ประสิทธิผลการใช้ระบบ Isan e-Extension ในงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

Main Article Content

บันดิษฐ ใสโศก
สุกัลยา เชิญขวัญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้ระบบส่งเสริมการเกษตร Isan e-Extension ในพื้นที่นำร่อง 27 อำเภอ ครอบคลุม 20 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการศึกษาจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 81 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอในลักษณะการบรรยาย ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 80 ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรในทุกด้าน กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อระบบ Isan e-Extension ในระดับมาก ระบบ Isan e-Extension ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้บางประเด็น ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการประชุมและเบี้ยเลี้ยงในการอบรม เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น เช่น สามารถเยี่ยมเยียนเกษตรกรและองค์กรการเกษตรเพิ่มขึ้น 728 คน และจำนวนครั้งในการเยี่ยมเยียนเพิ่มขึ้น 141 ครั้งต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างให้ความคิดเห็นว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เกิดประสิทธิผลระดับมากและมีความทันสมัย ปัญหาอุปสรรคการใช้ระบบ Isan e-Extension ได้แก่ เครื่องมืออุปกรณ์ในการทำงานมีความจำกัด ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีความเสถียร ขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และขาดความเข้าใจในระบบส่งเสริมการเกษตร Isan e-Extension

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กนกรัตน์ นันทะเสน และวรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2562. ความรู้และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย. วารสารเกษตร. 34: 89-99.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2565. การขับเคลื่อนงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร Next Step. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร.

ภวพร สุขเกษม. 2560. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครพนม มุกดาหาร และสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเกษตรศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น. 2564. คู่มือระบบส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์. (อัดสำเนา).

สินีนุช ครุฑเมือง, แสนเสริม และพลสราญ สราญรมย์. 2558. รูปแบบพฤติกรรมและเงื่อนไขการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 5(2): 87-105.

เอมอร เสือจร, รัฐศิรินทร์ วังกานนท์ และเฉลิมพล ศรีหงส์. 2567. การนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์. 7: 285-315.

องค์การอนามัยโลก. 2564. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2567.