ผลของการใช้สารเสริมในการช่วยหมักที่แตกต่างกันต่อคุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วงหมัก

Main Article Content

ศิวพร พิบูลกุลสัมฤทธิ์
ธีรชัย หายทุกข์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพทางโภชนะเเละกายภาพของหญ้ากินนีสีม่วงหมัก ที่หมักด้วยสารเสริม 5 ชนิด คือ เกลือ, กากน้ำตาล, กรดฟอร์มิก, เชื้อแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสแพลนทารัม (Lactobacillus plantarum) และเอนไซม์เซลลูเลส (cellulase) ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design, CRD) โดยหมักหญ้าด้วยถุงสุญญากาศและ เปิดถุงหญ้าหมักเพื่อประเมินค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ลักษณะทางกายภาพของหญ้าหมักในวันที่ 3, 7, 14 และ 21 วันของการหมัก ปริมาณกรดแลคติก กรดไขมันระเหยง่ายและปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ในวันที่ 21 ของการหมัก โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีก่อนและหลังการหมัก จากการศึกษาพบว่าหญ้ากินนีสีม่วงหมักทุกกลุ่มมีคุณภาพทางกายภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มลดลงที่ระยะเวลา 3 วันของการหมัก และลดลงอย่างต่อเนื่องที่ระยะเวลา 7 วันของการหมัก เริ่มคงที่ในระยะเวลาการหมัก 14 วันและมีความเสถียรภาพที่ระยะเวลาการหมัก 21 วัน มีปริมาณกรดแลคติก กรดอะซิติก และแอมโมเนีย-ไนโตรเจน อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ไม่พบกรดโพรพิโอนิกและบิวทิริก นอกจากนี้ผลขององค์ประกอบทางเคมีของหญ้าหมัก ประกอบด้วยปริมาณวัตถุแห้ง (DM), อินทรียวัตถุ (OM), โปรตีนหยาบ (CP), ไขมัน (EE), เยื่อใยที่ไม่ละลายในสารฟอกที่เป็นกลาง (NDF) เยื่อใยที่ไม่สามารถละลายได้ในสารฟอกที่เป็นกรด (ADF) และลิกนิน (ADL) มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่ใช้สารเสริมการหมักด้วยกากน้ำตาลมีปริมาณโปรตีนหยาบเพิ่มสูงขึ้น และมีปริมาณเยื่อใย NDF, ADF และ ADL ลดต่ำลงกว่าการใช้สารเสริมการหมักกลุ่มอื่น และมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะทางกายภาพดีกว่าสารเสริมกลุ่มอื่นตลอดระยะเวลาการหมัก จากการศึกษาในครั้งนี้จึงสรุปได้ว่ากากน้ำตาลส่งผลให้คุณภาพของหญ้ากินนีสีม่วงหมักมีองค์ประกอบทางเคมีและคุณภาพทางกายภาพดีกว่าการหมักด้วยสารเสริมชนิดอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมปศุสัตว์. 2545. หญ้ากินนีสีม่วง. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, กรุงเทพฯ.

กรมปศุสัตว์. 2547. มาตรฐานพืชอาหารสัตว์หมักคุณภาพดี. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กานต์สิรีเกศ เลิศสรรสิริ. 2563. อิทธิพลของความสูงของการตัดในหญ้าพืชอาหารสัตว์ 4 ชนิด และคุณภาพหญ้าหมักต่อผลผลิตองค์ประกอบทางเคมี และความสามารถในการย่อยได้ที่ปลูกในฤดูหนาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

เกียรติศักดิ์ กล่ำเอม. 2552. องค์ประกอบทางเคมีกากน้ำตาล. แหล่งข้อมูล: http://www.dld.go.th. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567.

ฑิฆัมพร ธรรมชีวัน และศุภชัย นาควิสุทธ. 2561. ผลของความแตกต่างของสารเสริมหญ้าหมักที่มีผลต่อคุณภาพ และคุณค่าทางอาหารต่อการทำหญ้าหมัก. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

ทวีศักดิ์ ทองไฝ. 2560. การเปรียบเทียบคุณภาพอาหารของหญ้าอาหารสัตว์หมักที่อายุการเก็บรักษา 4 เดือนในจังหวัดสงขลา. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา.

นริสรา คงสุข, ศิวัช สังข์ศรีทวงษ์, เวทชัย เปล่งวิทยา, กิตติมา กองทอง และเสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ. 2563. ผลของการเสริม Lactobacillus plantarum BCC 65951 ต่อคุณภาพการหมักของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หมัก โดยวิธีวัดแก๊สในห้องปฏิบัติการและการย่อยสลายในกระเพาะรูเมน. วารสารเกษตร. 36(1): 145-153.

บุญล้อม ชีวะอิสระกลุ. 2546. หลักโภชนศาสตร์สัตว์ เอกสารการสอนชุดวิชาหลักโภชนศาสตร์และอาหารสัตว์หน่วยที่ 2 สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ และวิศิษฐิพร สุขสมบัติ. 2558. การศึกษาการใช้ Lactobacillus spp. ต่อกระบวนการหมักของพืชหมัก. สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

ยิ่งยง เมฆลอย และมณี อัชวรานนท์. 2564. การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของพืชอาหารหมักจากข้าวฟ่างหวาน. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ. 15: 35-44.

วิทยา สุมามาลย์, รำไพร นามสีลี, วิโรจน์ ฤทธิ์ฤาชัย, สุมน โพธิ์จันทร์ และณุทนาถ โคตรพรหม. 2554. การศึกษาคุณภาพของพืชหมักในถุงพลาสติกดำที่อายุการเก็บรักษาต่างๆ. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

วารุณี พานิชผล. 2548. เทคนิคการทำพืชอาหารสัตว์หมัก. แหล่งข้อมูล: https://nutrition.dld.go.th /nutrition/index.php/2017-04-20-03-10-51/783-2017-07-12-08-26-57. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2567.

วิโรจน์ ภัทรจินดา. 2555. โภชนศาสตร์สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สาโรช ค้าเจริญ และ เยาวมาลย์ ค้าเจริญ. 2560 อาหารและการให้อาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.

เสมอใจ บุรีนอก, คำสอน สีสะอาด, วรางคณา หอมไสย, ศศิพันธ์ วงศ์สุทธาวาส, เฉลิมพล เยื้องกลาง และไกรสิทธิ วสุเพ็ญ. 2554. คุณภาพการหมักและคุณค่าทางโภชนะของหญ้ากินนีสีม่วงและถั่วอาหารสัตว์หมัก. แก่นเกษตร. 39: 137-146.

อุดมศักดิ์ ริยะสาร. 2550. คุณค่าทางโภชนะและการใช้ประโยชน์ได้ของหญ้าเนเปียร์หมักสำหรับโค. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อานุภาพ เส็งสาย. 2552. วิธีวิเคราะห์แบบ Detergent. แหล่งข้อมูล: http://km.dld.go.th/th/index.php/th/ research-system/knowledge-office/82-present-general/114-detergent. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566.

AOAC. 1990. Official Method of Analysis. 15th ed., Association of official Agriculture Chemicals, Arlington, VA, USA.

Bailey, S. 1985. The analysis of agricultural material. 3 rd edition. Her Majesty’s stationery office, London.

Campbell, C.P., and J.G. Buchanan-Smith. 1991. Effect of alfalfa grass silage dry matter content on ruminal digestion and milk production in lactating dairy cows. Canadian Journal of Animal Science. 71: 457-467.

Carpintero, C. M., A.J. Holding, and P. McDonald. 1969. Fermentation studies on lucerne. Journal of the Science of Food and Agriculture. 20: 677-681.

Darwin, W., and R. Cord-Ruwisch. 2017. Concurrent lactic and volatile fatty acid analysis of microbial fermentation samples by gas chromatography with heat pre-treatment. Journal of Chromatography Science. 56: 1-5.

Dibb, C., J.l. Payne, J.R. Griffiths, W.R. Raymond, and R.R. Sayce. 1970. Silage. Ministry of Agriculture, Fisheries and Food Bulletin, USA.

Ergin, S., and H. Gumus. 2020. Silage quality, fermentation dynamics and chemical composition of alfalfa silage prepared with salt and lactic acid bacteria inoculants. Animal Nutrition and Feed Technology. 20: 367-380.

Frame, J. 1994. Improve grassland management. Farming Press Books. United Kingdom.

Fawcett, J.K., and J.E. Scott. 1960. A rapid and precise method for the determination of urea. Journal of Clinical Pathology. 13: 156–159.

Khota, W., S. Pholsen, D. Higgs, and Y. Cai. 2016. Natural lactic acid bacteria population of tropical grasses and their fermentation factor analysis of silage prepared with cellulase and inoculant. Journal of Dairy Science. 99: 9768–9781.

McDonald, P., A.R. Henderson, and S.J.E. Heron. 1991. The biochemistry of silage. 2nd Edition. Chalombe Publications, Marlow.

Napompets, B. 1992. Determination of sucrose, glucose and fructose in sugarcane juice and molasses by high performance thin layer chromatography, pp. 875-882. In Proceeding XXI Congress of the International Society of Sugar Cane Technologists 5-14 March 1992. Bangkok, Thailand.

O’Kiely, P., and R.E. Muck. 1988. Grass Silage. CABI Publishing. New York, USA.

Oladosu, Y., M. Y. Rafii, N. Abdullah, U. Magaji, G. Hussin, A. Ramli, and G. Miah. 2016. Fermentation quality and additives: A case of rice straw silage. BioMed Research International. 1-15.

Muck, R.E., E.M.G. Nadeau, T. A. McAllister, F.E. Contreras-Govea, M. C. Santos, and L. Kung Jr. 2018. Silage review: Recent advances and future uses of silage additives. Journal of Dairy Science. 101: 3980–4000.

Sas. 1996. SAS/STAT User’s Guide: Statistics, Version 6.12. ed. SAS Inc., Cary, NC: USA.

Van Soest, P.J., J.B. Robertson, and B.A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber, neutral detergent fiber, and non-starch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science. 74: 3583-3597.

Weinberg, Z.G., G. Ashbell, A. Azrieli, and I. Brukental. 1993. Ensiling peas, ryegrass and wheat with additives of lactic acid bacteria (LAB) and cell wall degrading enzymes. Grass and Forage Science. 48(1):70-78.