ชีววิทยาบางประการและประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจการประมงปูทะเล (Scylla spp.) บริเวณปากแม่น้ำเวฬุ จังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาชีววิทยาบางประการและประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจการประมงปูทะเล (Scylla spp.) บริเวณปากแม่น้ำเวฬุ จังหวัดตราด เก็บข้อมูลด้วยอวนจมปูทะเลจากเรือประมงพื้นบ้าน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ถึง มกราคม 2566 ตลอดการศึกษาพบปูทะเลทั้งหมด 269 ตัว เป็นปูทะเลเพศผู้ 117 ตัว ปูทะเลเพศเมีย 152 ตัว ความกว้างกระดองของปูทะเลที่พบส่วนมากจะอยู่ในช่วง 9.01-10.00 ซม. มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 90.01-100.00 กรัม โดยพบปูทะเลมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายน พบปูทะเลน้อยที่สุดในช่วงเดือนกันยายน อัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียเฉลี่ยตลอดทั้งปี เท่ากับ 1:1.29 ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนัก (Wt) และความกว้างกระดอง (CW) และ ของปูทะเลเพศเมีย Wt=0.1326CW2.8916 (R2 = 0.4650) และปูทะเลเพศผู้ Wt=0.2148CW2.7964 (R2 = 0.6855) ค่าสัมประสิทธิ์ความสมบูรณ์ของปูทะเลมากที่สุดในเดือนมีนาคม การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการประมงปูทะเลด้วยอวนจมปูทะเลบริเวณแม่น้ำเวฬุ จังหวัดตราด ตลอดปีสามารถทำการประมงปูทะเลได้ 1,122.90 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้จากการประมงปูทะเลประมาณ 224,580.00 บาทต่อปีต่อครัวเรือน รายได้ดังกล่าวจะส่งเสริมให้ชาวประมงให้ความสำคัญกับการประมงแบบยั่งยืน ร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนเพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปูทะเล และสัตว์น้ำชนิดอื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง. 2565. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564. กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง, กรมประมง.
จรีวรรณ จันทร์คง, เจษฎา ร่มเย็น, บุญรัตน์ บุญรัศมี, วิชชุลฎา ถาวโรจน์, เสาวณีย์ ชัยเพชร และอภิรักษ์ สงรักษ์. 2565. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนสัตว์น้ำเศรษฐกิจของชุมชนประมงชายฝั่ง จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 39(1): 150-164.
ชุตาภา คุณสุข, วิรังรอง กรินท์ธัญญกิจ และอรอนงค์ บุญมี. 2565. การศึกษาโครงสร้างประชากรของปูทะเลสกุล Scylla spp. เปรียบเทียบระหว่าง ป่าชายเลนธรรมชาติและป่าชายเลนปลูก บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 27(3): 1407-1424.
บรรจง เทียนส่งรัศมี, บุญญรัตน์ ประทุมชาติ และคเชนทร เฉลิมวัฒน์. 2541. แนวทางอนุรักษ์และใช้ทรัพยากร ปูทะเล (Scylla serrata Forskal) แบบบูรณาการในทศวรรษหน้า. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36, กรุงเทพฯ.
รัชฎา ขาวหนูนา. 2547. ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปูทะเล (Scylla spp.) ในอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เอกสารวิชาการฉบับที่ 31/2547, กรมประมง.
รัชฎา ขาวหนูนา และสำรวย ชุมวรฐายี. 2540. การเลี้ยงปูทะเล (Scylla serrata) ให้มีไข่นอกกระดองในบ่อดิน. วารสารการประมง. 50(5): 375-382.
สนธยา กูลกัลยา, วิทยา หะวานนท์ และพิสิฐ ภูมิคง. 2549. ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปูทะเล, Scylla olivacea (Herbst, 1796) ในบริเวณเขตสงวนชีวมณฑลระนอง. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44, กรุงเทพฯ.
สนธยา กูลกัลยา, อุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ และทวนทอง จุฑาเกตุ. 2560. สภาวะผลจับและการวิเคราะห์แนวโน้มการประมงปูทะเลในอ่าวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 22(1): 240-252.
สรศักดิ์ นาคเอี่ยม และณมนรัก คำฉัตร. 2564. การศึกษารูปแบบแหล่งอาศัยที่ต้องการของหิ่งห้อย (Insecta: Coleoptera: Lampyridae) ในป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี เพื่อการอนุรักษ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
เสถียรพงษ์ ขาวหิต. 2563. พลวัตประชากรปูทะเล (Scylla spp.) บริเวณป่าชายเลนที่รองรับน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนเทศบาลเมืองเพชรบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 39(5): 496-505.
ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1. 2556. โครงการฟื้นฟูปูทะเล. ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1, กองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.
Ali, M. Y., M. B. Hossain, S. Sana, M. A. Rouf, S. Yasmin, and M. G. Sarower. 2020. Identifying peak breeding season and estimating size at first maturity of mud crab (Scylla olivacea) from a coastal region of Bangladesh. Heliyon. 6(6): 1-9.
Costopoulos, C. G., and M. Fonds. 1989. Proximate body composition and energy content of plaice (Pleuronectes platessa) in relation to the condition factor. Netherlands Journal of Sea Research. 24(1): 45-55.
Crawley, M. J. 2012. The R book. John Wiley & Sons.
Jirapunpipat, K. 2008. Population structure and size at maturity of the orange mud crab Scylla olivacea in Klong Ngao mangrove swamp, Ranong Province, Thailand. Agriculture and Natural Resources. 42(1): 31-40.
Le Vay, L. 2001. Ecology and management of mud crab Scylla spp. Asian Fisheries Science. 14(2): 101-112.
Mohapatra, A., R. K. Mohanty, S. K. Mohanty, and S. K. Dey. 2010. Carapace width and weight relationships, condition factor, relative condition factor and gonado-somatic index (GSI) of mud crabs (Scylla spp.) from Chilika Lagoon, India. Indian Journal of Marine Science. 39: 120-127.
Quinn, N. J., and B. L. Kojis. 1987. Reproductive biology of Scylla spp. (Crustacea: Portunidae) from the Labu Estuary in Papua New Guinea. Bulletin of Marine Science. 41(2): 234-241.
Ricker, W. F. 1973. Linear regression in fishery research. Journal of the Fisheries Research Board of Canada. 30: 409-434.