วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับการขยายพันธุ์ไส้เดือนดินและการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัสดุเหลือใช้ทางเกษตรจำพวกมูลสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้แก่ มูลวัวนม นิยมนำมาใช้เป็นอาหารของไส้เดือนดินสำหรับการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีสารอาหารมากกว่ามูลของวัวไล่ทุ่งและโคขุน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพันธุ์ไส้เดือนดิน สายพันธุ์ AF (African Night Crawler, Eudrilus eugeniae) และผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนโดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยนำผลไม้สุกงอมจากร้านค้าและส่วนของต้นไม้จากแปลงเกษตร ได้แก่ กล้วยสุก มะม่วงสุก ฝรั่งกิมจูสุก โสน และหยวกกล้วย ผสมกับมูลวัวนมใช้สำหรับเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์ AF โดยการวางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) จากผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าฝรั่งกิมจูสุกเหมาะสำหรับเป็นอาหารของไส้เดือน รองลงมาคือ หยวกกล้วย ในขณะที่กล้วยสุกและมะม่วงสุกไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นอาหารของไส้เดือน จากการศึกษาปริมาณผลผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ถุงไข่ จำนวนตัว และน้ำหนักของไส้เดือนโดยวิธีสุ่มสมบูรณ์ และเพาะเลี้ยงนาน 30 วัน พบว่าสัดส่วนของหยวกกล้วยต่อมูลวัวนม เท่ากับ 500 ต่อ 2,500 กรัม และ 1,000 ต่อ 2,000 กรัม ให้ผลผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนสูงสุด เท่ากับ 2,313.33 ± 37.24 และ 1,896.67 ± 149.76 กรัม ตามลำดับ จำนวนถุงไข่ไส้เดือนสูงสุด เท่ากับ 738.50 ± 56.00 ถุง รองลงมา คือ 426.00 ± 43.88 ถุง ได้จากอาหารที่มีส่วนผสมของฝรั่งสุกต่อมูลวัวกิมจูสุกต่อมูลวัวนมในสัดส่วน 500 ต่อ 2,500 กรัม และสัดส่วนของหยวกกล้วยต่อมูลวัวนม เท่ากับ 500 ต่อ 2,500 กรัม ตามลำดับ และพบว่าอาหารผสมฝรั่งกิมจูสุกต่อมูลวัวนม เท่ากับ 1,000 ต่อ 2,000 กรัม ให้จำนวนไส้เดือนมากที่สุด เท่ากับ 898.00 ตัว ± 60.04 ตัว ตามด้วยสัดส่วนของหยวกกล้วยต่อฝรั่งกิมจูสุกต่อมูลวัวนม เท่ากับ 500 ต่อ 500 ต่อ 2,000 และ 333 ต่อ 333 ต่อ 2,333 กรัม มีจำนวนไส้เดือน เท่ากับ 584.33 ± 86.83 และ 533.00 ± 17.32 ตัว ตามลำดับ และน้ำหนักตัวสูงสุดของไส้เดือน เท่ากับ 211.13 ± 5.99 และ 135.42 ± 4.60 กรัม จากการเลี้ยงด้วยส่วนผสมของหยวกกล้วยต่อมูลวัวนมในสัดส่วน 500 ต่อ 2,500 กรัม และผลฝรั่งกิมจูสุกต่อมูลวัวนมในสัดส่วน 500 ต่อ 2,500 กรัม ตามลำดับ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสำหรับเกษตรกรที่ต้องการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนและผลผลิตไส้เดือนควรเลือกใช้สูตรอาหารที่มีสัดส่วนของหยวกกล้วยต่อมูลวัวนม เท่ากับ 500 ต่อ 2,500 กรัม และปุ๋ยมูลไส้เดือนมีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมดเป็นไปตามเกณฑ์ของประกาศกรมวิชาการเกษตร กรณีที่ต้องการขยายพันธุ์ไส้เดือนดินสายพันธุ์ AF ควรเลือกใช้สูตรอาหารที่มีสัดส่วนของฝรั่งกิมจูสุกต่อมูลวัวนม เท่ากับ 1,000 ต่อ 2,000 กรัม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการเกษตร. 2562. ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2557. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2019/11/FEDOA11.pdf. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2566.
ขวัญฤทัย ทองบุญฤทธิ์ และจันทนา ยอดทอง. 2562. การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารของพืชในปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่ผลิตโดยแอฟริกันไนท์ครอเลอร์ (Eudrilus eugeniae และอินเดียบลู (Perionyx excavatus). สักทอง: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.) 6(2): 1-9.
ชัยสิทธิ์ ทองจู. 2563. การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร. เกษตรอภิรมย์. 6(30): 44-45.
ณัฏฐิรา แก้วกล้าหาญ. 2558. การศึกษาปัจจัยบางประการ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
ณัฐกิตติ์ เพชรหมื่นไว, ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย และธรรมเรศ เชื้อสาวถี. 2564. ผลของระดับความเค็มต่อการงอกของเมล็ดพืชและการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุอินทรีย์เพื่อส่งเสริมการงอกของเมล็ดโสนแอฟริกาในสภาพเรือนทดลอง. แก่นเกษตร. 49(1): 894-900.
ณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ และชุลีมาศ บุญไทย อิวาย. 2561. ผลของระยะเวลาในการเก็บรักษาต่อคุณภาพของน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน. แก่นเกษตร. 46(1): 1188-1192.
เบญจมาศ ศิลาย้อย. 2538. กล้วย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ปฐมพงศ์ หล้าคำ, สุลีวัลย์ สุธรรมแจ่ม, ชานนท์ ทองดี, กษมา ตั้งมุททาภัทรกุล, ธีรชัย หายทุกข์, เทอดศักดิ์ คำเหม็ง และสาวิตรี วงศ์ตั้งถิ่นฐาน. 2562. การศึกษาผลผลิตหรือคุณค่าทางโภชนะของไส้เดือนดิน 3 สายพันธุ์ เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนอาหารสัตว์. แก่นเกษตร. 47(2): 691-696.
ปนัดดา จะแจ้ง, โชติรัตน์ ศรีเกลื่อน, ชัยสิทธิ์ ทองจู และวนิดา สืบสายพรหม. 2563. ประสิทธิภาพการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลนกแอ่นกินรัง โดยไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eudrilus eugeniae. แก่นเกษตร. 48(3): 471-472.
ปนัดดา จะแจ้ง, โชติรัตน์ ศรีเกลื่อน และวนิดา สืบสายพรหม. 2560. การศึกษาการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินพันธุ์ Eudrilus eugeniae โดยการเลี้ยงในวัสดุที่ต่างกัน. น. 2799-2804. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14 เรื่อง ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน (พ.ศ. 2560) วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
พงษ์สุดา ชาญวิชัยพจน์, เบ็ญจวรรณ ชูติชูเดช และประสิทธิ์ ชูติชูเดช. 2559. ผลของวัสดุรองพืชต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของไส้เดือนดิน Eisenia fetida. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(5): 650-660.
ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง. 2560. รัตนชัย ฟาร์มไส้เดือน สตูล เดินหน้าส่งขายมาเลย์. วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน. 29(653): 67-69.
วันวิสาข์ วัฒนะพันธ์ศักดิ์, ธรรมธวัช แสงงาม, ใยไหม ช่วยหนู, ปฐมา แทนนาค และทศพร วัฒนะพันธ์ศักดิ์. 2566. ผลของกากตะกอนเยื่อกระดาษที่มีต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน และคุณภาพปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ. 6(1): 79-86.
สมชัย จันทร์กระจ่าง. 2560. ไส้เดือน มหัศจรรย์จากธรรมชาติ. แหล่งข้อมูล: https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=37245. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566.
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์. 2566. การนำผลผลิตจากต้นกล้วยมาใช้เลี้ยงสัตว์. แหล่งข้อมูล: http://nutrition.dld.go.th/Nutrition_Knowlage/ARTICLE/ArtileF.htm. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2566.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. 2561. คุณค่าทางโภชนาการฝรั่ง, กิมจู (Guava, Kim-ju variety). แหล่งที่มา: https://thaifcd.anamai.moph.go.th/nss/view.php?fID=05067. ค้นเมื่อ 27 เมษายน 2567.
อานัฐ ตันโช. 2549. เทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักจากมูลไส้เดือนดิน. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,ปทุมธานี.
อานัฐ ตันโช. 2557. สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่น่าเลี้ยง. วารสารดินและปุ๋ย. 36(1-4): 6-12.
อานัฐ ตันโช. 2563. ไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ ตำรับแม่โจ้. วารสารผลิตกรรมการเกษตร. 2(1): 1-10.
อารีรัตน์ แดงกระจ่าง และนิวัฒน์ แดงกระจ่าง. 2560. โรงงานปุ๋ยหลังบ้าน. เกษตรอภิรมย์. 3(17): 46-48.
American Chemical Society. 2018. Elephant and cow manure for making paper sustainably. Press releases presented at a meeting of the American Chemical Society, held in New Orleans, March 21, 2018.
Abrams, D., D. Metcalf, and M. Hojjatie. 2014. Determination of Kjeldahl Nitrogen in Fertilizers by AOAC Official MethodSM 978.02: Effect of copper sulfate as a catalyst. Journal of AOAC International. 97(3): 764-767.
Black, C.A. 1965. Methods of Soil Analysis: Part I Physical and mineralogical properties. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin, USA.
Cui, W., P. Gao, M. Zhang, L. Wang, H. Sun, and C. Liu. 2022. Adverse effects of microplastics on earthworms: A critical review. Science of the Total Environment. 850: 158041.
Edwards, C.A., N.Q. Arancon, and R.L. Sherman. 2011. Vermiculture Technology. Earthworms, organic wastes, and environmental Management. CRC Press, 623 p. NY, USA.
Edwards, C.A., and N.Q. Arancon. 2022. Earthworms, Soil Structure, Fertility, and Productivity. In: Biology and Ecology of Earthworms. Springer, New York, NY.
Edwards, C.A., and P.J. Bohlen. 1996. Biology and Ecology of Earthworms. Chapman and Hall, London.
Merta, I.W., and A. Raksun. 2022. The use of banana peel as feed to increase growth of earthworms (Lumbricus rubellus). Jurnal Pijar MIPA. 17(6): 809-812.
Kakitis, A., I. Nulle, and O. Vronskis. 2017. Experimental study of vermicompost drying process. Engineer of Rural Development. (24): 1086-1092.
Marlbough district council. 2024. A guide to worm composting. Available: https://www.marlborough.govt.nz/repository/libraries/id:2ifzri1o01cxbymxkvwz/hierarchy/documents/environment/environmental-education/a-guide-to-worm-composting-list/A_Guide_To_Worm_Composting_Printable.pdf. Accessed May.14, 2024.
Narita, R. 2022. Different substrates on the reproduction rate of earthworm (Eudrilus eugeniae) and NPK content of its casting. Available: NaritaRovelitoJRMSUearthwormresearch%20(2).pdf. Accessed Sept. 4, 2023.
Okonkwo, S.N., O.O. Amund, and C.O. Ogunsanya. 1990. Microbial rotting and preservation of banana fruits (Musa sapientium L.) in Nigeria. Microbios Letters. 44: 147-155.
Roubalova, R., P. Prochazkova, J. Dvorak, F. Skanta, and M. Bilej. 2015. The role of earthworm defense mechanisms in ecotoxicity studies. Invertebrate Survival Journal. 12(1): 203-221.
USDA Natural Resources Conservation Service. 2024. Soil Quality Indicators- Earthworms. Available: https://www.nrcs.usda.gov/sites/default/files/2022-10/Earthworms.pdf. Accessed May.14, 2024.
Utama, G.L., M.O. Kurniawan, N. Natiqoh, and R.L. Balia. 2019. Species identification of stress resistance yeasts isolated from banana waste for ethanol production. IOP Conf. Series: Earth and Environmental Science. 306: 1-8.
Van, R.E., M. Verloo, A. Demeyer, and J.M. Pauwels. 1999. Manual for the Soil Chemistry and Fertility Laboratory. Ghent University, Ghent.
Xiao, R., A. Ali, Y. Xu, H. Abdelrahman, R. Li, Y. Lin, N. Bolan, S.M. Shaheen, J. Rinklebe, and Z. Zhang. 2022. Earthworms as candidates for remediation of potentially toxic elements contaminated soils and mitigating the environmental and human health risks: A review. Environment International. 158: 1-18.
Zulkifli, Z.B., N.B. Rasit, N.A. Umor, and S. Ismail. 2018. The effect of A. fumigatus SK1 and Trichoderma sp. on the biogas production from cow manure. Malaysian Journal of Fundamental and Applied Sciences. 14(3): 353–359.