การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการปรับปรุงดินเค็ม เพื่อปลูกโสนอัฟริกันในสภาพเรือนทดลอง

Main Article Content

ณัฐกิตติ์ เพชรหมื่นไว
ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย
ปราณี สีหบัณฑ์
Takashi Kume

บทคัดย่อ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่การเกษตรมากที่สุดในประเทศไทย แต่ผลผลิตทางการเกษตรต่ำเพราะปัญหาคุณภาพดินไม่ดีและเป็นดินเค็ม ดังนั้น จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการปรับปรุงดินเค็มต่อการเจริญเติบโตของโสนอัฟริกันและการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีของดินภายใต้สภาพเรือนทดลอง โดยวางแผนการทดลองสุ่มแบบสมบูรณ์ completely randomized design (CRD) ประกอบด้วย 5 กรรมวิธีทดลอง คือ กรรมวิธีทดลองที่ 1 ดินเค็มจัด กรรมวิธีทดลองที่ 2 ดินเค็มจัดร่วมกับปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินอัตราส่วน 25 : 75 กรรมวิธีทดลองที่ 3 ดินเค็มจัดร่วมกับขุยมะพร้าวอัตราส่วน 25 : 75 กรรมวิธีทดลองที่ 4 ดินเค็มจัดร่วมกับแกลบเผาอัตราส่วน 25 : 75 และกรรมวิธีทดลองที่ 5 ดินเค็มจัดร่วมกับปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน แกลบเผา ขุยมะพร้าวอัตราส่วน 25 : 25 : 25 : 25 เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่ 10 สัปดาห์ พบว่า กรรมวิธีที่ 2 และ กรรมวิธีที่ 5 มีผลต่อความสูงของต้นโสนอัฟริกันสูงสุดแตกต่างจากรรมวิธีอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะกรรมวิธีที่ 5 มีผลต่อราก (ความยาวราก พื้นที่ราก เส้นผ่าศูนย์กลางพื้นผิวเฉลี่ย และปริมาณราก) และมวลชีวภาพ (น้ำหนักสดและแห้ง) มีค่าสูงสุด การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ส่งผลให้ค่า Na, Ca และ Mg ที่แลกเปลี่ยนได้ในดินลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม ในขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่ม OM, N และ P ให้กับดิน โดยเฉพาะกรรมวิธีที่ 2 มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีของดินเค็มได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่นๆ เมื่อพิจารณาค่า pH, EC, Na, Ca และ Mg ลดลงสูงสุด และ OM, N และ P เพิ่มขึ้นสูงสุดเช่นกัน โดยผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินร่วมกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่นในการปรับปรุงดินเค็มจัดและสามารถเพาะปลูกพืชได้ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการดินเค็มที่ไม่ซับซ้อนและลงทุนต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติพัฒน์ จุลพงษ์, ภานุวัฒน์ เอ็งวงษ์ตระกูล, เสาวนิตย์เนตรจินดา, มานิกา แย้มสุข, พรพรรณ เซี่ยงฉิน, ชุติมา พูลทอง, ทิวา พาโคกทม และคัทลียา ฉัตร์เที่ยง. 2558. ผลของความเค็มต่อการงอกและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของข้าวนาสวนและข้าวกํ่า. ใน: การประชุมวิชาการครั้งที่ 12 เรื่อง ตามรอยพระยุคลบาท 8-9 ธันวาคม 2558.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน.

กนกรัตน์ พาแก้วมณี, ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย, บุปผา โตภาคงาม, ปราณี สีหบัณฑ์ และวิทยา ตรีโลเกศ. 2563. อิทธิพลของวัสดุอินทรีย์ที่ใช้ในการปรับปรุงดินต่ออัตราการรอดของไส้เดือนดิน Eisenia fetida ในดินเค็ม. แก่นเกษตร. 48 (2): 261-272.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2560. ระบบตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย และมงคล ต๊ะอุ่น. 2554. การผลิตปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน การจัดการของเสีย ดิน ผลผลิตที่ดี และปลอดภัย.

สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม ภาควิชาพืชศาสตร์ และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ไชยพิศิษฐ์ เพ็งคำ. 2562. การใช้ปุ๋ยหมักโดยไส้เดือนดินและแกลบเผาในการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มเพื่อการปลูกข้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

บุปผา โตภาคงาม. 2549. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

มงคล ต๊ะอุ่น และศรจิตร ศรีณรงค์. 2552. ดินขาดธาตุอาหาร. สำนักพิมพ์สมจิตรการพิมพ์, ขอนแก่น.

Cha-Um, S., S. Chantawong, C.M. Sirwatana, M. Ashraf, and C. Kirdmanee. 2013. Field screening of sugarcane (Saccharum spp.) mutant and commercial genotypes for salt tolerance. Notulae Botanicae Horti Agrobotanici Cluj-Napoca. 41: 286-293.

Cottenie, A. 1980. Soil and Plant Testing as a Basis of Fertilizer Recommendations. FAO Soil Bulletin 38/2. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome.

Black, C.A. 1965. Method of soil analysis. Part A. Agronomy 9. American Society of AgronomyMadison, Wisconsin.

Iwai, C. B., A. N Oo, A. Kruapukdee, and T. Chuasavatee. 2018. Vermicompost as Soil Amendment for Sustainable Land and Environment in Thailand. Soil Amendments for Sustainability. 1st Edition. Imprint CRC Press.

Djajadi, D., S. Roni, S. N. Hidayati, and K. Yaumil. 2020. Effect of vermicompost and nitrogen on N, K, Na uptakes and growth of sugarcane in saline soil. AGRIVITA Journal of Agricultural Science. 2020. 42(1): 110–119.

Eiichi, T., M. Toru, and P. Phupaibul. 1993. Evaluation of salt tolerance in four species of annual sesbania. pp.44-45. Conference on Methodological Techniques in Biological Sciences. Kasetsart University, Nakhon Pathom.

Fagodiya, R. K., S. K. Malyan, D. Singh, A. Kumar, R. K. Yadav, P. C. Sharma, and H. Pathak. 2022. Greenhouse Gas Emissions from Salt-Affected Soils: Mechanistic Understanding of Interplay Factors and Reclamation Approaches. Sustainability. 14(19): 11876.

Jackson, M.L. 1960. Soil Chemical Analysis. Engleweed Cliff, New Jersy, 183-190.

Li, X., D. Yan, X. Ron, Y. Wei, J. Zhou, H. Zhao, and M. Liang. 2016. Vermicompost improves the physiological and biochemical responses of blessed thistle (Silybum marianum Gaertn.) and peppermint (Mentha haplocalyx Briq) to salinity stress. Industrial Crops and Products. 94: 574-585.

Mengli, L., C. Wang, X. Liud, Y. Lu, and Y. Wangab. 2020. Saline-alkali soil applied with vermicompost and humic acid fertilizer improved macroaggregate microstructure to enhance salt leaching and inhibit nitrogen losses. Applied Soil Ecology. 156: 103705.

Murad, A.M., H.B.C Molinari, B.S. Magalhaes, A.C. Franco, F.S.C. Takahashi, N.G. de Oliveira Junior, O.L. Franco, and B.F. Quirino. 2014. Physiological and proteomic analyses of Saccharum spp. Grown under salt stress. PLOS ONE. 4: 1-12.

Oo, A.N., C.B. Iwai, and P. Saenjun. 2011. Soil biological activity and greenhouse gas production in salt-affected areas under tree plantation. Khon Kaen Agriculture Journal. 39: 285-290.

Oo, A.N., C.B. Iwai, and P. Saenjan. 2015. Soil properties and maize growth in saline and non-saline soils using cassava-industrial waste compost and vermicompost with or without earthworms. Land Degradation and Development. 26: 300-310.

Walkley, A., and I.A. Black. 1934. An examination of the degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method for determination of soil organic matter. Soil Science. 37: 29 – 33.