การใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียสังเคราะห์แสงในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย

Main Article Content

ธนบดี ปิ่นทศิริ
พีระพล คำหอม
สุรภี ประชุมพล
จอมสุดา ดวงวงษา
จามรี เครือหงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียสังเคราะห์แสงในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย ประกอบด้วย    2 การทดลอง วัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาการเจริญเติบโตของแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (PSB) 2) ศึกษาการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วย PSB 3) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วย PSB การทดลองที่ 1 การเจริญเติบโตของ PSB โดยการใช้ไข่ไก่ความเข้มข้น 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45 และ 50 มิลลิลิตรต่อลิตร เมื่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นระยะเวลา 14 วัน พบว่าการใช้ไข่ไก่ 5 ความเข้มข้นที่เจริญเติบโตดีที่สุด ได้แก่ 45, 50, 25, 10 และ 5 มิลลิลิตรต่อลิตร ตามลำดับ จึงนำผลดังกล่าวไปทำการทดลองที่ 2 เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยแบคทีเรียสังเคราะห์แสงกับสาหร่ายคลอเรลลา (ชุดควบคุม) พบว่าการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยสาหร่ายคลอเรลลาให้การเจริญเติบโตสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เทียบกับไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วย PSB แต่อัตราการรอดตายและผลผลิตของไรนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วย PSB ความเข้มข้น 25 มิลลิลิตรต่อลิตรสูงที่สุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับชุดการทดลองอื่น เมื่อคำนวณต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า PSB ได้กำไรสุทธิสูงกว่าการเลี้ยงด้วยสาหร่ายคลอเรลลา การใช้ PSB ความเข้มข้นของไข่ไก่ 10 มิลลิลิตรต่อลิตร ทำให้กำไรและผลตอบแทนสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยสามารถใช้แบคทีเรียสังเคราะห์แสงเป็นอาหารทดแทนสาหร่ายคลอเรลลาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

โฆษิต ศรีภูธร และละออศรี เสนาะเมือง. 2550. การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยโดยใช้น้ำหมักชีวภาพและยีสต์เป็นอาหาร. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์. 6(ฉบับพิเศษ): 369-375.

จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน, จามรี เครือหงษ์ และสุรภี ประชุมพล. 2560. ผลของการเสริมไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis) ต่อการเจริญเติบโตและสีผิวของปลาทอง (Carassius auratus). วารสารเกษตรพระวรุณ. 14(1): 22-29.

จามรี เครือหงษ์, จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน สุรภี ประชุมพล และปริญญา พันบุญมา. 2558. ผลผลิตต้นทุนและผลตอบแทนการลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM. น. 107–114. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร เศรษฐศาสตร์ทรัพยากร เศรษฐศาสตร์อาหาร และธุรกิจเกษตร ครั้งที่ 4 ภูมิคุ้มกันของเกษตรกรและภาคการเกษตรไทย 17 กรกฏาคม 2558, สงขลา.

จามรี เครือหงษ์, จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน, สุรภี ประชุมพล และปริญญา พันบุญมา. 2559. การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM. วารสารแก่นเกษตร. 44(ฉบับพิเศษ): 636–642.

จามรี เครือหงษ์, จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน และสุรภี ประชุมพล. 2559. ผลของระยะเวลาการเสริม คลอเรลลาต่อคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทนอยด์ของไรน้ำนางฟ้าไทยเลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลา. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 10(1): 49-56.

จามรี เครือหงษ์, จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน และสุรภี ประชุมพล. 2560. เปรียบเทียบกรดอะมิโนและกรดไขมันของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยน้ำบ่อปลาสวายเสริมด้วยคลอเรลลา. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 22(ฉบับพิเศษ): 386-399.

จามรี เครือหงษ์, จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน, สุรภีประชุมพล, จิดาภา มงคลแสง, คงกฤช ยิ้มเครือทอง และนางสาวลัทวรรณ พรมกล่ำ. 2562. การใช้ไรน้ำนางฟ้าไทยเพื่อทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในอาหารปลาทับทิม. วาสารวิชาการคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 1(1): 1-5.

จามรี เครือหงษ์, สุรภี ประชุมพล และศิริภรณ์ โคตะมี. 2565. การทดแทนปลาป่นด้วยไรน้านางฟ้าป่น (Branchinella thailandensis) ในอาหารสำหรับลูกปลานิล (Oreochromis niloticus). น. 1-7. ใน: การประชุมระดับชาติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการประชุมระดับชาติงานประจำสู่งานวิจัย 17-18 พฤษภาคม 2565. คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

จิตรา สิมาวัน, นิศาชล ฤาแก้วมา และโฆษิต ศรีภูธร. 2559. ผลของการใช้ไรน้ำนางฟ้าไทยในอาหารต่อความเข้มของสีผิวปริมาณแคโรทีนอยด์รวมและการเจริญเติบโตของปลาทอง. แก่นเกษตร. 44(ฉบับพิเศษ 1): 682-687.

ธนบดี ปิ่นทศิริ และชนกันต์ จิตมนัส. 2561. การนำจุลินทรีย์ (EM) มาประยุกต์ใช้การเพาะเลี้ยงไรแดง (Moina macrocopa). วารสารแม่โจ้ปริทัศน์. 19(3): 16-22.

ธนบดี ปิ่นทศิริ, อัญชิสา ปั้นชูศรี, สุรภี ประชุมพล, จอมสุดา ดวงวงษา และจามรี เครือหงษ์. 2566. ผลผลิตของไรแดง (Moina macrocopa) ที่เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์ (EM) ในปริมาตรที่ต่างกัน. วารสารสัตวศาสตร์. 4(ฉบับพิเศษ 1): 748-754.

ธนบดี ปิ่นทศิริ, สุรภี ประชุมพล และจามรี เครือหงษ์. 2566. ชีววิทยาของไรแดง (Moina macrocopa) จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยง. น. 2-8. ใน: การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 23-24 มีนาคม 2566. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ธีรศักดิ์ สุนทรา. 2551. การใช้น้ำกากส่าในการเพาะเลี้ยงไรแดง. รายงานการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

นุกูล แสงพันธุ์, โฆษิต ศรีภูธร และละออศรี เสนาะเมือง. 2549. ไรน้ำนางฟ้า: จิ๋วแต่แจ๋ว. ศูนย์อนุกรมวิธานประยุกต์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

นุกูล แสงพันธุ์. 2558. คู่มือการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี.

มัสธูรา ละใบเด็น, ธวัฒน์ชัย งามศิริ และทินวุฒิ ล่องพริก. 2562. ผลของการใช้ไรแดงเสริมแบคทีเรียสังเคราะห์แสงต่อการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไม. รายงานวิจัย คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

ละออศรี เสนาะเมือง, วิภาวี ไทเมืองพล, บรรเจิด สอนสุภาพ, สายรุ้ง สอนสุภาพ, โฆษิต ศรีภูธร และประภัทศร ดาบสีพาย. 2565. การจัดการและการถ่ายทอดความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดและไรน้ำนางฟ้าเพื่อการใช้ประโยชน์ในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างยั่งยืน. รายงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), กรุงเทพฯ.

ลัดดา วงศ์รัตน์. 2542. แพลงก์ตอนพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วิกิจ ผินรับ, ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ และดำรงค์ โลหะลักษณาเดช. 2552. การใช้ไรนํ้านางฟ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์นํ้าเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, ตรัง.

ศิพร หล้าสุวงษ์ และบานเย็น นวลศรี. 2548. การเพาะไรแดงโดยใช้กากน้ำตาล. เอกสารวิชาการเลขที่ 22/2548 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครราชศรีมา กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ศิริลักษณ์ จารุสมบัติ. 2531. การใช้เซลล์แบคทีเรียสังเคราะห์แสงในอาหารเพื่อเร่งสีผิวของปลาแฟนซีคาร์ฟ (Cyprinus carpio). ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมศักดิ์ เพียบพร้อม. 2530. หลักและวิธีการจัดการธุรกิจฟาร์ม. โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์, กรุงเทพฯ.

สุธิรา แสงงาม. 2553. การใช้ประโยชน์น้ำกากส่าในการเพาะเลี้ยงคลอเรลลาและไรแดง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2566. แบคทีเรียสังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria : PSB). กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

APHA. 1992. Standard methods for the examination of water and wastewater.18th ed. Washington D.C. American Public Health Association, USA.

Chittra, Y., and C. Benjamas. 2010. Effect of nitrogen, salt, and iron content in the growth medium and light intensity on lipid production by microalgae isolated from freshwater sources in Thailand. Bioresource Technology. 102: 3034-3040.

Dararat, W., K. Lomthaisong, and L. Sanoamuang. 2012. Biochemical composition of three species of fairy shrimp (Branchiopoda: Anostraca) from Thailand. Journal of Crustacean Biology. 32(1): 81-87.

Kay, R. D. 1986. Farm management : planning, control and implementation. Mc Grow Hill Book Co., Singapore.

Kobayashi, M., and M. Kobayashi. 2000. Waste remediation and treatment using anoxygenic phototrophic bacteria. In: Blankenship, R. E., Madigan, M. T. and Bauer, C. E. (eds): Anoxygenic Photosynthetic Bacteria: 1269-1282.

Kuo, F. S., Y. H. Chien, and C. J. Chen. 2012. Effects of light sources on growth and carotenoid content of photosynthetic bacteria Rhodopseudomonas palustris. Bioresource Technology. 113: 315-318.

Meng, F., A. Yang, H. Wang, G. Zhang, X. Li, Y. Zhang, and Z. Zou. 2018. One-step treatment and resource recovery of high-concentration non-toxic organic wastewater by photosynthetic bacteria. Bioresource Technology. 251: 121-127.

Mohammad, A. A. 2019. Optimizing of culture medium for photosynthetic bacteria (PSB). International Journal Of Advance Research and Innovative Ideas In Education. 5(4): 2395-4396.

Patthawaro, S., K. Lomthaisong, and C. Saejung. 2020. Bioconversion of agro-industrial waste to value-added product lycopene by photosynthetic bacterium Rhodopseudomonas faecalis and its carotenoid composition. Waste Biomass. 11: 2375–2386.

Rottmann, R. W., S. J. Graves, C. Watson, and R. P. E. Yanong. 2003. Culture Techniques of Moina sp. Department of Fisheries and Aquatic Sciences, Florida Cooperative Extension Service, Institute of Food and Agricultural Sciences, University of Florida.

Saejung, C., and T. Thammaratana. 2016. Biomass recovery during municipal wastewater treatment using photosynthetic bacteria and prospect of production of single cell protein for feedstuff. Environmental Technology. 37: 3055-3061.

Saejung, C., A. Chaiyarat, and L. Sanoamuang. 2018. Effects of algae, yeast and photosynthetic bacteria diets on survival and growth performance in the fairy shrimp, Streptocephalus sirindhornae (Branchiopoda, Anostraca). Crustaceana. 91: 1505–1522.

Saejung, C., and P. Salasook. 2018. Recycling of sugar industry wastewater for single-cell protein production with supplemental carotenoids. Environmental Technology. 41(1): 59-70.

Sasikala, C., and C.V. Ramana. 1995. Biotechnological potentials of anoxygenic phototrophic bacteria. I. Production of single-cell protein, vitamins, ubiquinones, hormones, and enzymes and use in waste treatment. Advances in Applied Microbiology. 41: 173-226.

Stefanova, I. L., A. Yu. Klimenkova, L. V. Shakhnazarova, and V. Mazo. 2021. Chicken egg white characteristics of its properties and the prospects for functional foods development. Theory and Practice of Meat Processing. 6(2): 163-173.

Yang, A., G. Zhang, G. Yang, H. Wang, F. Meng, H. Wang, and M. Peng. 2017. Denitrification of aging biogas slurry from livestock farm by photosynthetic bacteria. Bioresource Technology. 232: 408-411.