สัณฐานวิทยาและการประเมินพันธุ์หอมแดงเพื่อการปรับปรุงพันธุ์

Main Article Content

ปภัสสร กุมภาพันธ์
กมล ทิพโชติ
ศิวาพร ธรรมดี
จุฑามาส คุ้มชัย

บทคัดย่อ

หอมแดงเป็นพืชผักที่มีความสำคัญ นำมาบริโภคในครัวเรือนและอุตสาหกรรม ปลูกมากในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หอมแดงที่ปลูกในประเทศไทยไม่ทราบที่มาและสายพันธุ์ที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงได้รวบรวมพันธุ์หอมแดงจากจังหวัดเชียงใหม่ (CMI) ชัยภูมิ (CPM) เชียงราย (CRI) ขอนแก่น (KKN) ลำพูน (LPN) แม่ฮ่องสอน (MSN) นครราชสีมา (NMA) เพชรบูรณ์ (PNB) พะเยา (PYO) ศรีสะเกษ (SSK) อุตรดิตถ์ (UTT) อินโดนีเซีย (IDO) และหอมแขกจากอินเดีย (IND) เพื่อประเมินความหลากหลายทางสัณฐานวิทยา โดยปลูกประเมินในฤดูหนาวปี 2565 จำนวน 27 เบอร์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก ผลการทดลอง จำแนกสีของหัวได้ 3 สี ได้แก่ สีแดง สีเหลืองส้ม และสีขาว ลักษณะของใบจำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ใบตั้งตรง และใบโค้งงอ หอมแขก IND01 มีความกว้างใบ จำนวนช่อดอก และความกว้างช่อดอกมากที่สุดเท่ากับ 9.68 มิลลิเมตร 4.5 ดอกต่อกอ และ 79.16 มิลลิเมตร ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างน้ำหนักหลังตากแห้งกับจำนวนใบ ความยาวใบ ความกว้างใบ จำนวนหัว และเส้นรอบวงของหัว เท่ากับ 0.30, 0.22, 0.14, 0.49 และ 0.04  ตามลำดับ โดยสายพันธุ์ NMA08 และ NMA09 มีน้ำหนักผลผลิตหลังตากผึ่งลมสูง เท่ากับ 3,225.49 และ 3,356.23 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ NMA07 มีขนาดเส้นรอบวงของหัวเท่ากับ 12.14 เซนติเมตร ซึ่งมีค่าสูงกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ NMA08 และ NMA09 โดยมีค่าอยู่ในช่วง 9.88 ถึง 9.93 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม NMA07, NMA08 และ NMA09 มีค่าต่ำกว่าหอมแขก IND01 ดังนั้นหอมแดง NMA07, NMA08 และ NMA09 มีการเจริญเติบโตที่ดีและให้น้ำหนักผลผลิตสูง จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้เพื่อการปรับปรุงพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรไทยเพาะปลูกต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2565. ข้อมูลอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด และปริมาณฝน ของภาคเหนือ. แหล่งข้อมูล: http://www.cmmet.tmd.go.th/forecast/pt/Max_Min_Rainfall.php. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2566. ข้อมูลอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด และปริมาณฝน ของภาคเหนือ. แหล่งข้อมูล: http://www.cmmet.tmd.go.th/forecast/pt/Max_Min_Rainfall.php. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.

กฤษณ์ ลินวัฒนา. 2556. รายงานโครงการวิจัยกรมวิชาการเกษตร การจำแนกพันธุ์หอมแดงและหอมแดงลูกผสม. แหล่งข้อมูล: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292204. ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566.

จันทร์เพ็ญ แสงประกาย, เกศศิณี ตระกูลทิวากร, เพลินใจ ตังคณะกุล และชอลัดดา เที่ยงพุก. 2555. ฤทธิ์ต้านการแบ่งเซลล์ของพืชบางชนิดที่เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงเขียวหวานต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี). 4(7): 23-36.

ณัฐธิกา วรรณรัตน์ และเกวลิน คุณาศักดากุล. 2559. การผลิตหอมแดงปลอดเชื้อไวรัสด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารเกษตร. 32(3): 347-356.

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. 2566. เกษตรกรหอมแดงที่ศรีสะเกษกำลังเดือดร้อนเพราะหอมแขกจากต่างชาติทะลักเข้ามากดราคา. แหล่งข้อมูล: https://www.moveforwardparty.org/news/16481. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566.

สมาคมดาราศาสตร์ไทย. 2565. ปรากฏการณ์ท้องฟ้า. แหล่งข้อมูล: https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/sunmoon/riseset.html. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.

สมาคมดาราศาสตร์ไทย. 2566. ปรากฏการณ์ท้องฟ้า. แหล่งข้อมูล: https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/sunmoon/riseset.html. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ปริมาณผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตหอมแดง ประจำปี 2565. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/prcaidata/files/shallot%2065.pdf. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.

สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2551. หอมแดง มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. แหล่งข้อมูล: https://www.acfs.go.th/standard/download/shallot.pdf. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.

ศิวาพร ธรรมดี, จุฑามาส คุ้มชัย และเกวลิน คุณาศักดากุล. 2565. นวัตกรรมการผลิตดอกหอมแดงนอกฤดู ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.gosmartfarmer.com/innovation/2588. ค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2566.

Choi, Y.S., K. Sunggil, and L. Jundae. 2020. Construction of an onion (Allium cepa L.) genetic linkage map using genotyping-by-sequencing analysis with a reference gene set and identification of QTLs controlling anthocyanin synthesis and content. Journal of Plants. 9(616): 1-17.

Hao, Q.V.U., M. Iwata, N. Yamukuchi, and M. Shigyo. 2011. Production of novel alloplasmic male sterile lines in Allium cepa harbouring the cytoplasm from Allium roylei. Journal of Plant Breeding. 130: 469-475.

Ibbara, M., F. Perez-Vizcaino, A. Cogolludo, J. Duart, F. Zaragoza-Arnaez, and J.G. Lopez-Lopez. 2002. Cardiovascular effects of isorhamnetin and quercetin in isolated rat and porcine vascular smooth muscle and isolated rat atria. Journal of Medicinal Plant and Natural Product Research. 68: 307-310.

International Plant Genetic Resources Institute (IPGRI); European Cooperative Program for Crop Genetic Resources Networks (ECPGR); Asian Vegetable Research and Development Center (AVRDC). 2001. Descriptors for Allium (Allium spp.). Available: http://www.bioversityinternational.org. Accessed Jul. 21, 2023.

Jones, H.A. 1963. Onion and their Allies ed. Interscience Publishers, New York.

Kavitha, S.J., and P.V.R. Reddy. 2018. Floral biology and pollination ecology of onion (Allium cepa L.). Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry. 7(6): 2081-2084.

Kavitha, S.J., and P.V.R. Reddy. 2019. Influence of floral nectar quantity and quality on honey bee foraging activity in onion. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry. 7(3): 92-96.

Khokhar, K.M. 2017. Environmental and genotypic effects on bulb development in onion. Journal of Horticultural Science and Biotechnology. 92(5): 448-454.

Markme, S. 2017. Shallot (Allium ascalonicum) germplasm collection and genetic diversity study using SSR markers. Thesis. Maejo University, Chiang Mai.

Mnayer, D., A.S. Fabiano-Tixier, E. Petitcolas, T. Hamieh, N. Nehme, C. Ferrant, X. Fernandez, and F. Chemat. 2014. Chemical composition, antibacterial and antioxidant activities of six essentials oils from the Alliaceae family. Journal of Molecular Diversity Preservation International. 19: 20034-20053.

Okporie, E.O., and I.I. Ekpe. 2008. Effect of Photoperiod on the growth and bulbing of tropical onion (Allium cepa L.) varities. World Journal of Agricultural Sciences. 4(1): 36-39.

Shigyo, M., Y. Tashiro, S. Isshiki, and S. Miyazaki. 1996. Establishment of a series of alien monosomic addition lines of Japanese bunching onion (Allium fistulosum L.) with extra chromosomes from shallot (A. cepa L. Aggregatum group). Journal of Genes and Genetic Systems .71: 363-371.

Sun, W., M.H. Shahrajabian, and Q. Cheng. 2019. The insight and survey on medicinal properties and nutritive components of Shallot. Journal of Medicinal Plant Research. 13(18): 452-457.