ผลของน้ำหมักเปลือกของสีเสียดเปลือกต่ออัตราส่วนเพศและอัตราการรอดตายในปลากัด

Main Article Content

วิจิตรตา อรรถสาร
ศตพร โนนคู่เขตโขง
จุฬาลักษณ์ จันทบาล
อดิเทพชัยย์การณ์ ภาชนะวรรณ
จิราวรรณ คำธร

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำหมักเปลือกของสีเสียดเปลือกต่อการเจริญเติบโต อัตราส่วนเพศ และอัตราการรอดตายของปลากัด วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (completely randomized design; CRD)  โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 6 ชุดการทดลอง คือ ใช้น้ำหมักเปลือกของสีเสียดเปลือกที่อัตราส่วนต่างกัน คือ 0 (ชุดควบคุม), 0.25, 0.50, 0.75, 1.00 และ 2.00 g/l ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ เลี้ยงเป็นเวลา 60 วัน พบว่า น้ำหมักเปลือกของสีเสียดเปลือกไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลากัด (P>0.05) สัดส่วนเพศปลากัด มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) คือ ที่อัตราส่วน 0.25 g/l สัดส่วนเพศผู้สูงที่สุด (68.95±8.67 %) ซึ่งมีค่ามากกว่าชุดควบคุม (62.01±8.67 %) แต่เมื่อความเข้มข้นมากขึ้นที่อัตราส่วน 0.50 และ 0.75 g/l มีแนวโน้มเหนี่ยวนำให้เป็นเพศเมียมากกว่าเพศผู้ เท่ากับ 57.07±7.87, 81.95±8.62 % ตามลำดับในขณะที่อัตราส่วน 1.00 และ 2.00 g/l มีสัดส่วนเพศเมีย 100 % ส่วนอัตราการรอดตายของทุกกลุ่มทดลอง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยพบว่า ที่อัตราส่วน 0.50, 0.75 และ 1.00 g/l มีอัตรารอดตายสูงถึง 99.33±0.58 % ที่อัตราส่วน 0.25 และ 2.00 g/l พบว่าอัตราการรอดตาย เท่ากับ 98.67±0.58 และ 98.67±1.15 % ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่าปลากัดที่เลี้ยงในอัตรา 0 (ชุดควบคุม) เท่ากับ 98.00±1.00 % จากการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำ พบว่าน้ำหมักเปลือกของสีเสียดเปลือกที่อัตราความเข้มเพิ่มมากขึ้น มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ต่ำลง โดยมีค่าระหว่าง 6.25-7.05 ซึ่ง 0 (ชุดควบคุม) มีค่า เท่ากับ 7.63 และค่าความเป็นด่าง (alkalinity) ของน้ำมีค่าต่ำมาก เท่ากับ 85 mg/l as CaCO3 แต่ในอัตรา 0 (ชุดควบคุม) เท่ากับ 200 mg/l as CaCO3 สรุปได้ว่า น้ำหมักเปลือกของสีเสียดเปลือกไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต และอัตราการการรอดตายในปลากัด แต่มีผลต่อการเหนี่ยวนำเพศปลากัดโดยที่อัตราส่วนเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มเป็นเพศเมียสูง แต่ทั้งนี้ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมป่าไม้. ม.ป.ป. สีเสียดเปลือก. สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม่. แหล่งข้อมูล http://www.rspg.org/rare_plants/ scien_name_p17.htm. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564.

กิตติพงษ์ สุวรรณเกตุ. 2563. การเหนี่ยวนำให้เกิดเพศเมียในปลาหมอไทยโดยใช้สารสกัดหยาบกวาวเครือขาว. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

คุณนิธี ลีลารัศมี, สุทิพย์ ค้าของ และจักรพันธ์ สองสี. 2555. การแปลงเพศปลานิล (Oreochromis niloticus) โดยการแช่ลูกปลาระยะถุงไข่แดงยุบในสารสกัดใบมังคุดสด. วารสารแก่นเกษตร. 40 (ฉบับพิเศษ): 340-345.

ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. 2563. สถิติการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ ทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เดือนกันยายน 2563. แหล่งข้อมูล https://www4.fisheries.go.th/ local/file_ document/20201005164809_1_file.pdf. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564.

ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์. 2540. การเลี้ยงปลาสวยงาม. ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพิมล พิมลรัตน์, นิวุฒิ หวังชัย, สุพันธ์ณี สุวรรณภักดี และพัชราวลัย ศรียะศักดิ์. 2560. เอกสารประกอบการอบรมสารสกัดแทนนินจากใบหูกวาง: วิธีการเตรียมอย่างง่ายและประยุกต์ใช้ในปลาสวยงาม. สาขาวิชาการประมง มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ชุมพร.

มนต์ชัย ดวงจินดา. 2544. การใช้โปรแกรม SAS เพื่อวิเคราะห์งานวิจัยทางสัตว์. ปรับปรุงครั้งที่ 2. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไมตรี ดวงสวัสดิ์ และจารุวรรณ สมศิริ. 2528. คุณสมบัติของน้ำและวิธีวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางการประมง. สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ, กรมประมง.

ศิริมา สุวรรณกูฏ. ม.ป.ป. สีเสียด สมุนไพรแก้ท้องร่วง. แหล่งข้อมูล http://www.phargarden.com/attachments/article-20101125154556.pdf. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564.

ศิวาพร ศรีดาบุตร. 2549. ผลของการใช้น้ำสกัดใบหูกวางต่อการเพาะเลี้ยงปลากัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประมง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

สมจินตนา พุทธมาตย์ และวรวัฒ สุวรรณสาร. 2550. การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของใบหูกวาง (Terminalia catappa L.) และผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและการยับยั้งแบคทีเรียในน้ำ. น. 579-585. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45, สาขาพืช, 30 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2550. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุกสกาว รอดปั้น, นงนุช เลาหะวิสุทธิ์ และอัจฉรี เรืองเดช. 2563. ผลของความเป็นกรด-ด่างของน้ำจากใบหูกวางแห้งต่อการเพิ่มอัตราส่วนเพศผู้ และการเติบโตในปลากัดสายพันธุ์หางพระจันทร์ครึ่งซีก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38(4): 511-518.

สุทิพย์ ค้าของ, คุณนิธี ลีลารัศมี, อัจฉริยา สุวรรณสัง และนิรุทธิ์ สุขเกษม. 2554. ผลของสารสกัดใบมังคุดต่อการผลิตปลานิลเพศผู้. แก่นเกษตร. 39 (ฉบับพิเศษ): 53-58.

อุไรวรรณ ไพชำนาญ และวัฒนา วัฒนกุล. 2544. ผลของสารสกัดจากใบมังคุดต่อการเปลี่ยนลักษณะเพศในปลากัด. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. แหล่งข้อมูล https://www.repository.rmutsv. ac.th/bitstream/ handle/123456789/2048/FullText.pdf?sequence=1&isAllowed=y. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566.

Balasubramani, A., and T.J. Pandian. 2008. Norethindrone ensures masculinization, normal growth and secondary sexual characteristics in the fighting fish, Betta splendens. Current Science. 95(10): 1446–1453.

Duangyod, T., C. Palanuvej, and N. Ruangrungsi. 2014. Pharmacognostic specifications and quantification of (+)-catechin and (-)-epicatechin in Pentace burmanica stem bark. Pharmacognosy Research. 6(3): 251.

Reddon, A. R., and P. L. Hurd. 2013. Water pH during early development influences sex ratio and male Morph in a West African cichlid fish, Pelvicachromis pulcher. Zoology. 116(3): 139-143.

Rodríguez De Luna, S. L., R. E. Ramírez-Garza, and S. O. Serna Saldívar. 2020. Environmentally friendly methods for flavonoid extraction from plant material: Impact of their operating conditions on yield and antioxidant properties. The Scientific World Journal. 2020.

Rubin, D. A. 1985. Effect of pH on sex ratio in cichlids and a poecilliid (Teleostei). Copeia. 1985(1): 233-235.

Snedecor, G. W., and W. G. Cochran. 1967. Statistical Methods, 6th edition. Iowa State University Press.