ระบบการผลิตหอมแดงและความต้องการการส่งเสริมการผลิตหอมแดงของเกษตรกร ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

พรพิมล หมั่นจิตร
สุกัลยา เชิญขวัญ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาระบบการผลิตหอมแดงของเกษตรกร ตำบลบ้านกอก และ 3) ศึกษาความต้องการการส่งเสริมการผลิตหอมแดงของเกษตรกร ตำบลบ้านกอก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในฤดูกาลผลิตปี 2565/2566 จำนวน 129 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 58.58 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกรรม จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.94 คน เป็นแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.28 คน มีประสบการณ์ปลูกหอมแดงเฉลี่ย 14.5 ปี เกษตรกรมีรายได้ทั้งปี 360,881.40 บาท เป็นรายได้จากการปลูกหอมแดงเฉลี่ย 94,658.14 บาท คิดเป็นร้อยละ 26.23 ของรายได้ทั้งหมด ในการผลิตหอมแดง แบ่งเป็น 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน มีผลผลิตเฉลี่ย 1,700 กิโลกรัมต่อไร่ และฤดูหนาว มีผลผลิตเฉลี่ย 2,289 กิโลกรัมต่อไร่ มีรูปแบบการจำหน่าย 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบบมัดตากแห้ง ราคา 15-50 บาทต่อกิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ 34,787.34-39,118.68 บาทต่อไร่ และ 2) แบบตากแห้งมัดจุกตัดแต่ง ราคา 18-80 บาทต่อกิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ 42,455.49-78,747.68 บาทต่อไร่ ปัญหาในการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย สารเคมี และสารชีวภัณฑ์ มีราคาสูง ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น เกษตรกรต้องการการสนับสนุนปัจจัยการผลิตหรือแหล่งซื้อปัจจัยการผลิตในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด รวมทั้งองค์ความรู้ในการใช้ปุ๋ย สารเคมี และสารชีวภัณฑ์ แนวทางการส่งเสริมได้แก่ การวางแผนการผลิต การอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และสารชีวภัณฑ์ การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งเสริมการทำการตลาดออนไลน์ และมีเดีย สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2565. สินค้าหอมแดง. แหล่งข้อมูล : https://api.dtn.go.th/files/v3/623d4947- ef4140b7a16aca65/download. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565.

กรมวิชาการเกษตร. 2559. โรคพืชวงศ์หอมกระเทียม. แหล่งข้อมูล : http ://microorganism.expertdoa.com- /microorganism_disease_16.php. ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. 2564. การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เรื่องการสร้างกระบวนการรวมกลุ่มและการมีส่วนร่วม. แหล่งข้อมูล : https://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_3552725588.pdf. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566.

จิรายุ สุมิกา และธนวรรณ สุมิกา. 2564. การพัฒนาชาสมุนไพรหอมแดงเพื่อสุขภาพที่มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 16: 148 – 159.

จีระนันท์ วงศ์วทัญญู, กนกกาจน์ จิรศิริเลิศ และณัฏฐ์พัชร์ วณิชย์กุล. 2561ก. การผลิตและต้นทุนการผลิตหอมแดงในเขตพื้นที่ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการเกษตรราชภัฏ. 17: 69 – 76.

น้ำผึ้ง ท่าคล่อง. 2564. การดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงการผลิตหอมแดงภายใต้มโนทัศน์ภูมิศาสตร์การเกษตร: กรณีศึกษาบ้านยางชุมใหญ่ หมู่ที่ 1 อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 14: 95 – 109.

พรสวรรค์ นิลสนธิ. 2557. การผลิตหอมแดงและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเกษตรศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

ยุพิน เถื่อนศรี. 2559. การพัฒนาเครือข่ายด้านการผลิตและการตลาดหอมแดง ของเกษตรกรในตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร. 18: 86 – 102.

วรวุฒิ สมศักดิ์, สุกัญญา ชาชิโย, สมเดช ศรีชัยรัตนกูล และชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์. 2558. ฤทธิ์ของสารสกัดหอมแดงต่อความเสียหายของตับและไตจากการติดเชื้อมาลาเรีย Plasmodium berghei ในหนูทดลอง. น. 819 – 830. ใน: ประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 26 มิถุนายน 2558. หาดใหญ่, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2565. มาตรฐานสินค้าเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.acfs.go.th/#/- attachfile-multi2/standard-act. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. หอมแดง: พื้นที่เพาะปลูกหอมแดง ปี2545-2564. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th. ค้นค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2565.

อรวรรณ บุตรโส และศานิต เก้าเอี้ยน. 2549. การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกหอมแดง โดยวิธีกำจัด-ศัตรูพืชด้วยสารเคมีและสารชีวภาพในจังหวัดศรีสะเกษ ปีการผลิต 2546/2547. วารสารเศรษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 13: 24 – 40.