การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และการประเมินความเข้มของสีใบด้วย SCMR ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นที่ปลูกบนชุดดินวังไฮ

Main Article Content

ณัฐกิตติ์ เพชรหมื่นไว
ศิวิไล ลาภบรรจบ
สุริพัฒน์ ไทยเทศ
การิตา จงเจือกลาง
สามัคคี จงฐิตินนท์

บทคัดย่อ

คลอโรฟิลล์ในใบพืชมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร และนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของพืช การขาดไนโตรเจนจะส่งผลต่อผลผลิตของพืช การศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และการประเมินความเข้มของสีใบด้วย SCMR ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นที่ปลูกบนชุดดินวังไฮ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก randomized complete block design (RCBD) ประกอบด้วย 6 กรรมวิธีทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย กรรมวิธีทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน กรรมวิธีทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 0.5 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 1.0 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 1.5 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 2.0 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และกรรมวิธีทดลองที่ 6 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 3.0 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนส่งผลให้ความสูง ผลผลิต และค่า SCMR ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย ในขณะเดียวกันการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 1.5 เท่าของคำแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน ส่งผลให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้ผลผลิต และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด ดังนั้น เพื่อผลิตข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนการปลูก และควรใส่ปุ๋ยในอัตรา 15-5-5 (N-P2O5-K2O) กก./ไร่

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา. 2565. การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ถูก. กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. แหล่งข้อมูล: https:// www.doa.go.th/rhizobium/?p=1216. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566.

กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. 2564. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับพืชไร่เศรษฐกิจ. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ไพโรจน์ พันธุ์พฤกษ์, สุรัตนา เสนาะ และนารูโอ มัสซูโมโต. 2551. การจัดการสมดุลธาตุ อาหารN, P, และ K เพื่อการผลิตมันสำปะหลังอย่าง ยั่งยืน. รายงานผลการ วิจัยประจำปี 2551. ศูนย์วิจัยพืช ไร่ขอนแก่น สำนักวิจัย และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กฤษฎาพร สินชัย. 2555. อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และมูลโคที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และการดูดใช้ธาตุอาหารของมันสำปะหลังที่ปลูกในดิน ชุดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ชูเกียรติ พระดาเวช, ณัฐพล คงดี และวันวิสาข์ ปั้นศักดิ์. 2560. ผลของระยะเวลาการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพด. น.110-118. ใน: การประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ วันที่ 1-2 สิงหาคม 2560. กรุงเทพฯ.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. 2559. ปุ๋ยสั่งตัด. แหล่งข้อมูล: http://www.ssnm.info. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566.

บุปผา โตภาคงาม. 2549. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: ภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัทมา วิทยากร. 2547. ความอุดมสมบูรณ์ของดินขั้นสูง. ภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 423 หน้า.

มุกดา สุขสวัสดิ์. 2543. ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์โอเดียน สโตร์.

สืบสกุล ศิริยุทธ์. 2554. การประเมินระดับคลอโรฟิลล์ในใบด้วยดัชนีชี้วัดที่สัมพันธ์การเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุริพัฒน์ ไทยเทศ, ศิวิไล ลาภบรรจบ, ทัศนีย์ บุตรทอง และปริญญา การสมเจตน์. 2565. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 อายุเก็บเกี่ยวสั้นและทนแล้ง. แก่นเกษตร. 51(2): 375-386.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2566. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2566. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/baerdata/files/ สถานการณ์สินค้าเกษตรและแนวโน้มปี%202566-Final.pdf. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566.

ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, สมควร คล้องช้าง, สมฤทัย ตันเจริญ, ชัชธนพร เกื้อหนุน, ณัฐพงศ์ ศรีสมบัติ, นงลักษ์ ปั้นลาย และรัชดา ปรัชเจริญวนิชย์. 2558. การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ดีเด่นในพื้นที่ต่างๆ. โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมในสภาพแห้งแล้ง. หน้า 11-48. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

ศุภัครชา อภิรติกร และคริษฐ์สพล หนูพรหม.2564. การใช้คลอโรฟิลล์มิเตอร์ประเมินระดับคลอโรฟิลล์ และไนโตรเจนในใบมะพร้าวน้ำหอม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 29: 498-507.

Back, G. R., and K. H. Hartge. 1986. Bulk density. pp. 363-375. In: A. Klute, Ed. Methods of soil analysis. Part 1, Agronomy No.9, 2 nd ed. American Society of Agronomy, Madison, WI.

Barraclough, P.B. and J. Kyte. 2001. Effect of Water Stress on Chlorophyll Meter Readings in Winter Wheat. In: Plant Nutrition - Food Security and Sustainability of AgroEcosystems, Horst, W.J., M.K. Schenk, A. Burkert, N. Claassen, and H. Flessa et al. (eds.). Kluwer Academic Publishers, Netherlands, ISBN: 978-0-7923-7105-2, pp: 722-723.

Black, C.A. 1965. Method of soil analysis. Part A. Agronomy 9. American Society of AgronomyMadison, Wisconsin.

Cottenie, A. 1980. Soil and Plant Testing as a Basis of Fertilizer Recommendations. FAO Soil Bulletin 38/2. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome.

Gardner, W. H.1982. Water content. Chapter 21 in Klute, A., ed. Methods of soil analysis. Part 1. Physical and mineralogical methods. 2nd Ed. Soil Science Society of America, Inc. Madison, Wisconsin.

Hawkins, T. S., E. S Gardiner, and G. S. Comer. 2009. Modeling the relationship between extractable chlorophyll and SPAD-502 readings for endangered plant species research. Journal for Nature Conservation. 17(2): 123-27.

Hussain, F., K.F. Bronson, Y. Singh, B. Singh, and S. Peng. 2000. Use of chlorophyll meter sufficiency indices for nitrogen management of irrigated rice in Asia. Agronomy Journal. 92: 875-879.

Jackson, M.L. 1960. Soil Chemical Analysis. Engleweed Cliff, New Jersy, 183-190.

Pervaiz, Z., K. Hussain, S.S.H. Kazmi, and K.H. Gill. 2004. Agronomic efficiency of different N:P ratios in rain fed wheat. International Journal of Agriculture and Biology. 6(3): 455–457.

Silva, M.A., J.L. Jifon, J.A.G. Silva, and V. Sharma. 2007. Use of physiological parameters as fast tools to screen for drought tolerance in sugarcane. Brazilian Journal of Plant Physiology. 9: 193- 201.

Smith, M. 1992. CROPWAT a computer Program for irrigation planning and management. FAO Irrigation and Drainage Paper No 26, FAO, Rome.

Walkley, A., and I.A. Black. 1934. An examination of the degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method for determination of soil organic matter. Soil Science. 37: 29 – 33.