ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบและดอกต่อการหลุดร่วงของดอกและผลผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบและดอกเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อความสมบูรณ์ของดอกซึ่งนำไปสู่การติดผลและปริมาณผลผลิต ปัจจุบันทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่มีมูลค่าและมีต้นทุนการจัดการสูง การศึกษานี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบและดอก ต่อการหลุดร่วงของดอกและการติดผลของทุเรียน เพื่อเป็นข้อมูลส่งเสริมในการดูแลต้น ตั้งแต่ระยะการออกดอก ลดการหลุดร่วงของดอก และเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยปริมาณคาร์โบไฮเดรต (กลูโคส ซูโครส ฟรุกโตส และแป้ง) ในใบและดอกทุเรียนถูกศึกษา 3 ระยะการพัฒนา คือ ระยะมะเขือพวง ระยะหัวกำไล และระยะหางแย้ สุ่มเลือกต้นทุเรียนหมอนทองจำนวน 10 ต้น อายุ 9-10 ปี ที่ต้นสม่ำเสมอกัน เก็บตัวอย่างดอกและใบ มาวิเคราะห์ปริมาณคาร์โบไฮเดรต และติดตามการหลุดร่วงของดอก เมื่อวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าสามารถแบ่งต้นทุเรียนได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มต้นดอกร่วงน้อย (60%-70%) ปานกลาง (70%-87%) และมาก (87%-93%) จากนั้นเมื่อนำต้นทุเรียนในแต่ละกลุ่มมาศึกษาปริมาณคาร์โบไฮเดรต พบว่า กลุ่มต้นดอกร่วงน้อยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตทุกชนิดในดอกสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะระยะหางแย้ และมีเปอร์เซ็นต์การติดผลสูงที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของปริมาณคาร์โบไฮเดรตในดอกและใบต่อการติดผล พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์เชิงสถิติต่อกัน ในส่วนของคุณภาพผลผลิต พบว่า ทุเรียนทั้ง 3 กลุ่มมีน้ำหนักและขนาดผลใกล้เคียงกัน แต่กลุ่มต้นดอกร่วงน้อยมีแนวโน้มให้ค่าน้ำหนักเนื้อผลสูงที่สุด จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า การมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตในดอกและใบสูง สัมพันธ์กับการพัฒนาการของดอกที่ดีขึ้น หลุดร่วงน้อยลง และมีแนวโน้มทำให้น้ำหนักเนื้อของผลผลิตสูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2564. ประกาศโฆษณาการรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. เล่มที่ 58. กระทรวงพาณิชย์, จันทบุรี.
กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2563. ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย ถูกใจคนต่างแดน. กระทรวงพาณิชย์, กรุงเทพฯ.
คณพล จุฑามณี, จุติภรณ์ ทัสสกุลพนิช และวีรศิลป์ สอนจรูญ. 2563. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การผลิตทุเรียนคุณภาพแม่นยำโดยการตรวจติดตามสุขภาพต้นร่วมกับการจัดการดอกและผล”. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตพืช สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ.
เจียไต๋. 2563. ระยะพัฒนาการดอกทุเรียน. แหล่งข้อมูล: https://www.chiataigroup.com/article-detail/PPB-AtonikDurian-MrNisin. ค้นเมื่อ 4 เมษายน 2566.
ปรเมศร์ อมาตยกุล และเทวินทร์ โจมทา. 2559. อุตุนิยมวิทยาน่ารู้เพื่อการเกษตรจังหวัดจันทบุรี. กรมอุตุนิยมวิทยา, กรุงเทพฯ.
วิเชียร ทองพันชั่ง. 2546. ทุเรียน: คู่มือการปลูก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการหนังสือเกษตรชุมชน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุมิตร คุณเจตน์. 2561. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การศึกษาปริมาณความต้องการน้ำและวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมสำหรับทุเรียนพันธุ์หมอนทอง”. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน). มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี, จันทบุรี.
Alcaraz, M.L., J.I. Hormaza, and J. Rodrigo. 2013. Pistil starch reserves at anthesis correlate with final flower fate in avocado (Persea americana). PLOS One. 8: 1-10.
Boldingh, H.L., M.L. Alcaraz, T.G. Thorp, P.E.H. Minchin, N. Gould, and J.I. Hormaza. 2016. Carbohydrate and boron content of styles of ‘Hass’ avocado (Persea americana Mill.) flowers at anthesis can affect final fruit set. Scientia Horticulturae. 198: 125-131.
Borghi, M., and A.R. Fernie. 2017. Floral metabolism of sugars and amino acids: implications for pollinators’ preferences and seed and fruit set. Plant Physiology. 175: 1510-1524.
Honsho, C., K. Yonemori, S. Somsri, S. Subhadrabandhu, and A. Sugiura. 2004. Marked improvement of fruit set in Thai durian by artificial cross-pollination. Scientia Horticulturae. 101: 399-406.
Lee, J.S., and M.S. Roh. 2011. Carbohydrate changes during flower senescence of the Easter lily (Lilium longiflorum Thunb.). Acta Horticulturae. 900: 295-300.
Megazyme. 2020a. Sucrose, D-Fructose and D-Glucose Assay Procedure. Bray Business Park, Bray, Ireland.
Megazyme. 2020b. Total Starch Assay Procedure. Bray Business Park, Bray, Ireland.
Netlak, P., and W. Imsabai. 2016. Role of carbohydrates in petal blackening and lack of flower opening in cut lotus (Nelumbo nucifera) flowers. Agriculture and Natural Resources. 50: 32-37.
Shakya, R., and M.A. Lal. 2018. Photoassimilate Translocation. p.227-251. In: R. Shakya and M.A. Lal. Plant Physiology, Development and Metabolism. Springer, Singapore.
Vemmos, S. N. 1995. Carbohydrate changes in flowers, leaves, shoots and spurs of ‘Cox’s Orange Pippin’apple during flowering and fruit setting periods. Journal of Horticultural Science. 70: 889-900.
Xiao, W., J. Sheen, and J.C. Jang. 2000. The role of hexokinase in plant sugar signal transduction and growth and development. Plant Molecular Biology. 44: 451-461.