การประเมินความต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียวที่เกิดจากเชื้อ Ralstonia solanacearumร่วมกับลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของเชื้อพันธุกรรมมะเขือเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะความต้านทานโรคเหี่ยวเขียวซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อ Ralstonia solanacearum ร่วมกับลักษณะผลผลิตและคุณภาพผลในเชื้อพันธุกรรมมะเขือเทศ งานทดลองนี้สามารถแบ่งเป็น 2 งานทดลอง โดยงานทดลองที่ 1 ทำการประเมินสายพันธุ์และปริมาตรของเชื้อสาเหตุที่เหมาะสมสำหรับการนำไปประเมินเชื้อพันธุกรรมมะเขือเทศ โดยวางแผนการทดลองแบบ 3×2x2 factorial experiment in a completely randomized design (CRD) กำหนดให้ปัจจัยที่ 1 คือ เชื้อสาเหตุ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ To1 (biovar 4, phylotype I, sequevar 47), To3 (biovar 2T, phylotype I, sequevar 13) และ Ch1 (biovar 2T, phylotype I, sequevar 17) ปัจจัยที่ 2 เป็นปริมาตรเชื้อ 2 ปริมาตร คือ 5 และ 10 มล. และปัจจัยที่ 3 เป็นพันธุ์มะเขือเทศ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ต้านทาน (Hawaii7996) และพันธุ์อ่อนแอ (VF134-1-2) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า พันธุ์ Hawaii7996 ไม่มีการเกิดโรค ซึ่งมีค่าดัชนีการเกิดโรค (Disease Index: DI) = 0% ขณะที่พันธุ์ VF134-1-2 มีการเกิดโรคสูงสุด (DI=100%) เมื่อได้รับเชื้อสาเหตุ To1 ปริมาตร 10 มล. โดยสายพันธุ์และปริมาตรเชื้อดังกล่าวสามารถแยกความแตกต่างระหว่างพันธุ์ต้านทานและอ่อนแอออกจากกันได้ จึงมีความเหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ในการประเมินเชื้อพันธุกรรมมะเขือเทศในงานทดลองที่ 2 โดยทำการประเมินเชื้อพันธุกรรมมะเขือเทศจำนวน 26 สายพันธุ์ ร่วมกับพันธุ์การค้า 6 พันธุ์ พันธุ์ Hawaii7996 และพันธุ์ VF134-1-2 ทำการประเมินลักษณะความต้านทานโรคเหี่ยวเขียวในสภาพโรงเรือน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ ๆ ละ 15 ต้น ขณะที่การประเมินผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของมะเขือเทศ ทำการปลูกทดสอบในสภาพแปลงเปิด วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 10 ต้น จากการศึกษาพบว่า การประเมินการเกิดโรคในวันที่ 8 หลังการปลูกเชื้อ พันธุ์ Hawaii7996 มีค่า DI = 11.13% ในขณะที่ VF134-1-2 มีค่า DI = 91.99% และพันธุ์ที่มีลักษณะความต้านทานเช่นเดียวกับ Hawaii7996 คือ KKU-T73025, KKU-T24020, KKU-T73021, KKU-T73020, CK6, CK4 และ VFT เมื่อพิจารณาลักษณะความต้านทานโรคร่วมกับการให้ผลผลิต พบว่า มะเขือเทศพันธุ์ KKU-T73021 และ KKU-T24020 มีระดับความต้านทาน และลักษณะผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่ดี (1631.08 และ 2083.60 กรัมต่อต้น ตามลำดับ) และมีองค์ประกอบผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์การค้า (CK4 และ CK6) ดังนั้น พันธุ์ KKU-T73021 และ KKU-T24020 จึงเหมาะสมที่จะนำไปเป็นแหล่งพันธุกรรมต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียว ในช่วง 2-14 วันหลังการปลูกและให้ผลผลิตสูง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บุญส่ง เอกพงษ์. 2557. มะเขือเทศอุตสาหกรรมลูกผสมเปิดพันธุ์ใหม่ UBU 406. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 16(1): 76-82.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2565. การส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุม ปี 2565. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2023/02/Export-all-year-65.pdf. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2564. วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าไทยรายภูมิภาค. แหล่งข้อมูล: http://www.tpso.moc.go.th/monthly. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. มะเขือเทศ: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ พันธุ์โรงงาน และบริโภค ปี 2564. แหล่งข้อมูล: www.oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดมะเขือเทศ/TH-TH. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566.
เสาวนี เขตสกุล, รัชนี ศิริยาน, จิรภา ออสติน, อรรถพล รุกขพันธ์, กัลยา เกาะกากลาง, ปัญจพล สิริสุวรรณมา และบุญญาภา ศรีหาตา. 2563. การเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์มะเขือเทศผลใหญ่เพื่อการแปรรูป. แหล่งข้อมูล: www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2021/09/การเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์มะเขือเทศผลใหญ่เพื่อการแปรรูป.pdf. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567.
บุญส่ง เอกพงษ์. 2557. มะเขือเทศอุตสาหกรรมลูกผสมเปิดพันธุ์ใหม่ UBU 406. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 16(1): 76-82.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2565. การส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุม ปี 2565. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2023/02/Export-all-year-65.pdf. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2564. วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าไทยรายภูมิภาค. แหล่งข้อมูล: http://www.tpso.moc.go.th/monthly. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. มะเขือเทศ: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ พันธุ์โรงงาน และบริโภค ปี 2564. แหล่งข้อมูล: www.oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดมะเขือเทศ/TH-TH. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566.
Adams, S. R., K. E. Cockshull, and C. R. J. Cave. 2001. Effect of temperature on the growth and development of tomato fruits. Annals of Botany. 88(5): 869-877.
Akarapisan, A., A. Kumvinit, C. Nontaswatsri, T. Puangkrit, and W. Kositrstsna. 2022. Phylotype, sequevar and pathogenicity of Ralstonia solanaceaum species complex from Northern Thailand. Journal of Phytopathology. 170: 176-184.
Artal, R. B., C. Gopalakrishnan, and B. Thippeswamy. 2012. An efficient inoculation method to screen tomato, brinjal and chilli entries for bacterial wilt resistance. Pest Management in Horticultural Ecosystems. 18(1): 70-73.
Aslam, M. N., T. Mukhtar, and M. A. Hussain. 2017. Assessment of resistance to bacterial wilt incited by Ralstonia solanacearum in tomato germplasm. Journal of Plant Diseases and Protection. 124: 585-590.
Bittner, R. J., C. Arellano, and A. L. Mila. 2016. Effect of temperature and resistance of tobacco cultivars to the progression of bacterial wilt, caused by Ralstonia solanacearum. Plant and Soil. 408: 299-310.
Carmeille, A., C. Caranta, J. Dintinger, P. Prior, J. Luisetti, and P. Besse. 2006. Identification of QTLs for Ralstonia solanacearum race 3-phylotype II resistance in tomato. Theoretical and Applied Genetics. 113: 110-121.
Chowdappa, P., B. J. Nirmal Kumar, S. Madhura, S. P. Mohan Kumar, K. L. Myers, W. E. Fry, and D. E. L. Cooke. 2015. Severe outbreaks of late blight on potato and tomato in South India caused by recent changes in the Phytophthora infestans population. Plant Pathology. 64: 191-199.
Genin, S. 2010. Molecular traits controlling host range and adaptation to plants in Ralstonia solanacearum. New Phytologist. 187: 920-928.
Gomez, K. A., and A. A. Gomez. 1984. Statistical Procedures for Agricultural Research. 2nd Edition. John Wiley and Sons, New York.
Hanson, P. M., J. Wang, O. Licardo, S. Y. Mah, G. L. Hartman, Y. Lin, and J. Chen. 1996. Variable reaction of tomato lines to bacterial wilt evaluated at several locations in Southeast Asia. HortScience. 31(1): 143-146.
Hayward, A. 1991. Biology and epidemiology of bacterial wilt caused by Pseudomonas solanacearum. Annual Review of Phytopathology. 29: 65-87.
Imas, P. 2003. Recent techniques in fertigation horticultural crops in Israel, pp.1-15 In IPI-PRII-KKV Workshop on: recent trends in nutrition management in horticultural crops, 11-12 February 1999. Dapoli Mahashtra, India.
Kittas, C., M. Karamanis, and N. Katsoulas. 2005. Air temperature regime in a forced ventilated greenhouse with rose crop. Energy and Buildings. 37(8): 807-812.
Kunwar, S., Y. C. Hsu, S. F. Lu, J. F. Wang, J. B. Jones, S. Hutton, M. Paret, and P. Hanson. 2020. Characterization 3333 of tomato (Solanum lycopersicum) accessions for resistance to phylotype I and phylotype II strains of the Ralstonia solanacearum species complex under high temperatures. Plant Breeding. 139: 389-401.
Lebeau, A., M. C. Daunay, A. Frar, A. Palloix, J. F. Wang, J. Dintinger, and P. Prior. 2011. Bacterial wilt resistance in tomato, pepper, and eggplant: genetic resources respond to diverse strains in the Ralstonia solanacearum species complex. Phytopathology. 101(1): 154-165.
Lopes, C. A., A. M. Quezado‐Soares, and P. E. De Melo. 1994. Differential resistance of tomato cultigens to biovars I and III of Pseudomonas solanacearum. Plant Disease. 78: 1091-1094.
Opena, R. T, G. L. Hartman, J. T. Chen, and C. H. Yang. 1990. Breeding for Bacterial Wilt Resistance in Tropical Tomato. Genting Highlands Press, Malaysia.
Prior, P., H. Steva, and P. Cadet. 1990. Aggressiveness of strains of Pseudomonas solanacearum from the French West Indies (Martinique and Guadeloupe) on tomato. Plant Disease. 74: 962-965.
Prior, P., S. Bart, S. Leclercq, A. Darrasse, and G. Anais. 1996. Resistance to bacterial wilt in tomato as discerned by spread of Pseudomonas (Burholderia) solanacearum in the stem tissues. Plant Pathology. 45: 720-726.
Shin, I. S., J. C. Hsu, S. M. Huang, J. R. Chen, J. F. Wang, P. Hanson, and R. Schafleitner. 2020. Construction of a single nucleotide polymorphism marker based QTL map and validation of resistance loci to bacterial wilt caused by Ralstonia solanacearum species complex in tomato. Euphytica. 216: 54.
Thammakijjawat, P., N. Thaveechai, W. Kositratana, J. Chunwongse, R. D. Frederick and N. W. Schaad. 2001. Genetic analysis of Ralstonia solanacearum strains from different hosts in Thailand using PCR-restriction fragment length polymorphism. Agriculture and Natural Resources. 35(4): 397-408.
Vieira, D. A. D. P., M. Caliari, E. R. B. D. Souza, and M. S. Soares. 2019. Mechanical resistance, biometric and physicochemical characteristics of tomato cultivars for industrial processing. Food Science and Technology. 39: 363-370.