ลักษณะทางกายภาพของผลทุเรียนพันธุ์หลงลับแลที่ผลิตในพื้นที่แตกต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาลักษณะทางกายภาพของผลทุเรียนพันธุ์หลงลับแลที่ผลิตในพื้นที่แตกต่างกัน คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ (อ. ลับแล และ อ. เมือง) ภาคเหนือตอนล่าง (อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย และ อ. เนินมะปราง จ. พิษณุโลก) และภาคตะวันออก (อ. ขลุง อ. เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี และ อ. เมือง จ. ระยอง) โดยเก็บเกี่ยวผลทุเรียนพันธุ์หลงลับแลจากสวนของเกษตรกรจากแต่ละพื้นที่ปลูก ที่มีอายุ 105 วันหลังดอกบาน พบว่า ขนาดของผล สีเปลือก และน้ำหนักแห้งของเปลือกทุเรียนจากทุกพื้นที่มีค่าไม่แตกต่างกัน ขณะที่น้ำหนักสดของผล เส้นผ่านศูนย์กลางขั้วผล ความยาวก้านผล น้ำหนักสดของเปลือก ความหนาของเปลือก และขนาดแกนกลางผลของทุเรียนจากพื้นที่ปลูกภาคตะวันออกมีค่ามากกว่าทุเรียนจากพื้นที่ปลูกจังหวัดอุตรดิตถ์และภาคเหนือตอนล่าง เมื่อพิจารณาลักษณะเนื้อของทุเรียน พบว่า เนื้อของทุเรียนจากพื้นที่ปลูกจังหวัดอุตรดิตถ์มีสีเหลืองทองเข้มกว่าสีเนื้อของทุเรียนจากพื้นที่ปลูกภาคตะวันออกและภาคเหนือตอนล่าง นอกจากนี้ทุเรียนจากพื้นที่ปลูกจังหวัดอุตรดิตถ์ยังมีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งมากกว่าอีกด้วย สำหรับจำนวนพูต่อผล ขนาดของพู ความหนาเนื้อ ความแน่นเนื้อ และน้ำหนักสดของเนื้อต่อผลของทุเรียนจากพื้นที่ปลูกแตกต่างกันมีค่าใกล้เคียงกัน ลักษณะเมล็ดของทุเรียนจากพื้นที่ปลูกจังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก มีค่าสี จำนวนเมล็ดต่อผล ความกว้างของเมล็ด น้ำหนักสดของเมล็ดต่อผล และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของเมล็ดมีค่าไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเมล็ดของทุเรียนจากพื้นที่ปลูกในจังหวัดอุตรดิตถ์มีความยาวและความหนาของเมล็ด และน้ำหนักสดต่อเมล็ดมากกว่าเมล็ดของทุเรียนจากพื้นที่อื่น ทั้งนี้ผลการวิจัยนี้สามารถบ่งบอกลักษณะของทุเรียนพันธุ์หลงลับแลในแต่ละพื้นที่ปลูกและเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพทุเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2555. ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ ทะเบียนเลขที่ สช 61100104. กระทรวงพาณิชย์.
คณิสร ล้อมเมตตา, สิทธิพัฒน์ แผ้วฉำ, สนธยา กูลกัลยา และอุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ. 2559. การใช้เปลือกทุเรียนและเมล็ดทุเรียนบดแห้งทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารเลี้ยงปลาไน. วารสารวิจัยรําไพพรรณี. 10(2): 109-117.
นงคราญ มณีวรรณ, ไมตรี เครือรัตน์, สมศักดิ์ สุขจันทร์, สถิระ อุดมศรี, ขนิษฐศรี ฮุ่นตระกูล, อัธยะ พินจงสกุลดิษฐ, บำรุง ทรัพย์มาก, วรวรรณ ละออพันธ์สกุล, นฤกมล จันทร์จิราวุฒิกุล และสัญชัย แซ่เจียง. 2556. ชุดองค์ความรู้กึ่งศตวรรษพัฒนาที่ดิน: ดินของประเทศไทย. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพมหานคร.
นันทลี เอี้ยนไธสง, รำไพ นามพิลา, สมยศ มีทา, สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, พงษ์ศักดิ์ ยั่งยืน และสังคม เตชะวงค์เสถียร. 2561. ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารในผลผลิตต่อคุณภาพผลผลิตของส้มโอพันธ์ุมณีอีสาน. วารสารแก่นเกษตร. 46(3): 459-468.
ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ และสุชาดา วงศ์ภาคำ. 2557. ทุเรียนสวนเรา. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์, นนทบุรี.
พิชัย ใจกล้า, พิมพ์ใจ สีหะนาม, ดรุณี มูลโรจน์, วิมลฉัตร สมนิยาม และเจษฏา มิ่งฉาย. 2555. ผลของการผสมเกสรทุเรียนหลงลับแลและหลินลับแลกับพันธุ์อื่น ๆ ในระบบวนเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน พีระศักดิ์ ฉายประสาท (บรรณาธิการ), การวิจัยและพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อการผลิตทุเรียนพันธุ์หลงและหลินลับแลเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน ปีที่ 2. สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
มนัส ดาเกลี้ยง. 2545. เอกสารวิชาการเรื่องพันธุ์ทุเรียนเมืองลับแล. คณะเกษตรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
รังสรรค์ ริยาพันธ์. 2564. คู่มือการผลิตทุเรียนคุณภาพจังหวัดชุมพร. สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพมหานคร.
วันทนา บัวทรัพย์. 2551. ทุเรียน. คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร. สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพมหานคร.
วิภาวรรณ ท้ายเมือง, จิรวัฒน์ บุญจันทร์ และษมาภร สิงหพันธุ์. 2565. ธาตุอาหารในใบ เนื้อและเปลือกทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในชุดดินคลองซาก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ. 5(1): 82-90.
สมศักดิ์ ใจรักปรางพุธ และบัณฑูรย์ วาฤทธิ์. 2541. ผลผลิตและคุณภาพของท้อในต่างพื้นที่. วารสารเกษตร. 14 (2): 155–164.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2557. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 3-2556: ทุเรียน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2566. สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้าปี 2566. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2567/commodity2566.pdf. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2567.
สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. 2565. สถานการณ์การผลิตพืช 2565/66 ทุเรียน. แหล่งข้อมูล: http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2565/09durian.pdf. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2567.
เอนก ศรีสุวรรณ. 2565. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกส้มโอในพื้นที่อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 39(3): 40-54.
Alcobendas, R., J.M. Mirás-Avalos, J.J. Alarcón, F. Pedrero, and E. Nicolás. 2012. Combined effects of irrigation, crop load and fruit position on size, color and firmness of fruits in an extra-early cultivar of peach. Scientia Horticulturae. 142: 128-135.
Arsa, S., A. Wipatanawin, R. Suwapanich, O. Makkerdchoo, N. Chatsuwan, P. Kaewthong, P. Pinsirodom, R. Taprap, R. Haruenkit, S. Poovarodom, M. Lubinska-Szczygeł, E. Katrich, and S. Gorinstein. 2021. Properties of different varieties of durian. Applied Sciences. 11: 5653.
Food and Agriculture Organization of the United Nations. Durain Global Trade Overview 2023. Available: https://www.fao.org/3/cc8384en/cc8384en.pdf. Accessed Apr.9, 2024.
Hassani, G., A. Noorjoo, and M. Henareh. 2009. Effects of rootstock and different irrigation levels on yield and fruit quality of apple c.v. Golden Delicious. Seed and Plant Production. 25(1): 51-62.
Kumar, A.P.A., and K. M. Bojappa. 1994. Studies on the effect of drip irrigation on yield and quality of fruits in sweet oranges (Citrus sinensis (L) Osbeck and economy in water use. Mysore Journal of Agricultural Sciences. 28(4): 338-344.
Singh, R., J.S. Chandel, and A. R. Bhandari. 1998. Effect of soil-moisture regime on plant growth, fruiting, fruit quality and nutrient uptake of mango (Mangifera indica). Indian Journal of Agricultural Sciences. 68(3): 135-138.
Wiangsamut, B., and M.E.L. Wiangsamut. 2023. Assessment of natural fruit ripening and fruit quality of three elite durian cultivars for overland export. Trends in Sciences. 20(5): 4647