ความหลากชนิด และความชุกชุมของผีเสื้อกลางคืน ในพื้นที่เกษตรแบบผสมผสาน ตำบลน้ำสวย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิด และความชุกชุมของผีเสื้อกลางคืนในพื้นที่เกษตรแบบผสมผสาน ตำบลน้ำสวย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย สำรวจตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ตั้งแต่เวลา 19.00 ถึง 24.00 น. โดยใช้กับดักแสงไฟ พบผีเสื้อกลางคืนทั้งหมด 299 ตัว 12 วงศ์ 75 สกุล 89 ชนิด ได้แก่ วงศ์ Arctiidae พบ 13 ชนิด วงศ์ Crambidae พบ 1 ชนิด วงศ์ Erebidae พบ 12 ชนิด วงศ์ Eupterotidae พบ 2 ชนิด วงศ์ Geometridae พบ 13 ชนิด วงศ์ Lasiocambidae พบ 3 ชนิด วงศ์ Lymantriidae พบ 3 ชนิด วงศ์ Noctuidae พบ 20 ชนิด วงศ์ Notodontidae พบ 4 ชนิด วงศ์ Pyralidae พบ 3 ชนิด วงศ์ Sphingidae พบ 14 ชนิด และวงศ์ Uraniidae พบ 1 ชนิด ค่าดัชนีความหลากหลาย (H´) เท่ากับ 3.63 Hmax เท่ากับ 4.48 ค่าดัชนีความสม่ำเสมอการกระจายจำนวน (J´) เท่ากับ 0.81 ค่าดัชนีจำนวนของชนิดพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ (expH´) เท่ากับ 37.89 ค่าดัชนีความเด่น (D) เท่ากับ 0.05 ค่าความชุกชุมสัมพัทธ์พบว่าผีเสื้อกลางคืนชนิดชนิด Amata sperbius และ Erebus hieroglyphica มีความชุกชุมสัมพัทธ์สูงสุด ผีเสื้อกลางคืนชนิด Creatonotos transiens มีค่าการปรากฏสูงที่สุด และค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึง (Ss) พบว่าในเดือนมิถุนายน 2565 และเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงสูงสุด เท่ากับ 0.40 และพบผีเสื้อกลางคืนที่เป็นแมลงศัตรูพืชทั้งหมด 9 ชนิด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติ ตันเมืองปัก, ชุลีพร ขันทวี, อติพร สหสมบูรณ์, พรชนก บุญลับ และประยูร ชุ่มมาก. 2560. ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางคืนในเขตวนอุทยานผางาม จังหวัดเลย. น. 1140-1146. ใน: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 22 ธันวาคม 2560. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.
กีรติพร จูตะวิริยะ และพัชรินทร์ ลาภานันท์. 2557. เกษตรผสมผสาน: ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของเกษตรกรอีสานภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 10: 25-48.
กรมอุตุนิยมวิทยา. 2567. ความรู้อุตุนิยมวิทยา. แหล่งข้อมูล: https://tmd.go.th/info/subpage-info. ค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2567.
เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์. 2546. คู่มือผีเสื้อ. สำนักพิมพ์สารคดี. กรุงเทพฯ.
เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง. 2546. การฟื้นตัวของทรัพยากรป่าไม้ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างปี พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2545. งานวิจัยในโครงการศึกษาเพื่อจัดทำผังแม่บทและแผนแม่บทการบริหารจัดการ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตและสถานที่ท่องเที่ยวเชิงพัฒนา” ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
จิรายุทธ บัวฮองแสง และกิตติ ตันเมืองปัก. 2565. ความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทากบกในพื้นที่เกษตรแบบผสมผสาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. แก่นเกษตร. 50: 76-87.
ณภาภัช ไชยน้ำอ้อม, นิศากร รังมาตย์, สมัชญา เนตรวงศ์ และพิณฐชา ก้อนศร. 2564. ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางคืนในเขต วัดป่าวังเกาะเกิ้ง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 9: 103-112.
ณิชานันท์ แดงรอด และพิเชษฐ์ พูลประเสริฐ. 2557. ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางคืน บริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. น. 104-108. ใน: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการงานเกษตรนเรศวร ครั้งที่ 12 28-29 ตุลาคม 2557. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว และอังศุมาลย์ จันทราปัตย์. 2550. ความหลากชนิดของผีเสื้อหนอนม้วนใบวงศ์ย่อย Olethreutinae ในอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. น. 304-311 ใน: รายงานการวิจัยในโครงการ BRT 2550: ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก 1 ธันวาคม 2550. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
เผดิมศิลป์ รามศิริ, วิสุทธิ์ ทาแก้ว และวิสุทธิ์ ใสสะอาด. 2559. ความหลากหลายของด้วงคีมในอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. น. 207-213. ใน: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 15-17 มิถุนายน 2559. โรงแรม ดิ อิมเพรส น่าน, น่าน.
พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2562. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 6. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พลับลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ.
รุจ มรกต, พงศ์เทพ สุวรรณวารี, วณิชยา จรูญพงษ์, เหิรพักตร สุจิรา, สุกัญญา ลาภกระโทก, ปัทมา บุญทิพย์ และวิชชุดา อุยดอน. ความหลากหลายของผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน แมลงในดิน และแมลงน้ำ ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช อพ.สธ. เขื่อนน้ำพุง จังหวัดสกลนคร. รายงานโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ. 2553. ผีเสื้อกลางคืนในหุบเขาลำพญา. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สุขสวัสดิ์ พลพินิจ. 2560. ผีเสื้อกลางคืนในประเทศไทย เล่ม 1. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
เสาวภา สนธิไชย. 2542. ความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนในบริเวณดอยเชียงดาว. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. 15: 23-31.
อารีญา สาสุข และกิตติ ตันเมืองปัก. 2565. ความหลากชนิดและความชุกชุมของผีเสื้อกลางคืน ในเขตพื้นที่เกษตรกรรม ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย. น. 60-72. ใน: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 4 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน 8 เมษายน 2565. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
Ashton, L. A., H. S. Barlow, A. Nakamura, and R. L. Kitching. 2015. Diversity in tropical ecosystems: the species richness and turnover of moths in Malaysian rainforests. Insect Conservation and Diversity. 8: 132-142.
Aslam, M. 2009. Diversity, species richness and evenness of moth fauna of Peshawar. Pakistan Entomologist. 31: 99-102.
Barlow, H. J., and B. Abrera. 1982. An Introduction to the Moths of South East Asia. Malayan Nature Society. Kuala Lumpur.
Cerny, K., and A. Pinratana. 2009. Moths of Thailand, Vol. 6: Arctiidae. Brothers of St Gabriel. Thailand.
Dar, A. A., K. Jamal, A. Alhazmi, M. El-Sharnouby, M. Salah, and S. Sayed. 2021. Moth diversity, species composition, and distributional pattern in Aravalli Hill Range of Rajasthan, India. Saudi Journal of Biological Sciences. 28: 4884-4890.
Google Earth. 2023. Nam Suay School. Available: https://www.earth.google.com. Accessed Oct. 20, 2023.
Heip, C. H. R., P. M. J. Herman, and K. Soetaert. 1998. Indices of diversity and evenness. Oceanis. 24: 61-87.
Hill, M. 1973. Diversity and evenness: a unifying notation and its consequences. Ecology. 54: 427-432.
Hubalek, Z. 2000. Measures of species diversity in ecology: An evaluation. Folia Zoologica. 49: 241–260.
Inoue, H., R. D. Kennett, and I. J. Kitching. 1997. Moths of Thailand, Vol. 2: Sphingidae. Chok Chai Press. Bangkok.
Jaroensutasinee, M., W. Pheera, R. Ninlaeard, K. Jaroensutasinee, and S. Choldumrongkul. 2011. Weather affecting macro-moth diversity at Khao Nan National Park, Thailand. Walailak Journal. 8: 21-31.
Khan, H., and F. Perveen. 2015. Distribution of butterflies Family Nymphalidae in Union Council Koaz Bahram Dheri, Khyber Pakhtunkhwa, Pakistan. Social and Basic Sciences Research Review. 31: 52–57.
Kononenko, V. S., and A. Pinrattana. 2004. Moths of Thailand, Vol. 3: Noctuidae Part 1 Herminiinae, Rivulinae, Pypeninae, Catocalinae, Aganainae, Euteliinae, Stictopterinae, Plusiinae, Pantheinae, Acronictinae and Agaristinae. Conch Books. Germany.
Krebs, C. T. 1999. Ecological methodology. 2nd Edition. Addison-Welsey Longman, Inc. California.
Odum, E. P. 1971. Fundamental of ecology. 2nd Edition. W. B. Saunders Comp. London.
Ricotta, C., and E. Feoli. 2024. Hill numbers everywhere. Does it make ecological sense?. Ecological Indicators. 161: article ID 111971.
Sanyal, A. K., V. P. Uniyal, K. Chandra, and M. Bhardwaj. 2013. Diversity distribution pattern and seasonal variation in moth assemblages along altitudinal gradient in Gangotri landscape area, western Himalaya, Uttarakhand, India. Journal of Threatened Taxa. 5: 3646-3653.
Schintlmeister, A., and A. Pinratana. 2007. Moths of Thailand, Vol. 5: Notodontidae. Brothers of St Gabriel. Thailand.
Thakur, A. K. 2016. A report of the impact of some ecological factors on the diversity of Creatonotos transiens Walker (Lepidoptera: Noctuidae) at Ranchi, Jharkhand. The Biobrio. 3: 179-182.
Triplehorn, C. A., and N. F. Johnson. 2005. Borror and Delong’s introduction of the study of insect. 7th Edition. Peter Marshall Publishing, California.
van Nieukerken, E. J., L. Kaila, I. J. Kitching, N. P. Kristensen, D. C. Lees, J. Minet, and A. Zwick. 2011. An outline of higher-level classification and survey of taxonomic richness. Zootaxa. 3148: 212-221.
Zolotuhin, V. V., and A. Pinratana. 2005. Moths of Thailand. Vol. 4. Lasiocampidae. Hermann L. Strack. France.