การพัฒนาซองปลดปล่อยไอระเหยเอทานอลแบบควบคุมเพื่อยืดอายุการวางจำหน่ายผักสลัดเบบี้คอสตัดแต่งพร้อมบริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผักสลัดเบบี้คอสเป็นผักสลัดที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานเนื่องจากมีรสชาตที่หวาน กรอบ แต่ในขณะเดียวกันผักสลัดเบบี้คอสตัดแต่งพร้อมบริโภคมีอายุการเก็บรักษาที่สั้นโดยปกติจะมีอายุการเก็บรักษามากที่สุด 3 วันที่อุณหภูมิ 4±1 องศาเซลเซียส ผักสลัดเบบี้คอสมักเกิดการเน่าเสียได้ง่ายเนื่องจากมีองค์ประกอบของน้ำภายในเซลล์เป็นจำนวนมาก และบาดแผลที่เกิดจากการตัดแต่งส่งผลให้จุลินทรีย์เข้าทำลายได้ง่าย หากเป็นจุลินทรีย์ก่อโรคก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของซองปล่อยไอระเหยเอทานอลต่ออายุการเก็บรักษาผักสลัดเบบี้คอสตัดแต่งพร้อมบริโภค โดยศึกษาการใช้ซองปล่อยไอระเหยเอทานอลจากวัสดุต่างๆ ได้แก่ ฟิล์ม low density polyethylene (LDPE), Fresh&Fresh และ aluminium/PE เจาะรูขนาดเล็ก ประกบอีกด้านด้วย aluminium/PE ขนาด 3×3 -เซนติเมตร บรรจุซิลิกาเจลที่อิ่มตัวไปด้วยไอระเหยเอทานอลปริมาณ 1 กรัม จากนั้นนำซองปล่อยไอระเหยเอทานอลไปใช้ร่วมกับบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุผักสลัดเบบี้คอสตัดแต่งพร้อมบริโภค ประเมินการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมี กายภาพ จุลินทรีย์และคุณภาพทางประสาทสัมผัส รวมถึงอายุการเก็บรักษาของผักสลัดเบบี้คอสตัดแต่งพร้อมบริโภค พบว่าซองปล่อยไอระเหยชนิด aluminium/PE เจาะรูขนาดเล็ก ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เมื่อเทียบกับตัวอย่างที่ไม่ได้ใช้ซองปล่อยอระเหยเอทานอล(ชุดควบคุม) (p≤0.05) สำหรับผลการศึกษาด้านคุณภาพทางประสาทสัมผัสพบว่า การใช้ซองปล่อยไอระเหยเอทานอลชนิด aluminium/PE เจาะรูขนาดเล็กทำให้ผู้บริโภคให้การยอมรับผักสลัดเบบี้คอสตัดแต่งมากที่สุด (p≤0.05) ทั้งด้านความสด, สี, กลิ่น, การเกิดสีน้ำตาลบริเวณรอยตัด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าซองปล่อยไอระเหยเอทานอลมีประสิทธิภาพในการยืดอายุผักสลัดเบบี้คอสตัดแต่งพร้อมบริโภคที่เกิดการเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพด้านประสาทสัมผัส โดยซองปล่อยไอระเหยเอทานอลจะทำให้ผักสลัดเบบี้คอสตัดแต่งพร้อมบริโภคมีอายุการเก็บรักษานานที่สุด 6 วัน ในขณะที่ชุดควบคุมมีอายุการเก็บรักษาเพียง 3 วันที่อุณหภูมิ 4±1 องศาเซลเซียส
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ดนัย บุณยเกียรติ. 2556. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชสวน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
นพรัตน์ ทัดมาลาม, วาริช ศรีละออง และสมัคร แก้วสุกแสง. 2560. การประยุกต์ใช้ Ethanol Vapor Releasing Pad ในการควบคุมคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลลองกอง. วารสารแก่นเกษตร. 45(1): 1191-1196.
พัชรี มะลิลา, วีรเวทย์ อุทโธ, ฤทธิรงค์ พฤฑฒิกุล, เรวัติ ชัยราช และกฤตยา อุทโธ. 2562. ผลของชนิดฟิล์มพลาสติกต่อจลนพลศาสตร์การปล่อยไอระเหยเอทานอลและการประยุกต์ใช้ในบรรจุภัณฑ์แอคทีฟ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 21(2): 146-156.
วีรเวทย์ อุทโธ, เอกสิทธิ์ อ่อนสะอาด และเรวัติ ชัยราช. 2560. การพัฒนาต้นแบบซองควบคุมการปล่อยไอระเหยเอทานอลสำหรับมะละกอตัดสด. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 30(1): 39-49.
Bai, J., E.A. Baldwin, J.P. Fortuny, R. Mattheis, C. Stanley, Perera, and J.K. Brecht. 2004. Effect of pretreatment of intact ‘Gala’ apple with ethanol vapor heat or 1-methylcyclopropene on quality and shelf life of fresh-cut slices. Journal American Society Horticultural Science. 129: 583-593.
Bai, J., A. Plotto, R. Spotts, and N. Rattanapanone. 2011. Ethanol vapor and saprophytic yeast treatments reduce decay and maintain quality of intact and fresh-cut sweet cherries. Postharvest Biology and Technology. 62(2): 204-212.
Corrales, M., P.M. de Souza, M.R. Stahl, and A. Fernandez. 2012. Effects of the decontamination of a fresh tiger nut milk beverage (horchata) with short wave ultraviolet treatments (UV-C) on quality attributes. Innovative Food Science and Emerging Technologies. 13: 163-168.
Khanam, U.K.S., S. Oba, E. Yanase, and Y. Murakami. 2012. Phenolic acids, flavonoids and total antioxidant capacity of selected leafy vegetables. Journal Functional Foods. 4(4): 979-987.
Lurie, S., E. Pesis, O. Gadiyeva, O. Feygenberg, R. Ben-Arie, T. Kaplunov, Y. Zutahy, and A. Lichter. 2006. Modified ethanol atmosphere to control decay of table grapes during storage. Journal of Postharvest Biology and Technology. 42(3): 222-227.
Meilgaard, M., G. Civille, and B. Carr. 2016. In: Meilgaard, M., Civille, G.V., Carr, B.T. (Eds.), Sensory Evaluation Techniques.
Saltviet, M.E., and F. Mencarelli. 1988. Inhibition of eth¬ylene synthesis and action in ripening tomato fruit by ethanol vapors. Journal American Society Horticultural Science. 113: 572-576.
Suzuki, Y., T. Uji, and H. Terai. 2004. Inhibition of senescence in broccoli florets with ethanol vapor from alcohol powder. Journal of Postharvest Biology and Technology. 31(2): 177-182.
Vhvenainen, R. 1996. New approaches in improving the shelf life of minimally processed fruit and vegetable. Journal of Trends in Food Science and Technology. 7: 179-187.
Witham, F.H., F.B. David, and M.D. Robert. 1971. Experiments in plant physiology. Nostrand company. New York, 245.
Utama, I.M.S., R.B.H. Wills, S. Ben-Yehoshua, and C. Kuek. 2002. Efficacy of plant volatiles for inhibiting the growth of fruit and vegetable decay microorganisms. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 50(22): 6371-6377.
Utto, W., E. Onsaard, and R. Chairat. 2012. Development of controlled ethanol vapour release sachet prototype for fresh-cut ripen papaya. King Mongkut’s Agricultural Journal. 30: 39-49.