ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติของเกษตรกรต่อการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาในอำเภอ นายายอาม จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

กวินภพ ประเสริฐ
ณฐิตากานต์ พยัคฆา
จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟสายพันธุ์ อะราบิกา 2) ประเมินความรู้เกี่ยวกับการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาของเกษตรกร 3) วิเคราะห์ทัศนคติของเกษตรกรต่อการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา และ 4) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาของเกษตรกร ในพื้นที่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา ในพื้นที่อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี จำนวน 156 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 51 ปีขึ้นไป    จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาจากเพื่อนบ้าน และตัดสินใจเลือกปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาเนื่องจากเพื่อนบ้านชักชวน และเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกกาแฟ สายพันธุ์อะราบิกาในระดับปานกลาง ทัศนคติของเกษตรกรในการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา ทั้งหมด 8 ด้าน มีทัศนคติในภาพรวมระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.05 โดยมีทัศนคติในการตัดสินใจปลูกกาแฟใประเด็นการปลูกร่วมกับพืชอื่น ๆ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.38 ส่วนประเด็นที่มีทัศนคติ ในระดับน้อยที่สุดคือเครื่องมือและเครื่องจักรกลการเกษตรมีเพียงพอหาได้ง่าย ค่าเฉลี่ย 0.22 ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติของเกษตรกร ในการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา มี 3 ด้าน ได้แก่ (1) รายได้ต่อปีของครัวเรือน มีความสัมพันธ์เชิงบวก แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรที่มีต้นทุนการผลิตกาแฟที่สูงกว่าจะมีโอกาสการปลูกกาแฟอะราบิกา สูงกว่าเกษตรกรที่มีต้นทุนการผลิตที่น้อยกว่า (2) ประสบการณ์ในการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา มีความสัมพันธ์เชิงบวก แสดงให้เห็นถึงโอกาสของการปลูกกาแฟอาราบิกาของเกษตรกรที่มีประสบการณ์สูงกว่าก็จะมีการปลูกกาแฟอาราบิกามากกว่าเช่นกัน ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ (3) ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์เชิง มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรที่มีการศึกษาน้อยจะมีการปลูกกาแฟพันธุ์อะราบิกาที่สูงกว่าเกษตรกรที่มีระดับการศึกษาสูง ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชนควรมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการประกอบอาชีพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จุฑามาศ คมประมูล และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2563. การตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในตำบลคลองไทร อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38(2): 226-234.

ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ และพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. 2560. รูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอะราบิกาในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการขยายผลโครงการหลวง. วารสารแก่นเกษตร. 45(1): 521-526.

นวรัตน์ โพธิ์คีรี สาวิตรี รังสิภัทร์ และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2561. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกร ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 36(2): 43-52.

ประเสริฐ บัวทอง. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกทุเรียนของเกษตรกร ตําบลอ่างคีรี อําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พุฒิสรรค์ เครือคำ กุลธินี ผิวนิล ศรณ์รังสรรค์ ไทยสมัคร และวีรพันธ์ กันแก้ว. 2560. กระบวนการตัดสินใจในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกไม้ผลเขตหนาวของเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 34(3): 53-62.

วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฑทรัพย์. 2560. ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2558. คู่มือการปลูกและผลิตกาแฟอะราบิกาคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1.บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด. เชียงใหม่.

สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. 2562. ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดจันทบุรี. แหล่งข้อมูล : https://www.chanthaburi.go.th/content/general. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2565. วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าไทยรายภูมิภาค ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565. กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก: กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า. นนทบุรี.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ต้นแบบความสำเร็จ ‘วิสาหกิจชุมชนกาแฟนายูง’ อุดรธานีกาแฟแบรนด์แรกในภาคอีสานสร้าง รายได้เกษตรกร. แหล่งข้อมูล : https://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566.

อิศฎาพร ใจใหญ่ และสุกัลยา เชิญขวัญ. 2564. การตัดสินใจปลูกข้าวพื้นเมืองของเกษตรกรในอําเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. วารสารแก่นเกษตร. 49(4): 1012-1024.

Yamane, T. 1973. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper and Row.