แนวทางการส่งเสริมการเกษตรภายหลังการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการผลิตข้าว ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อภิชัย กะตะศิลา
ยศ บริสุทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเกษตรภายหลังการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการผลิตข้าว ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวตำบลจรเข้มาก ปี 2564 จำนวน 20 ราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – เดือนตุลาคม 2565 โดยใช้แบบสัมภาษณ์และการจัดเวทีระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 53.20 ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาร้อยละ 40 มีแรงงานภาคเกษตรเฉลี่ย 2.05 คน มีที่ดินทำการเกษตรเฉลี่ย 28.75 ไร่ต่อครัวเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่ มีความลาดชัน 0-2% ทุกรายอาศัยน้ำฝนในการทำการเกษตร  มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 20.95 ไร่ต่อครัวเรือน รายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 57,870 บาทต่อปี เกษตรกรมีความต้องการรูปแบบงานก่อสร้าง คือ ขุดบ่อดักตะกอนดินและ/หรือขุดร่องข้างคันนาเป็นหลัก เพื่อกักเก็บและกระจายน้ำในพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชบริเวณคันบ่อหรือคันนาที่สูงและใหญ่ขึ้น ความคาดหวังของเกษตรกรหลังได้รับการปรับรูปที่ดินตามแบบที่เลือกไว้ แบ่งเป็น 3 ประการ คือ (1) เพื่อความมั่นคงทางอาหาร (2) เพื่อความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ (3) เพื่อเป็นมรดกของลูกหลาน และแนวทางการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกร แบ่งเป็น 3 ประการ คือ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ไฟฟ้า และถนนเชื่อมต่อกับพื้นที่ทำการเกษตร (2) การส่งเสริมเงินทุนเพื่อการเกษตร และ (3) การพัฒนาความรู้ด้านการเกษตรและตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2557. คู่มือการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม Zoning. แหล่งข้อมูล: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER073/GENERAL/DATA0000/

PDF. ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2563.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2563. แผนที่ปลูกข้าวในชั้นความเหมาะสมระดับต่างๆ ตาม Agri – Map Online. แหล่งข้อมูล: http://www.agri-map-online.moac.go.th. ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563.

กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน. 2556. การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning). แหล่งข้อมูล: http://

www.webapp.ldd.go.th/lpd/zoning1.php. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2563.

กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน. 2561. คู่มือการปฏิบัติงานโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

กีรติพร จูตะวิริยะ และพัชรินทร์ ลาภานันท์. 2557. เกษตรผสมผสาน: ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของเกษตรกรอีสานภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์. สังคมลุ่มน้ำโขง. 10: 25-48.

จริยาภรณ์ ปิตาทะสังข์. 2565. แนวทางการขยายผลแนวคิดการเกษตรแบบ 1 ไร่ 1 แสน ของปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน. วิชาการ มจร บุรีรัมย์. 7: 250-263.

ทรงภพ เมฆพรรณโอภาส, อำภา บัวระภา และธีรดา นามไห. 2563. การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. สถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง. 2: 41-51.

ปภพ จี้รัตน์, พุฒิสรรค์ เครือคำ, พหล ศักดิ์คะทัศน์ และสายสกุล ฟองมูล. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 36: 55-67.

รัฐพงษ์ จันทคณานุรักษ์, ศุภพร ไทยภักดี และพันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง. 2558. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรกับการพัฒนาการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. อิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 8: 329-346.

รัตนะ สวามีชัย. 2559. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน. รัฏฐาภิรักษ์. 58: 56-75.

วิกมล ดำด้วงโรม, นวัสนันท์ วงค์ประสิทธิ์ และจำเนียร จวงตระกูล. 2564. รูปแบบการจัดการเกษตรผสมผสานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6: 164-182.

วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. 2558. รูปแบบการทำเกษตรประณีตสำหรับผู้สูงอายุ. ร่มพฤกษ์. 33: 75-96.

สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์. 2563. โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมตามแผนที่เกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri–Map) ปี 2564 ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

สภาผู้แทนราษฎร. 2563. ผลประชุมกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม. แหล่งข้อมูล: https://www.parliament.

go.th/ewtcommittee/ewt/25_agricultureprice/ewt_dl_link.php?nid=342&filename=index. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2563.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). 2565. เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ความคุ้มค่าของเกษตรกร. แหล่งข้อมูล: https://www.arda.or.th/knowledge_ detail.php?id=45. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2565.

สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 3. 2561. โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมตามแผนที่เกษตรเชิงรุก. กลุ่มสำรวจเพื่อทำแผนที่ สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 3, นครราชสีมา.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2562. เอส.บี.เค. การพิมพ์, สมุทรปราการ.

โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, วิษณุ อรรถวานิช และบุญธิดา เสงี่ยมเนตร. 2561. จุลทรรศน์ภาคเกษตรไทยผ่านข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและสำมะโนเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.pier.or.th/abridged/2018/09/. ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2566 .

อมรพิมล พิทักษ์. 2563. การพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Bill and Melinda Gates Foundation. 2011. Agricultural development. Available: https://www.docs.

gatesfoundation.org/documents/agricultural-development-strategy-overview.pdf. Accessed Nov. 27, 2020.

Hamid, H., S. A. Asnarulkhadi, and M. Norsida. 2013. The level of perceptions toward agriculture land development programme among Orang Asli in Pahang, Malaysia. Asia Social Issues. 9: 151-159.