลงการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 43.74% และพบต่ำสุดในแปลงชีวภัณฑ์คือ 21.87% ขณะที่การใช้ชีวภัณฑ์สามารถป้องกันกําจัดวัชพืชได้ดีในช่วง 7-21 วัน หลังฉีดพ่น ผลผลิตต่อต้นในแปลงชีวภัณฑ์พบน้ำหนักผลดี (1,142 กรัม/ต้น) และจำนวนผลดี (806 ผล/ต้น) สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่นที่ 725-868 กรัม/ต้น และ 506-635 ผล/ต้น ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบสารอิมิดาโคลพริดตกค้างในตัวอย่างดินในแปลงที่ไม่ใช้ชีวภัณฑ์ต่ำกว่า 0.02 มก./กก.

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2564. รายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืชจำแนกตามชนิดพืช/แมลง. แหล่งข้อมูล: https://www.production.doae.go.th/service/data-state-product/index. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565.

กอบเกียรติ บันสิทธ์, ปิยรัตน์ เขียนมีสุข, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น, อุทัย เกตุนุติ, ลักษณา วรรณภีร์, สังคม ประสมทอง และนิรันดร์ ทองพันธุ์. 2540. การป้องกันกําจัดศัตรูพริกโดยวิธีผสมผสาน. 62-69. ในเอกสารวิชาการการป้องกันกําจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

จันทร์เพ็ญ ชาดาเม็ก. 2555. การควบคุมเพลี้ยไฟ และไรขาว พริกโดยไม่ใช้สารเคมี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

จันทร์เพ็ญ ชาดาเม็ก และนุชรีย์ ศิริ. 2556. ประสิทธิภาพการ ทำลายเหยื่อของไรตัวห้ำ Amblyseius cinctus ต่อ ไรขาว และแมลงช้างปีกใส Mallada basalis ต่อเพลี้ยไฟบนต้นพริก. ใน การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 11 “อารักขาพืชไทย ก้าวไกลในประชาคมอาเซียน” ในวันที่ 26–28 พฤศจิกายน 2556. โรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชันเซ็นเตอร์, ขอนแก่น.

ชิดหทัย เพชรช่วย. 2560. สถานการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรบริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 19(1): 111-122.

นุชรีย์ ศิริ, จุรีรัตน์ รัตนทิพย์ และอโนทัย วิงสระน้อย. 2553. ศัตรูพริกและศัตรูธรรมชาติ. แก่นเกษตร. 38: 1-2.

นุชรีย์ ศิริ และจันทร์เพ็ญ ชาดาเม็ก. 2560. การควบคุมเพลี้ยไฟและไรขาวในพริกสองพันธุ์. แก่นเกษตร. 45(1): 461-467.

นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด. 2550. การควบคุมโรครากปมในพริก. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

บุษราคัม อุดมศักดิ์, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, วิไลวรรณ พรหมคำ, สุรีย์พร บัวอาจ, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, รุ่งนภา ทองเคร็ง, นพวรรณ นิลสุวรรณ, ฐปนีย์ ทองบุญ, กิรนันท์ เหมาะประมาณ, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง, วราภรณ์ อุดมดี และรสสุคนธ์ รุ่งแจ้ง. 2561. ชีวภัณฑ์บีเอสควบคุมโรคกุ้งแห้งพริกสู่การใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก. ผลงานวิจัยดีเด่น กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2561. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงแกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

พัชรา วงษ์คำอุด. 2559. การควบคุมไรขาว Polyphagotarsonemus latus (Banks) และเพลี้ยไฟ Scirtothrips dorsalis Hood โดยชีววิธีตามระดับการหงิกในพริก 4 พันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

ภานุพงศ์ แสนบุดดา. 2560. ประสิทธิภาพการใช้ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการควบคุมแมลงวันทองพริก (Bactrocera latifrons Hendel). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชากีฏวิทยา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

ภูพิงค์ ต๊ะอุ่น. 2564. ประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลงและการบูรณาการการใช้ร่วมกับชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมแมลงวันพริก (Bactrocera latifrons) ในเนื้อดินต่างชนิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

มานิตา คงชื่นสิน, วัฒนา จารณศรี, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์, พอเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ และพลอยชมพู กรวิภาสเรือง. 2550. เขตกากรแพร่กระจาย ชีวประวัติ และประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ Amblyseius cintus Corpuz and Rimando. ใน การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ในวันที่ 20 -22 พฤศจิกายน 2550. โรงแรมอัมรินทร์ลากูล, พิษณุโลก.

เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์. 2556. คู่มืออาหารเสริมฉบับสมบูรณ์. สำนักพิมพ์ เอ็มไอเอส, กรุงเทพฯ.

วีระ ภาคอุทัย, ไพฑูรย์ คัชมาตย์, ธนาภรณ์ กระสวยทอง และพรทิพย์ แพงจันทร์. 2553. การจัดการห่วงโซ่อุปทานพริกปลอดภัย. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.

สืบศักดิ์ สนธิรัตน. 2528. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

สรพงค์ เบญจศรี. 2553. เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 13(1): 78-88.

สุธาสินี อังสูงเนิน. 2558. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 9(1): 50-63.

สุพัตรา คำเรียง, สังวาล สมบูรณ์, สุวิตา แสไพศาล และยุวดี ชูประภาวรรณ. 2565. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาชีวภัณฑ์และประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมศัตรูพริกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประจำปีงบประมาณ 2565.

สุรีย์พร บัวอาจ, บุษราคัม อุดมศักดิ์, ไตรเดช ข่ายทอง, สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี, วราภรณ์ อุดมดี และพเยาว์ พรหม พันธุ์ใจ. 2562. ทดสอบเทคโนโลยีการใช้ก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี Neonothopanus nambi (Speg.) R.H. Petersen & Krisai ควบคุมโรครากปมในแปลงพริก. ผลงานวิจัยประจําปี 2562 เล่มที่ 2 สํานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เอกสารวิชาการเลขที 2/2563. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน้า 631.

สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น. 2564. รายงานสรุปข้อมูลภาวะการผลิตพืช พืชอายุสั้น (รต.01) กลุ่มพืชผัก ชนิด ทั้งหมด พันธุ์ ทั้งหมด จังหวัด ขอนแก่น. แหล่งข้อมูล: http://www.khonkaen.doae.go.th/upload/photo/data/20220128103629hxykmd3o.pdf. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2563. การนำเข้าและส่งออกสินค้าสำคัญ. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/oae_report/expore_import/export.php. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2564.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ข้อมูลราคาสินค้าเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.nabc.go.th/. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.

หงส์ฟ้า แซ่เตื้อง, นริศ ท้าวจันทร์ และอนุชิต ชินาจริยวงศ์. 2557. ผลของเชื้อรา Metarhizium anisopliae PSUM02 ต่อแมลงวันทองพริก Bactrocera latifrons (Hendel) (Diptera: Tephritidae) ระยะตัว หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ในสภาพห้องปฏิบัติการ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 1: 48-53.

Al-Zyoud, F. 2008. Biology and predation potential of the Indian ladybird Serangium montazerii on Bemisia tabaci. Jordan Journal of Agricultural Sciences. 4(1): 26-40.

Asiimwe, P., S. J. Ecaat, M. H. Otim, D. Gerling, S. Kyamanywa, and J. P. Legg. 2007. Life-table analysis of mortality factors affecting populations of Bemisia tabaci on cassava in Uganda. Entomologia experimentalis et Applicata. 122(1): 37-44.

Azaizeh, H., G. Gindin, O. Said, and I. Barash. 2002. Biological control of the western flower thrips Frankliniella occidentalis in cucumber using the entomopathogenic fungus Metarhizium anisopliae. Phytoparasitica. 30(1): 18-24.

Brownbridge, M. 1995. Prospects for mycopathogens in thrips management. In Thrips Biology and Management. Plenum Press, New York. 276: 281-295.

Kutuk, H., A. Yigit, and O. Alaoglu. The effect of season on the levels of predation by the ladybird Serangium parcesetosum Sicard (Coleoptera: Coccinellidae) on the cotton whitefly Bemisia tabaci (Genn.) (Homoptera: Aleyrodidae), a serious pest of eggplants. Journal of Pest Science. 81: 207–212.

Neelofor, S. B., and A. Kumar. 2022. Comparitive efficacy and cost benefit ratio of selected insecticides and biopesticides against chilli Thrips. The Phama Innovention Journal. 11: 250-253.

Simmons, A. M., and S. Abd-Rabou. 2005. Population of the sweetpotato whitefly in response to different rates of three sulfur-containing fertilizers on ten vegetable crops. Journal of Vegetable Science. 15: 57-70.

Stansly, P. A., J. Calvo, and A. Urbaneja. 2005. Release rates for control of Bemisia tabaci (Homoptera: Aleyrodidae) biotype “Q” with Eretmocerus mundus (Hymenoptera: Aphelinidae) in greenhouse tomato and pepper. Biological Control. 35(2): 124-133.

Statistix 10 software. 2018. An analytical software of statistix 10. Tallahassee: Analytical Software.

Ta-oun, P., R-U. Ehlers, and P. Nimkingrat. 2022. Effects of soil texture and moisture on the host searching abilities of Steinernema siamkayai against Bactrocera latifrons. Nematology. 1-12.

Tyšer, L., M. Kolářová, O. Tulačka, and P. Hamouz. 2021. Weed vegetation in conventional and organic farming in West Bohemia (Czech Republic). Plant Soil and Environment. 67(7): 376–382.

Vestergaard, S., A. T. Gilliespie, T. M. Butt, G. Schreiter, and J. Eilenberg. 1995. Pathogenicity of the hyphomycetes fungi Verticillium lecanii and Metarhizium anisopliae to the western flower thrips, Frankliniella occidentalis. Biocontrol Science and Technology. 5: 185- 192.