การปรากฏของเพลี้ยไฟในองุ่นและการควบคุมด้วยสารเคมี และสารกำจัดศัตรูพืชจากวัสดุธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการปรากฏของเพลี้ยไฟในองุ่น พันธุ์บิวตี้ซีดเลส และพันธุ์เฟลมซีดเลส และการควบคุมด้วยสารเคมี และสารกำจัดศัตรูพืชจากวัสดุธรรมชาติ ณ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 พบว่า ตัวอย่างเพลี้ยไฟที่พบทั้งหมดจำแนกได้เป็น เพลี้ยไฟพริก Scirtothrips dorsalis Hood, 1919 โดยสามารถพบได้ตั้งแต่ระยะแตกตาและการเจริญของยอด (ก่อนการบานของดอก) โดยประชากรเพลี้ยไฟจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น และมีปริมาณมากที่สุดในระยะองุ่นเริ่มเปลี่ยนสี การทดสอบประสิทธิภาพของป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในห้องปฏิบัติการประกอบด้วย 11 กรรมวิธี โดยมีกลุ่มสารเคมีกำจัดแมลง 4 ชนิด ได้แก่ fipronil, carbaryl, imidacloprid และ carbosulfan กลุ่มสารกำจัดศัตรูพืชจากวัสดุธรรมชาติ 6 ชนิด ได้แก่ น้ำหมักสมุนไพรสูตร PP1-PP4, สบู่อ่อนและ เชื้อราสาเหตุโรคแมลง Beauveria bassiana และชุดควบคุม 1 กรรมวิธี ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า สารเคมีกำจัดแมลงทั้ง 4 ชนิด (fipronil, carbaryl, imidacloprid และ carbosulfan) มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยไฟพริกได้สูงสุดและไม่มีความแตกต่างระหว่างกัน (p>0.05) พบเพลี้ยไฟมีอัตราการตาย หลังจากพ่นสาร 1, 3 และ 5 วัน คิดเป็น 73.33±21.68, 90.00±5.77 และ 100.00±0.00% ตามลำดับ นอกจากนั้น สบู่โพแทสเซียมหรือสบู่อ่อนก็สามารถกำจัดเพลี้ยไฟได้ถึง 83.67±6.67% หลังจากพ่นสาร 5 วัน น้ำหมักสมุนไพรสูตร PP1, PP2, PP4 และเชื้อราสาเหตุโรคแมลง B. bassiana สามารถกำจัดเพลี้ยไฟได้ถึง 70.00±0.00% หลังจากพ่นสารวันที่ 6 แต่น้ำหมักสมุนไพรสูตร PP3 โดยมีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยไฟพริกต่ำสุด สามารถทำให้เพลี้ยไฟตายได้เพียง 36.67±8.82% หลังจากการพ่นสาร 7 วัน นอกจากนี้อัตราการตายหลังจากฉีดพ่นด้วย B. bassiana วันที่ 7 คิดเป็น 63.33±3.33% โดยทุก ๆ กรรมวิธีมีอัตราการตายของเพลี้ยไฟค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหลังจากการฉีดพ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
งานพัฒนาและส่งเสริมการปลูกไม้ผล มูลนิธิโครงการหลวง. 2562. รายงานสรุปผลการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมไม้ผลมูลนิธิโครงการหลวงปีงบประมาณ 2562. เชียงใหม่.
งานไม้ผล สำนักพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2562. รายงานสรุปผลการดำเนินงานไม้ผลสำนักพัฒนาสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ปีงบประมาณ 2562. เชียงใหม่.
เจนจิรา หม่องอ้น, ณัฐดนัย ลิขิตตระการ, สุรีย์วัลย์ เมฆกมล, ปัณชพัฒน์ แจ่มเกิด และฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว. 2566. ผลของการพ่นโพแทสเซียมซิลิเกตทางใบต่อความแข็งแรงและลดการเกิดโรคราแป้งขององุ่นพันธุ์บิวตี้ซีดเลส. PSRU Journal of Science and Technology. 8(2): 105-120.
พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2562. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 6. พิพิธภัณฑ์แมลงสยาม อำเภอแม่ริม, เชียงใหม่.
รัติยาพร ใจดี. 2564. ผลของน้ำหมักสมุนไพรในการควบคุมเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยไฟในผักสลัดเรดโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโพรนิคส์. แก่นเกษตร. 49(ฉบับพิเศษ 1): 1038-1043.
ศมาพร แสงยศ, รุ่งเกียรติ แก้วเพชร และจุฑามาศ อาจนาเสียว. 2557. การใช้ประโยชน์เชื้อราโรคแมลงสายพันธุ์ท้องถิ่น ควบคุมเพลี้ยไฟพริก (Scirtothrips dorsalis Hood (Thysanoptera: Thripidae)) และการประเมินประโยชน์ของเชื้อราเหล่านั้น ใน: รายงานผลการวิจัย. 2557. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูล, วิภาดา ปลอดครบุรี และอุราพร หนูนารถ. 2558. ประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟพริก; Scirtothrips dorsalis Hood ในกุหลาบ. วารสารกีฏวิทยาและสัตววิทยา. 33(2): 3-24.
ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง และสมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น. 2564. การจัดการสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟพริก Scirtothrips dorsalis Hood ในกุหลาบพวง. วารสารกีฏวิทยาและสัตววิทยา. 39(1): 12-20.
ศิริณี พูนไชยศรี. 2544. เพลี้ยไฟ. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.
ศิริณี พูนไชยศรี และลักขณา บำรุงศรี. 2554. แมลงปากดูดชนิดที่สำคัญในประเทศไทย. กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2558. องุ่น. แหล่งข้อมูล: https://hkm.hrdi.or.th/page/knowledge/detail/87. ค้นเเมื่อ 18 ตุลาคม 2564.
สมชาย อิสิชัยกุล. 2546. แมลงศัตรูองุ่นและการป้องกันกำจัด. เกษตรก้าวหน้า. 16(2): 71-80.
สุรศักดิ์ นิลนนท์. 2555. เทคโนโลยีการผลิตองุ่นและการทำไวน์. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. 2564. เอกสารวิชาการ: การใช้สารกำจัดแมลงและไรศัตรูพืชเพื่อแก้ไขปัญหาความต้านทานศัตรูพืช. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
EFSA PLH Panel (EFSA Panel on Plant Health), Bragard, C., F.D. Serio, P. Gonthier, J.A.J. Miret, A.F. Justesen, C.S. Magnusson, P. Milonas, J.A. Navas-Cortes, S. Parnell, R. Potting, P.L. Reignault, H-H. Thulke, W. Van der Werf, A.V. Civera, J. Yuen, L. Zappalà, J-C. Gregoire, C. Malumphy, E. Czwienczek, V. Kertesz, A. Maiorano, and A. MacLeod. 2021. Scientific Opinion on the pest categorisation of Oligonychus mangiferus. Available: https://doi.org/10.2903/j.efsa.2021.6927. Accessed Jul.24, 2024.
Dheeraj, J., S. Verghese, and S. Nisha. 2013. Insecticidal effect of the mixture of Potassium soap and Pyrethroids on Potato Leaf roll Virus (PLRV) found on Potato Plants. Journal of Applicable Chemistry. 2(3): 518-525.
Dias-Pini, N.S., M.G.A. Lima, E.F.B. Lima, G.P.S. Maciel, and P.M. Duarte. 2018. Scirtothrips dorsalis (Thysanoptera: Thripidae): a newly introduced polyphagous pest in Northeastern Brazil. Neotropical Entomology. 47: 725-728.
Held, D.W., D.W.Jr. Boyd, and C. Wheeler. 2007. Comparison of various insecticides for control of Gynaikothrips uzeli inside galls, 2006. Arthropod Management Tests. 33: G35.
Kumar, V., G. Kakkar, C. McKenzie, D. Seal, and L. Osborne. 2013. An overview of chilli thrips. Scirtothrips dorsalis (Thysanoptera: Thripidae) biology, distribution and management. p. 53-77. In: S. Solenski and M. Larramendy (eds.), Weed and Pest Control - Conventional and New Challenges. Intech. Rijeka, Croatia.
Mochizuki, M., and S. Toda. 2015. Reduction of grape berry damage caused by the yellow tea thrips, Scirtothrips dorsalis Hood, in espalier grapevine trees mulched with reflective sheets. Annual Report of The Kansai Plant Protection Society. 57: 63-67.
Mound, L.A., and Y.F. Ng. 2009. An illustrated key to the genera of Thripinae (Thysanoptera) from South East Asia. Zootaxa. 2265: 27-47.
Mound, L.A., and J.M. Palmer. 1981. Identification, distribution and host plants of the pest species of Scirtothrips (Thysanoptera: Thripidae). Bulletin of Entomological Research. 71(3): 467-479.
Mound, L.A., and M. Stiller. 2011. Species of the genus Scirtothrips from Africa (Thysanoptera, Thripidae). Zootaxa. 2786(2786): 51-61.
Niyigena, G., S. Lee, S. Kwon, D. Song, and B-K. Cho. 2023. Real-time detection and classification of Scirtothrips dorsalis on fruit crops with smartphone-based deep learning system: preliminary results. Insects. 14(6): 523.
IRAC. 2024. Mode of action classification scheme. Available: https://irac-online.org/documents/moa-classification. Accessed Jun.28, 2024.
Taskesenlioglu, M.Y., S. Ercisli, M. Kupe, and N. Ercisli. 2022. History of grape in Anatolia and historical sustainable grape production in Erzincan agroecological conditions in Turkey. Sustainability. 14(3): 1496.