ความต้องการการส่งเสริมการผลิตสับปะรดภูแลของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วิมลสิริ หงษ์คำ
สุรพล เศรษฐบุตร
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล
แสงทิวา สุริยงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการส่งเสริมการผลิตสับปะรดภูแลในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภูแลในตำบลบ้านดู่ และตำบลแม่ยาว จำนวน 145 ราย จากการศึกษา พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.90 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้น ประสบการณ์ในการปลูกสับปะรดเฉลี่ย 11.50 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่มีช่องทางจำหน่ายสับปะรดผ่านทางพ่อค้าคนกลาง มีพื้นที่ในการเพาะปลูกสับปะรดเฉลี่ย 13.23 ไร่ โดยใช้เงินทุนของตนเองในการเพาะปลูกสับปะรด และในปี พ.ศ.2564 เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายสับปะรดเฉลี่ย 22,516.55 บาทต่อรอบการผลิต เกษตรกรได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกสับปะรด จากเกษตรกรเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรมีความต้องการความรู้ในการผลิตสับปะรดในระดับน้อย ( = 1.52) และความต้องการได้รับการถ่ายทอดความรู้ผ่านวิธีการส่งเสริมการเกษตรในการผลิตสับปะรดภูแลในระดับน้อย ( = 1.40) อย่างไรก็ตามเกษตรกรประสบปัญหาเรื่องเงินทุนในการผลิตสับปะรด และราคาผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการความรู้ในการผลิตสับปะรดภูแลของเกษตรกร (Y1) พบว่า แหล่งเงินทุนในการเพาะปลูก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ อายุ ปริมาณผลผลิตมีความสัมพันธ์เชิงลบกับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการได้รับการถ่ายทอดความรู้ผ่านวิธีการส่งเสริมการเกษตร (Y2) พบว่า แหล่งเงินทุนในการเพาะปลูกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ อายุ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2562. สิ่งค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI THAILAND). กรมทรัพย์สินทางปัญญา. กระทรวงพาณิชย์.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2564. ข้อมูลเกษตรกรในปี 2564. แหล่งข้อมูล https://production.doae.go.th/service/site/login. ค้นเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2564.

พรรณวดี ทองแดง. 2545. การผลิตและการตลาดสับปะรดจังหวัดเพชรบุรี. สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี. กรมส่งเสริมการเกษตร.

ศราวุธ ศิริลักณ์. 2562. การผลิตสับปะรดและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรในอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

ศศินันท์ ศาสตร์สาระ. 2564. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 (กันยายน- นวาคม). หน้า 298-313. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ.

สมบัติ ทรงโฉม. 2540. การผลิตสับปะรดของเกษตรกรภายใต้ระบบตลาดข้อตกลงในจังหวัดชลบุรี ปี พ.ศ.2538. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย. 2564. เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. กรมส่งเสริมการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุพัฒตรา คณานิตย์, ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และชัยชาญ วงษ์สามัญ. 2560. ความต้องการของเกษตรกรต่อการได้รับการพัฒนาการเกษตร จากองค์การบริหารส่วนตำบลหว้าทอง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร. 45(1): 1515-1521.

สุรินทร์ นิยมมางกูร. 2561. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่าง: ความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

โสภณ ยอดพรหม. 2546. ความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์. มหาวทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

อรพิน ทุ่งก่อ. 2564. ต้นทุนและผลตอบเทนจากการจำหน่ายสับปะรดภูแล ในเขตบ้านโป่งพระบาท ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อรรณพ สอนชา, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, ภรณี ต่างวิวัฒน์ และอมรภัทร์ อูปแก้ว. 2560 .ความต้องการการส่งเสริมการผลิตสับปะรดของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

อรัญญา ชื่นจิต. 2562. ความต้องการวิธีการส่งเสริมการผลิตพริกของเกษตรกรในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

Cronbach, L.J. 1990. Essentials of Psychological testing (5thed). New York: HarperCollins. Publishers, p.202-204.

Yamane, T. 1973. Statistics an introductory analysis. New York Harper and Row.