ผลของระดับความชื้นในวัสดุปลูกที่ส่งผลการเจริญเติบโต และผลผลิตหน่อกระวานในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

Main Article Content

นภาพร จิตต์ศรัทธา
พิกุล นุชนวลรัตน์
พรชัย เหลืองวรี

บทคัดย่อ

กระวาน (Amomum testaceum Ridl.) จัดเป็นเครื่องเทศหรือสมุนไพรที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในจังหวัดจันทบุรีนิยมปลูกกระวานจันท์ เพื่อใช้ในการประกอบอาหารโดยใช้ส่วนของหน่ออ่อน การที่ต้นกระวานจะเจริญเติบโตได้ดีนั้น จำเป็นจะต้องมีการให้น้ำที่มีความชื้นของวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการปลูกกระวาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความชื้นในวัสดุปลูกที่ควบคุมโดยการติดตั้งเซ็นเซอร์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตหน่อกระวานที่ปลูกในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยทำการปลูกกระวานภายในโรงเรือนตาข่ายหลังคาพลาสติกใช้วัสดุปลูก คือ ขุยมะพร้าว+กาบมะพร้าวสับ (1:1 โดยปริมาตร) การวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด completely randomized design (CRD) แบ่งเป็น 3 กรรมวิธี จำนวน 5 ซ้ำ ซ้ำละ 2 กระถาง ประกอบด้วย ให้น้ำที่ระดับความชื้นต่ำกว่า 70%, 60% และ 50% v/v (หยุดให้น้ำเมื่อความชื้นเกินระดับที่กำหนดตามกรรมวิธี) จากการทดลองพบว่า ระดับความชื้นในวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตสูงที่สุด คือกระวานที่มีการให้น้ำที่ระดับความชื้นของวัสดุปลูกต่ำกว่า 60% v/v หยุดให้น้ำเมื่อความชื้นเกิน 60% v/v ส่งผลให้ความสูงต้น (77.59 cm) ขนาดลำต้น (8.27 mm) จำนวนหน่อ (13.80 หน่อ/กระถาง) และน้ำหนักต้น (3.56 kg/กระถาง) มีค่าสูงที่สุด และลดเปอร์เซ็นต์การเน่าของหน่อใหม่ได้น้อยกว่าที่ระดับ    การให้น้ำ 70% v/v

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กัญธนา หาญกล้า และบุษบา บัวคำ. 2565. ผลของความในชื้นดินที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของบัวบก (Centella asiatica (L.) Urb.). น. 46-53. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16. 11-12 กรกฎาคม 2565 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

จตุพร พุทธิศา. 2563. ต้นกระวานจันทบูรณ์. แหล่งข้อมูล : http://www.eculture.rbru.ac.th/. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563.

เฉลิมชล ซ่างถม. 2562. ตำราภูมิปัญญาการผลิตกระวานในจันทบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท ทีเอ็มเอส 2559 จำกัด, จันทบุรี.

เฉลิมชล ซ่างถม. 2562. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระวานและกระบวนการผลิตกระวานคุณภาพ. สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร, จันทบุรี.

ดารารัตน์ ทิมทอง. 2557. ผลของวัสดุปลูกและวิธีการใส่ปุ๋ยต่อผลผลิตของมะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill) และเมล่อน (Cucumis melo L.) ที่ปลูกในระบบไม่ใช้ดิน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ.

ธิยารัตน์ ไตรรงค์กอบศิริ, ปุญญิศา ตระกูลยิ่งเจริญ และกุมุท สังขศิลา. 2562. ผลของการขาดน้ำที่ช่วงอายุต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณเบต้าแคโรทีนในคะน้าฮ่องกง. แก่นเกษตร. 47 (1): 15-20.

ธัญสินี สมงามทรัพย์, ปริยานุช จุลกะ และพิจิตรา แก้วสอน. 2564. ผลของการจัดการการให้น้ำต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของเมล่อนที่ปลูกในโรงเรือน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 29(5): 838-849.

นภาพร จิตต์ศรัทธา. 2561. เอกสารประกอบการสอนวิชาการปลูกพืชไร้ดิน. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

นฤพนธ์ พันธุ์หวยพงษ์, เบญจพร ตั้งนอบน้อม, เบญจมาศ เหมวิบูลย์ และวสันต์ อินทร์ตา. 2555. ผลของความชื้นต่อคุณสมบัติทางกายภาพของลูกกระวาน. แหล่งข้อมูล : http://www.foodnetworksolution.com/news_and_articles/article/0267/. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563.

ศศินิภา องอาจ, พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง และศุภชัย อำคา. 2563. ชนิดของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพผลผลิตของแตงเทศ. แก่นเกษตร. 48 (ฉบับพิเศษ 1): 63-68.

สมยศ เดชภิรัตนมงคล, สมมารถ อยู่สุขยิ่งสถาพร และสัจจา ธรรมาวิสุทธิผล. 2551. ผลการใหน้ำชลประทานที่มีผลตอการเจริญเติบโตและผลผลตขมิ้นชัน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 26 (1): 29-38.

สุภาภรณ์ สาชาติ. 2558. โครงการวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีศักยภาพ. งานวิจัยฉบับสมบูรณ์, กรมวิชาการเกษตร.

เสกสรรค์ ศาสตร์สถิต และเกสร กาลจิตร์. 2565. ระบบการให้น้ำพืชอัตโนมัติ. แหล่งข้อมูล : https://www.nectec.or.th/news/news-public-document/automatic-watering-system.html ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม2565.

อภิสิทธิ์ ชิตวณิช, ปราโมทย์ พรสุริยา และ ธนาวัฒน์ เยมอ. 2563. วัสดุปลูกสำหรับการปลูกผักสลัด Red oak. แก่นเกษตร. 48 (ฉบับพิเศษ 1): 1093-1100.

อิทธิสุนทร นันทกิจ. 2554. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินรุ่นที่ 12. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.

อิทธิสุนทร นันทกิจ. 2557. โปรแกรมคํานวณการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช NutriCal V1.7T. ในเอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินรุ่นที่ 16. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.

อิทธิสุนทร นันทกิจ. 2560. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.

Atdinsakir, k., F.U. Bayar, and O. Çinara. 2023. Response of different substrates and irrigation water levels on yield and oil quality of ginger grown in greenhouse. Journal of Agricultural Sciences (Tarim Bilimleri Dergisi). 29 (4): 990-1002.

Germchi, S., F. Shekari, M.B. Hassanpooraghdam, M.B. Khorshidi Benam, and F. Shekari. 2010. Water deficit stress affects growth and some biochemical characteristics of rapeseed (Brassica napus L.). Journal of Food, Agriculture and Environment. 8: 1126-1129.

Li, Y.J., B.Z. Yuan, Z.L. Bie, and Y. Kang. 2012. Effect of drip irrigation criteria on yield and quality of muskmelon grown in greenhouse conditions. Agricultural Water Management. 109: 30-35.

Pereira, J.S., and T.T. Kozlowsky. 1976. Leaf anatomy and water relations of Eucalyptus camaldulensis and E. globules seedlings. Canadian Journal of Botany. 54 (24): 2868-2880.

Sensoy, S., A. Ertek, I. Gedik, and C. Kucukyumuk. 2007. Irrigation frequency and amount affect yield and quality of field-grown melon (Cucumis melo L.). Agricultural Water Management. 88 (1-3): 269-274.

Shin, J. H., and J. E. Son. 2015. Changes in electrical conductivity and moisture content of substrate and their subsequent effects on transpiration rate, water use efficiency, and plant growth in the soilless culture of paprika (Capsicum annuum L.). Horticulture, Environment and Biotechnology. 56(2): 178-185.

Warsaw, A.L., R.T. Fernandez, B.M. Cregg, and J.A. Andresen. 2009. Water conservation, growth, and water use efficiency of container-grown woody ornamentals irrigated based on daily water use. HortScience. 44 (5): 1308-1318.

Widaryanto, E., K.P. Wicaksono, and H. Najiyah. 2017. Drought effect simulation on the growth and yield quality of melon (Cucumis melo L.), Journal of Agronomy. 16(4): 147-153.

Zeng, C.Z., Z.L. Bie, and B.Z. Yuan. 2009. Determination of optimum irrigation water amount for drip-irrigated muskmelon (Cucumis melo L.) in plastic greenhouse. Agricultural Water Management. 96(4): 595-602.