การตรวจติดตามคุณภาพน้ำและชุมชนแมลงน้ำเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำหมันของพื้นที่การเกษตรที่สูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

Main Article Content

ณัฐสิมา โทขันธ์
ณัฐกานต์ ทองพันธุ์พาน
อัจฉราพร สมภาร
ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย

บทคัดย่อ

แมลงน้ำได้รับการยอมรับและนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการตรวจติดตามและใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำผิวดิน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจติดตามคุณภาพน้ำและชุมชนแมลงน้ำสำหรับประยุกต์ใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำหมันของพื้นที่การเกษตรที่สูงของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วงและเก็บตัวอย่างแมลงน้ำเชิงคุณภาพในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวจำนวน 6 สถานี ตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเริ่มจากสถานีต้นแม่น้ำหมันไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเหือง บริเวณปากน้ำหมัน ซึ่งผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำพบว่าอุณหภูมิ และ pH อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ยกเว้นบริเวณปากหมันพบ NO3-, pH, Cu และ Mn สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนด ซึ่งคุณภาพน้ำจะขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบ และความเข้มข้นของมลสาร (TS, TDS, Cu, Mn, Zn) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามทิศทางการไหลของน้ำ ส่วนผลการสำรวจจำนวนแมลงน้ำพบ 426 ตัว จาก 3 อันดับ 6 วงศ์ และ 9 ชนิด โดยอันดับ Hemiptera  (93.43%) พบมากที่สุด  รองลงมาคือ Coleoptera (4.93%) และ Ephemeroptera (1.64%) ตามลำดับ ซึ่งมีดัชนีความหลากหลายพันธุ์ 1.644–1.655  ดัชนีความความสม่ำเสมอ 0.748–0.758  และดัชนีความมากชนิด 1.376–1.552 รวมทั้งผลประเมินความชุกชุมสัมพันธ์พบ วงศ์เด่นคือ Notoctidae ที่มีชนิดมวนวนและมวนจิ้งโจ้น้ำมากที่สุด โดยความหลากหลายและจำนวนแมลงน้ำจะมีความแตกต่างกันตามฤดูกาลและสถานีแต่ในฤดูหนาวมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้การใช้แมลงน้ำบ่งบอกคุณภาพน้ำ (BMWP) และให้ค่า ASPT 7.000–7.833 ทำให้ทราบว่าคุณภาพน้ำในแม่น้ำหมันจัดอยู่ในระดับ 2 น้ำคุณภาพค่อนข้างดี และมีคุณสมบัติเหมาะต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์. 2556. ความหลากหลายของแมลงน้ำในแม่น้ำอิง. แก่นเกษตร. 41: 142–148.

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, กัลยรัตน์ เมฆอุสาห์, ณันทวรรณ อหิงสากุล และกรทิพย์ กันนิการ์. 2563. การใช้แมลงน้ำเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ จังหวัดพะเยา. แก่นเกษตร. 48: 933–941.

กิตติธร ชัยศรี, ทัตพร คุณประดิษฐ์, ยุวดี พีรพรพิศาล, และชิตชล ผลารักษ์. 2552. การกระจายตัวของแมลงน้ำในแม่น้ำลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 3: 161–172.

กรมประมง. 2530. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 75/2530 เรื่อง เกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรสัตว์น้ำจืด. ของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

กรมทรัพยากรน้ำ. 2559. ข้อมูลพื้นฐานลุ่มน้ำโขง. แหล่งข้อมูล: http://data.dwr.go.th/dwr/databasic/basinsystem/index. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566.

กองจัดการคุณภาพน้ำ. 2565. การตรวจวัดคุณภาพน้ำทางชีวภาพด้วยสัตว์หน้าดิน. กรมควบคุมมลพิษ, กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. 2537. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537.

จิริยา เล็กประยูร. 2549. มวนน้ำทองผาภูมิตะวันตก. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT), กรุงเทพฯ.

ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย และมงคล ต๊ะอุ่น. 2552. การประเมินคุณภาพน้ำเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ชุติมา หาญจวริชย์ และนิศสรัตน์ ตั้งไพโรจน์วงศ์. (2550). การเปรียบเทียบโครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในบนิเวณที่มีกิจกรรมของมนุษย์ต่างกัน ในลำน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. 12: 402–419.

เทศบาลตำบลด่านซ้าย. 2564. แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566–2570). สำนักงานเทศบาลตำบลด่านซ้าย, เลย.

นฤมล แสงประดับ. 2559. แมลงน้ำที่พบบ่อยในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นฤมล แสงประดับ, บรรยงค์ อินทร์ม่วง, ชุติมา หาญจวณิช, อาษา อาษาไชย และประยุทธิ์ อุดรพิมาย. 2542. การกระจายตัวของตัวอ่อนแมลงกลุ่ม Ephemeroptera, Plecoptera และ Trichoptera (EPT) ในลำธารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT 141006), กรุงเทพฯ.

นัสรียา หมีนหวัง, อำพล พยัคฆา และแตงอ่อน พรหมมิ. 2555. การประยุกต์ใช้ดัชนีชีวภาพประเมินคุณภาพน้ำในลำห้วยแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิจัย มสค. 5: 113–124.

นิสารภรณ์ เพ็ชร์สุทธิ์, สิทธิ กุหลบทอง และจิรเวฐน์ เพ็ชร์สุทธิ์. 2565. ความหลากชนิดและโครงสร้างประชากรพันธุ์ปลาในแม่น้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 27: 228–243.

พงพันธุ์ จึงอยู่สุข. 2539. ระบบการผลิตพืชผักบนที่สูงจะลดการใช้สารเคมีได้อย่างไร. น. 229–241. ใน: การสัมมนาระบบการทำฟาร์มครั้งที่ 11 ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน 12-15 มีนาคม 2539. โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี.

พรรณทิพย์ กาหยี. 2560. การติดตามตรวจสอบสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ. วารสารสิ่งแวดล้อม. 21: 53–60.

มูลนิธิโลกสีเขียว. 2543. คู่มือจำแนกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในบึงและลำธารไทย. สำนักงานความร่วมมือทางสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาประเทศเดนมาร์ก (DANCEN) ภายใต้โครงการนักสืบสายน้ำของมูลนิธิโลกสีเขียว, กรุงเทพฯ.

สัมฤทธิ์ มากสง, มนสินี ดาบเงิน, กาญจนา เขียงทอง, ธงชัย สอนเพีย และตรีสุคนธ์ เจริญชัยชาญกิจ. 2563. การประเมินและการจัดการแหล่งน้ำร่วมกับชุมชนบ้านพุน้ำร้อน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28: 1015–1028.

สายสุนีย์ สมฤทธิ์. 2553. โครงสร้างชุมชนของแมลงน้ำพื้นที่ชุมชนหนองเล็งทราย: กรณีศึกษาพื้นที่ชุมน้ำหนองเล็งทราย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

อลญา ชิวชนโก้ และอดิเรก ปัญญาลือ. 2565. การปรับเปลี่ยนระบบเกษตรเพื่อลดปัญหาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง. แหล่งข้อมูล: https://hkm.hrdi.or.th/Knowledge/detail/554. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567.

APHA. 1992. Standard methods for the examination of water and wastewater. 18th Edition, American Public Health Association (APHA), American Water Works Association (AWWA) and Water Pollution Control Federation (WPCF), Washington DC.

APHA. 1995. Standard methods for the examination of water and wastewater. 19th Edition, American Public Health Association (APHA), American Water Works Association (AWWA) and Water Pollution Control Federation (WPCF), Washington DC.

Clarke, A., R. Mac Nally, N. Bond, and P.S. Lake. 2008. Macroinvertebrate diversity in headwater streams: a review. Freshwater Biology. 53: 1707–1721.

Fernando, E.S. 1998. Forest formations and flora of the Philippines. College of Forestry and Natural Resources, University of the Philippines Los Banos.

Hinkle, D.E. 1998. Applied statistics for the behavior sciences. 4th Edition. Houghton Mifflin, NY.

Margalef, R. 1958. Information theory in ecology. General Systems, 3: 36–71.

Matthews, R.A., A.L. Buikema Jr., J. Cairns Jr., and J.H. Rodgers Jr. 1982. Biological monitoring: Part IIA - receiving system functional methods, relationships and indices. Water Research. 16: 129–139.

Mustow, S.E. 2002. Biological monitoring of rivers in Thailand: use and adaptation of the BMWP score. Hydrobiologia. 479: 191–229.

Norris, R.H. and A. Georges. 1993. Analysis and interpretation of benthic macroinvertebrate surveys. p.234–286. In: D.M. Rosenberg and V.H. Resh. Freshwater biomonitoring and benthic macroinvertebrates. Chapman & Hall, NY.

Pollution Control Department. 2016. Biological measurement of water quality by using benthic animals. Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok.

Prommi, T., and A. Payakka. 2015. Aquatic Insect Biodiversity and Water Quality Parameters of Streams in Northern Thailand. Sains Malaysiana. 44: 707–717.

Rosenberg, D.M. and V.H. Resh. 1993. Freshwater biomonitoring and benthic macroinvertebrates. Springer New York, NY.

Sangpradub, N., and B. Boonsoong. 2006. Identification of freshwater invertebrates of the Mekong River and its tributaries. Mekong River Commission, Vientiane.

Sarmiento, R.T., and J.A. Mercado. 2019. Land use changes and their influence in the conservation of plant diversity within a small Binaba Watershed. Journal of Biodiversity and Environmental Sciences. 14: 139–150.

Tourism Authority of Thailand. 2019. Thailand Map. Available: https://www.tourismthailand.org. Accessed Nov. 17, 2023.

Tudorancea, C., R.H. Green, and J. Huebner. 1979. Structure, dynamics and production of the benthic fauna in Lake Monitoba. Hydrobiologia. 64: 59–95.

US.EPA. 1971. Method 352.1: nitrogen, nitrate (colorimetric, brucine) by spectrophotometer. National Pollutant Discharge Elimination System (NPDES) and Safe Drinking Water Act (SDWA), Washington DC.

Wilhm, J.L., and T.C. Dorris. 1968. Biological parameter of water quality criteria. Bioscience. 18: 447–481.

Yule, C.M., and Y.H. Sen. 2004. Freshwater invertebrates of the Malaysian Region. Academy of Sciences Malaysia, Kuala Lumpur.