การประเมินผลผลิตของสายพันธุ์มันเทศด้วย SPAD Chlorophyll Meter Reading

Main Article Content

นพดล สุราช
อนนท์ จันทร์เกตุ
รัตติกาล เสนน้อย
รัชนี พุทธา
รัตนจิรา รัตนประเสริฐ

บทคัดย่อ

ค่า SPAD Chlorophyll meter reading (SCMR) คือเครื่องมือวัดปริมาณคลอโรฟิลล์ทางอ้อมซึ่งเป็นลักษณะที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการให้ผลผลิต ค่า SCMR ที่ได้อาจนำมาใช้เพื่อประเมินผลผลิตของมันเทศ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) ประเมินอิทธิพลของสภาพแวดล้อม และสายพันธุ์ ต่อความยาวเถา ค่า SCMR และผลผลิตของมันเทศ และ 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างค่า SCMR และความยาวเถา กับผลผลิตหัวแห้งของมันเทศ ปลูกทดสอบมันเทศในสภาพแปลงในพื้นที่ปลูกของจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ (L1-RMUTI) อำเภอจอมพระ (L2-Chomphra) และ อำเภอสนม (L3-Sanom) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (randomized complete block design; RCBD) สิ่งทดลอง คือ สายพันธุ์มันเทศจำนวน 10 สายพันธุ์ จำนวน 3 ซ้ำ  ข้อมูลที่ตรวจวัด ได้แก่ ความยาวเถา และค่า SCMR ที่อายุ 30 และ 60 วันหลังปลูก (DAP) และน้ำหนักหัวแห้งที่อายุเก็บเกี่ยว ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อความยาวเถาที่อายุ 30 และ 60 DAP ค่า SCMR ที่อายุ 30 DAP และน้ำหนักหัวแห้ง อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ สายพันธุ์มันเทศมีความแปรปรวนเกือบทุกลักษณะ ยกเว้นค่า SCMR ที่อายุ 60 DAP และพบปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสายพันธุ์ของทุกลักษณะที่ตรวจวัด พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างค่า SCMR ที่อายุ 30 DAP กับความยาวเถาที่อายุ 60 DAP ในพื้นที่ L3 (r = 0.37*) พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างค่า SCMR ที่อายุ 30 DAP กับน้ำหนักหัวแห้งทั้ง 3 พื้นที่ปลูก (L1; r = 0.56**, L2; r = 0.44* และ L3; r = 0.47** ตามลำดับ) พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความยาวเถาที่อายุ 30 DAP กับน้ำหนักหัวแห้งใน L1 (r = 0.55**) และพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความยาวเถาที่อายุ 60 DAP กับน้ำหนักหัวแห้งใน L2 (r = 0.36*) และ L3 (r = 0.37*) การพบความสัมพันธ์ระหว่างค่า SCMR กับลักษณะความยาวเถา และผลผลิตในระดับปานกลางในบางพื้นที่ปลูก ชี้ให้เห็นว่าลักษณะ SCMR และความยาวเถา อาจจะเป็นลักษณะทางอ้อมในการคัดเลือกสายพันธุ์มันเทศ เพื่อให้มีผลผลิตสูงในโครงการปรับปรุงพันธุ์มันเทศได้ในอนาคต หากมีการศึกษาเพิ่มเติมในมันเทศหลากหลายสายพันธุ์ และหลายสภาพแวดล้อม จะทำให้เข้าใจและยืนยันผลเกี่ยวกับการใช้ค่า SCMR และความยาวเถา ในการประเมินผลผลิตในมันเทศต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพ ฯ.

กองวิเคราะห์ดิน. 2540. คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีดินกับการวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ. 59 หน้า.

คมสันต์ พันธุพาน และปรเมศ บรรเทิง. 2559. การประเมินความเข้มของสีใบด้วย SCMR การเจริญเติบโต และผลผลิตของมันสำปะหลัง ที่ปลูกภายใต้การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนที่แตกต่างกัน. แก่นเกษตร. 44 (ฉบับพิเศษ 1): 1089.

ณภาภัช ใจเพ็ชร, ธัญญารัตน์ มังกร, วิตรี พรมศร และอนุรักษ์ อรัญญนาค. 2557. ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์และผลผลิตชีวมวลของลูกผสมข้ามชนิดระหว่างสบู่ดํากับเข็มปัตตาเวีย. ในการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 8 – 9 ธันวาคม 2557.

ณรงค์ แดงเปี่ยม, อนุรักษ์ สุขขารมย์, วราพงษ์ ภิระบรรณ์ และมนัสชญา สายพนัส. 2558. วิจัยและพัฒนาการผลิตมันเทศ : การทดสอบพันธุ์มันเทศเพื่ออุตสาหกรรม. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สืบสกุล ศิริยุทธ์. 2554. การประเมินระดับคลอโรฟิลล์ในใบด้วยดัชนีชี้วัดที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อำนวย อรรถลังรอง, ณรงค์ แดงเปี่ยม, ทิพย์ดรุณี สิทธินาม และสุภาวดี สมภาค. 2558. วิจัยและพัฒนาการผลิตมันเทศ : การเปรียบเทียบพันธุ์มันเทศญี่ปุ่น. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Anand, H. M., and G. Byju. 2008. Chlorophyll meter and leaf colour chart to estimate chlorophyll content, leaf colour, and yield of cassava. Photosynthetica. 46(4): 511-516.

Black, C.A. 1965. Methods of Soil Analysis: Part I, Physical and Mineralogical Properties. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.

Bray, R.H., and L.T. Kurtz. 1945 Determination of total, organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Science. 59: 39-45.

Chapman, H.D. 1965. Cation. Exchange Capacity. In Methods of soil analysis, part 2 No. 9 pp 891-913 Amer. Soc. Agron., Madison, Wis.

FAO. 1992. The World Sweet potato Economy. Basic Foodstuffs Service Commodities and Trade Division, Rome, Italy.

FAO. 2024. FAOSTAT (Detailed trade matrix). Sweet potato import quantity. Available: https://www.fao.org/faostat/en/#data/TM. Accessed Mar.7, 2024.

Gomez, K.A., and A.R. Gomez. 1984. Statistical procedures for agricultural research lnternational Rice Research lnstitute. John willey and Sons. New York.

Harn, S.K. 1977. A quantitative approach to source potentials and sink capacities among reciprocal grafts of sweet potato varieties. Crop Science. 17: 559-562.

Hozyo, Y., T. Murata, and T. Yoshida. 1971. The development of tuberous roots in grafting sweet potato plants, Ipomoea batatas Lam. Bulletin of the National Institute of Agricultural Sciences. 22: 165–191.

Pepó, P. 2020. Correlation analysis of the SPAD readings and yield of sweet potato (Ipomoea batatas L.) under different agrotechnical conditions. Australian Journal of Crop Science. 14(05): 761-765.

Su, Y.S., H.C. Guo, and X.L. Yang. 2009. Study on correlations between SPAD readings and chlorophyll content in leaves of sweet potato, dioscorea and konjaku. Southwest China Journal of Agricultural Sciences. 22(1): 64-66.

van de Fliert, E., and A. Braun. 1999. Farmer field school for integrated crop management of sweetpotato. Field guides and technical manual. International Potato Center. Lima, Peru. 266 p.

Walkley, A., and I.A. Black. 1947. Chromic acid titration method for determination of soil organic matter. Soil Science Society of America, Proceedings. 63: 257.

Uddling, J., J. Gelang-Alfredsson, K. Piikki, and H. Pleijel. 2007. Evaluating the relationship between leaf chlorophyll concentration and SPAD-502 chlorophyll meter readings. Photosynthesis Research. 91(1): 37-46.