ความต้องการการส่งเสริมด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพระดับปานกลางในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

วรัญญา พรสีมา
อรุณี พรมคำบุตร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการการส่งเสริมด้านการบริหารจัดการ และเปรียบเทียบความต้องการการส่งเสริมด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนระดับปานกลาง ในจังหวัดมหาสารคาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากประธานวิสาหกิจชุมชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 206 ราย ในช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test และ F-test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธี Scheffe’ test ผลการศึกษา พบว่า วิสาหกิจชุมชนมีความต้องการการส่งเสริมในระดับมาก ในประเด็น การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า การสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ และวิธีการส่งเสริมโดยการศึกษาดูงาน การเปรียบเทียบความต้องการการส่งเสริมด้านการบริหารจัดการ พบว่า ประธานที่มีอายุ ระดับการศึกษา การมีตำแหน่งทางสังคม วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนนิติบุคคล และมีช่องทางการจำหน่ายที่แตกต่างกันมีความต้องการการส่งเสริมด้านการบริหารจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05, 0.01 และ 0.001) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนที่ประธานมีอายุไม่เกิน 45 ปี จบการศึกษาไม่เกินระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และดำรงตำแหน่งทางสังคมหรือเป็นผู้นำชุมชน เป็นวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนนิติบุคคล และมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลางก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจจนสามารถถ่ายทอดและเป็นต้นแบบให้แก่วิสาหกิจชุมชนอื่นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2565. รายงานภาพรวมผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. แหล่งข้อมูล: http://www.sceb.doae.go.th /Documents/SSV/Evaluation%20CE/EvaluationCE_2565_3.pdf. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565.

กษมาพร พวงประยงค์. 2554. แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

กิตติกร ฮวดศรี, กิตติกวินต์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์, รังสิมา สว่างทัพ, รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ และชนินาถ ทิพย์อักษร. 2561. ปัจจัยด้านทุนมนุษย์ที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. สหวิทยาการจัดการ. 1: 11-19.

จิตร เกื้อกูล. 2554. ความต้องการส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรในตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

เจริญไชย พรไพรเพชร, ยุทธสิทธิ จันทร์คูเมือง, นิตยา สุนทรสิริพงศ์, ปรีชา รุทธโสธร, กฤติกา จันทร์พล, วาที ดิเรกศรี และปณิฏฐา พรรณวิเชียร. 2560. ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพในการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผู้ประกอบการในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 3: 28-41.

ชมภูนุช หุ่นนาค, สมพร เฟื่องจันทร์ และปภาวดี มนตรีวัต. 2562. แนวทางการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 9: 85-97.

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, ทวีศักดิ์ รูปสิงห์ และวิเชียร เกตุสิงห์. 2559. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 26: 141-152.

ภัทรกานต์ นวลมะณีย์. 2550. แนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

นภัส เหมะธร และสุกัลยา เชิญขวัญ. 2565. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือตามมาตรฐาน มกษ. 8000-2555 ของเกษตรกรในจังหวัดชัยภูมิ. แก่นเกษตร. 50: 690-702.

นุชนาถ ทับครุฑ,ศุกพิชญาณ์ บุญเกื้อ และอรอนงค์ อำภา. 2563. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรังโดยใช้แนวคิดในการบริหารจัดการ Balanced Scorecard. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12: 1-12.

บุญชม ศรีสะอาด. 2532. การวิจัยเบื้องต้น. สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.

พชรพร วงษ์วาน. 2563. แนวทางการบริหารการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 15: 100-111.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. 2550. ระเบียบวิธีวิจัย. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วชิรา ไฝเจริญมงคล และจิราพร เชียงชะนา. 2565. การศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนาของวิสาหกิจชุมชน. แหล่งข้อมูล: http://www.sceb. doae.go.th/data/reportBoos/รายงานการวิจัยปัจจัยแวดล้อม-เผยแพร่.pdf. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. 2550. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2566. การยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร. แหล่งข้อมูล: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2564. รายงานการศึกษาการพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน/วิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการค้าและบริการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก. แหล่งข้อมูล: https://uploads.tpso.go.th/elmokhrngkaarwisaahkicchchumchnpii64.pdf. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. 2548. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. แหล่งข้อมูล : https://smce.doae.go.th/faq/ show.php?faq_id=12. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2565.

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. 2547. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อมรรัตน์ เวชการ, สุกัลยา เชิญขวัญ และประภัสสร เกียรติสุรนนท์. 2562. ความต้องการการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ. แก่นเกษตร. 50: 369-380.